วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

383 ระบำทอยล้อ ฟ้อนสาวไหม เซิ้งกระติ๊บข้าว รำกลองยาว




382 รำมวยโบราณ กันตรึม โปงลาง เซิ้งกะลา เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งกะโป๋





381 ประวัติไข่เค็มไชยา

380 พม่ารำขวาน

379 วิธีโหลดคลิปจาก you tube

378 ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนม่านมงคล


377 มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

376 รักษาสิวด้วยธรรมชาติบำบัด

375 วิธีรักษาสิวอย่างเร่งด่วน

374 วิธีแก้ รักแร้ดำ

373 ฝึกทำผมทรงซาลาเปา

372 วิธีทำผมง่ายๆ 3 แบบ ใน 5 นาที

371 วิธีตกแต่งคิ้วด้วยตัวเอง

370 แต่งหน้าแนวเจ้าหญิงแขก

369 วิธีติดขนตาปลอม แบบ ชัวร์!

368 วิธีการร้อยลูกปัดด้วยเครื่อง

367 ฝึกเรียนภาษาอังกฤษขั้นต้นจากนิทานอีสป

366 เป่าสีให้เป็นงานศิลปะ

365 วิชาศิลปะ เรื่อง สี กับอารมณ์

364 ฝึกหัดระบายสีน้ำด้วยเทคนิคพิเศษ

363 เรียนศิลปะเรื่อง แสง เงา

362 เพลงหมีแพนด้า

361 เพลงซนเหมือนลิง

360 เพลง ก.เอ๋ย ก.ไก่

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

357 รำพระคเณศประทานพรGANESH DANCE

356 รำเพลงหน้าพาทย์ เสมอลาว

355 รำเพลงหน้าพาทย์ เสมอไทย

354 รำเพลงหน้าพาทย์ ตระนิมิตร

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

353 แก้วหน้าม้าContemporary Dance

352 นางนาก แม่นาก แม่นาค นางนาค

351 A ดูการแปรรูปแถวเพื่อประยุกต์ใช้

351 B ดูวิธีแปรแถวเล่นวงกลม

350 ล้านนาโชว์ ตัวอย่างคิดท่ารำได้น่ะ

349 ศรีวิชัยโชว์ ตำนานกินรี

348 ลาวดวงเดือน ก๊อต จักรพรรณ์ เศร้าจัง

347 Andaman Sun - Boy Thai Band ใช้แสดงนาฏศิลป์ได้น่ะ

346 เพลง Spicy Brazil - Boy Thai Band นาฏศิลป์ประยุกต์

345 เพลงพม่ากลองยาว วงบอยไทย(ใช้แสดงได้)

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

344 บทเพลง Yesterday Once More ไว้ฝึกร้อง

When i was young I'd listened to the radio Waitin' for my favorite songs
When they played i'd sing along It made me smile
Those were such happy times And not so long ago How i wondered where they'd gone But they're back again
Just like a long lost friend All the songs i loved so well
(*) every sha-la-la-la Every wo-wo-wo
Still shines Every shing-a-ling-a-ling
That they're starting to sing's So fine
When they get to the part Where he's breakin' her heart It can really make me cry
Just like before
It's yesterday once more
Lookin' back on how it was In years gone by And the good times that i had
Makes today seem rather sad
So much has changed
It was songs of love that I would sing to then
And i'd memorize each word
Those old melodies Still sound so good to meAs they melt the years away

Repeat (*)

343 หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา

342 ฉุยฉายหนุมานแปลง

341 ระบำไกรลาศสำเริง บรรเลงดนตรีสด

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

340 หัดร้องเพลงลาวดวงเดือนกันเถอะ

339 เพลงนี้ชื่อ ลาวกระทบไม้

338 เพลงนี้ชื่อ ลาวดวงดอกไม้

337 เพลงนี้ชื่อ แสนคำนึง

336 เพลงนี้ชื่อ ลาวครวญ

335 เพลงไทยเดิม ชื่อ สร้อยแสงแดง

334 เพลงนี้ชื่อ ลาวคำหอม

333 เพลงไทยเดิมชื่อเพลง ลาวดำเนินทราย

332 เพลงไทยเดิม ชื่อเพลงเขมรไทรโยค

331 เพลงไทยเดิม ชื่อเพลงลาวดวงเดือน

330 มารู้จักเพลงไทยเดิม ชื่อเพลงลาวเสี่ยงเทียนกันเถอะ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

329 ระบำชุมนุมเผ่าไทย

328 โชว์รำไทย ออกวรเชษฐ์

327 หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ เรื่องรามเกียรติ์

326 หุ่นเชิด(หุ่นคน รำมโนราห์บูชายัญ)

325 หุ่นเชิดประกอบการขับเสภา

324 โขน ตอนหนุมานจับนางเบญกาย

323 พระพิฒเนศร์เทพแห่งนาฏยศาสตร์และศิลปวิทยาการ

322 อิทธฤทธิ์เจ้าแม่กาลี (อินเดีย)

321 นางเงือก มากับ สึนามิ.wmv

320 เด็กงู เรื่องจริงจากอินเดีย.mp4

319 นาฏศิลป์บาหลี

318 ระบำนกยูงของจีนสวยมาก

317 ศึกษาเรื่องแปรรูปแถวในระบำจีน

316 Chinese super beautiful modern dance

315 ศึกษารูปแบบการแปรแถวในระบำเวียดนาม

314 นาฏศิลป์จีนชุดนี้เยี่ยมมาก

313 ระบำจีนกวนอิมพันมือ ใช้หลักนี้ในการทำท่าประกอบเพลงได้

312 ระบำพัดเกาหลี ดูเป็นแนวทางการแปรรูปแถว

311 ระบำจีน ให้ดูการแปรรูปแถว

310 เพลงนี้สนุกมาก Jambalaya ของ Carpenters ฟังดูน่ะ

309 ฝึกร้องเพลงYesterday Once More ของThe Carpenters กันเถอะ

308 เพลงนี้คลายเครียด ผ่อนคลาย สไตล์ฮาวาย

307 เพลง: I'd Love You to Want Me (ลองฝึกร้องดูน่ะ)

I'd Love You to Want Me


When I saw you standing there
I bout fell out my chair
And when you moved your mouth to speak
I felt the blood go to my feet.

Now it took time for me to know
what you tried so not to show
Now something in my soul just cries
I see the want in your blue eyes.

Baby, I'd love you to want me
The way that I want you
The way that it should be
Baby, you'd love me to want you
The way that I want to
If you'd only let it be.

You told yourself years ago
You'd never let your feeling show
The obligation that you made
For the title that they gave.

306 ฟังเพลงสากลดูบ้างน่ะของLOBOเพลง I'd Love You To Want Me

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

305 รำพลายชุมพล

304 รำฉุยฉายเบญจกายแปลง

303 โขนThai Classical Dance,ทศกัณฐ์เกี้ยวนางสีดาแปลง

302 THAI KHON COSTUME

301 โฆษณาหาดูยาก แนะนำประเทศไทยให้ชาวต่างชาติ

300 dancesของรีเจนซี่ มีดนตรีในหัวใจ

299 ชิงช้าสวรรค์ นักรบนิรนาม

298 dances ในละครเวทีฟ้าจรดทราย

297 ละครเวที ฟ้าจรดทราย

296 แนะนำพันธุ์ไม้ดอกในเพลงแผ่นดินทอง - สุนทราภรณ์

295 เพลงแผ่นดินทอง

294 เพลงรวมใจไทยสี่ภาค เทิดพระเกียรติองค์ภูมิพล

293 การแสดงชุด ร้อยบุปผา บูชามหาราชินี

292 การเจรจาในการแสดงโขน ตอนสำมนักขาก่อศึก

291 ละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนกุมภณฑ์ถวายม้า

290 ละครดึกดำบรรพ์เรื่อง คาวี ตอนสุมไฟเผาพระขรรค์

289 ละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์

288 อารมณ์โกรธของตัวละคร ตัวยักษ์(ทศกัณฐ์)

287 โขน ตอนหักคอช้างเอราวัณ(ต่อ)

286 ตัวละครในการแสดงโขน ตอนศึกพรหมมาสตร์

284 การพากย์โขน ตอนหักคอช้างเอราวัณ ฉากตระการ ขบวนแห่อลังการ อย่าพลาดชม

283 ฟ้าจรดน้ำ ศึกษาการคิดสร้างสรรค์ Contemporary Dance

282 Contemporary Thai Dance

281 ระบำเงือก ระบำม้า ระบำไก่ ระบำชนไก่ ย่าหรันตามนกยูง





280 เพลง ปักตะไคร้ แนวไทยๆ สนุกดี

279 โชว์สวยมากจริงๆ

278 โฆษณารีเจนซี่ ชุดวรรณคดีไทย (มัทนะพาธา,พระสุธนธ์-มโนราห์,วิวาหพระสมุทร์)

277 Amazing Thailand

276 ตีกลองสบัดไชย การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ

275 ราชรถ ในการแสดงโขน

274 Thai Dance and Elephant Show

273 ระบำอินเดีย

272 ฟ้อนภูไท ภาคอีสาน

271 การแสดงฟ้อนเล็บ ภาคเหนือ

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

270 ห้องแต่งตัวTiffany Show Dressing Room

269 การแสดงโชว์ชุด Welcome to Thailand

268 การแสดงจากโรงละครสยามนฤมิต

267 นาฏศิลป์ร่วมสมัย วสันตนฤมิตเมขลา-รามสูร อย่าพลาดชม

266 รำเมขลา-รามสูร(รำไทย)

265 อิทธิฤทธิ์ฤาษี นักบวชลายพยัคฆ์

264 รายการ คนค้นฅน : มโนราห์โรงครู

263 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ลิเกป่า

262 การแสดงนาฏศิลป์ไทยแบบประยุกต์

261 Alcarza สี่ภาค

260 ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา การแสดงภาคเหนือ

259 การแสดงภาคใต้ ทอยล้อ

258 หนังตลุง

257 เพลงส้มตำ(ใช้แสดง)

256 เพลงพื้นบ้าน เพลงโคราช

255 เพลงฉ่อย เรื่อง พยัญชนะ จากรายการ คุณพระช่วย

254 เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ลำตัด แม่ประยูร ยมเยี่ยม

253 เพลงพื้นบ้าน อีแซวขี้เมา - ทศพล หิมพานต์

252 แหล่เรื่องพระรถเสน หรือ พระรถเมรี (ทศพล หิมพานต์)

251 ชิงช้าสวรรค์ แหล่เรื่องพระรถเสน ร.รฤทธิยะวรรณาลัย

249 เพลงพระเทพฯทรงบุญ โรงเรียนทุ่งสง ชนะเลิศระดับประเทศ

250 เพลงเด็กไทยรวมใจ โรงเรียนทุ่งสง

248 รามยณะของอินโดนีเซีย

247 หนังรามายณะของอินเดีย

246 การ์ตูนกำเนิดหนุมาน

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

245 การแสดงภาคอีสาน ฟ้อนหมากกั๊บแก้บลำเพลิน

244 รำกระทบไม้

243 เพลงต้อนรับปีใหม่ รื่นเริงเถลิงศก

242 รำวง เพลง ลอยกระทง คาราโอเกะ

241 รำวงมาตรฐาน เพลงยอดชายใจหาญ

240 รำวงมาตรฐาน เพลงชาวไทย

239 จินตลีลาอาภรณ์งาม Teaser

238 การแสดงหุ่นคน

237 ความหมาย “นาฏศิลป์” (นาดตะสิน)

นาฏศิลป์ เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำ 2 คำ คือคำว่า “นาฏ” ซึ่งหมายถึงการฟ้อนรำ และคำว่า “ศิลปะ” หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ดัดแปลงขึ้นมาจากธรรมชาติให้มีความวิจิตรงดงามขึ้น
ดังนั้น คำว่า “นาฏศิลป์” จึงมีความหมายรวมกัน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า “นาฏศิลป์” ดังนี้

“นาฏศิลป์” (นาดตะสิน) น. หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525 : 438)
ดังนั้นสรุปได้ว่า นาฏศิลป์ไทย หมายถึง ศิลปะแห่งการแสดงท่าทางในการฟ้อนรำแบบไทยด้วยความประณีตงดงาม เพื่อก่อให้เกิดความรื่นรมย์อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง


นาฎศิลป์ เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตามจังหวะและทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบานสนุกสนานได้อิ่มเอมกันสุนทรียรส และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง นาฎศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ปู่ ยา ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้สมควรที่เยาวชนทั้งหลายควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่าของชาติไทยสืบไป

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

236 ชิงช้าสวรรค์ ล้นเกล้าเผ่าไทย

235 ชิงช้าสวรรค์ บุษบาเสี่ยงเทียน

234 ชิงช้าสวรรค์ แว่วเสียงซึง

233 ชิงช้าสวรรค์ อนุสรณ์ศรีปราชญ์ ทุ่งเสลี่ยม

232 ตำนานศรีปราชญ์ ศรีวิชัยโชว์

231 ศรีวิชัยโชว์ ตำนานกินรี

230 ครูโนราห์แสดงเองน่ะ

229 ระบำกินรีร่อน

228 ระบำแบบมาตรฐาน ระบำย่องหงิด

227 ระบำแบบมาตรฐาน ระบำดาวดึงส์

226 เพลงพระราชนิพนธ์เเผ่นดินของเรา(My place)

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

225 ระบำนกกรงหัวจุก ภาคใต้

224 ระบำร่อนแร่ ภาคใต้

223 ระบำปาเต๊ะ ภาคใต้

222 ซัดชาตรี ภาคใต้

221 องค์พระพิราพเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง

220 บันทึกกรรม ตอน ผิดครู

219 รำฉุยฉายวันทอง

218 โขน ตอน ขับพิเภก ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

217 ละครนอกเรื่อง พระอภัยมณี ฉากที่ 1 part 2

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

216 แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช

แนวคิดของอาจารย์เฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงและผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยได้กล่าวถึงการคิดประดิษฐ์ท่ารำพอสรุปได้ว่า เป็นลักษณะของการตีบท หรือใช้ภาษานาฏศิลป์ในท่ารำของไทย ที่เป็นแบบแผนมาแต่ดั่งเดิม ก็คือ กลอนตำรารำ และบทรำเพลงช้า เพลงเร็ว จะมีท่าบังคับและท่าตายโดยใช้กลวิธีที่จะประดิษฐ์ให้ได้ท่ารำที่เหมาะสมสวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. จังหวะและทำนองเพลง เชื่องช้า หรือรวดเร็ว มีลักษณะอ่อนหวาน เศร้าหรือคึกคักสนุกสนาน
2. จังหวะและทำนองของเพลงที่มีสำเนียงต่างชาติ ก็ต้องเอาลีลาท่ารำของชาตินั้น ๆ มาประดิษฐ์ให้กลมกลืนกันเป็นลีลาของนาฏศิลป์ไทย
3. เมื่อรู้ทำนองและจังหวะเพลงจึงกำหนดท่ารำให้เข้ากับลีลาของเพลง โดยยึดหลักความสัมพันธ์ของทำนองเพลงกับท่ารำ และความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของบทร้องกับท่ารำ
4. ลักษณะเพศชาย (ตัวพระ) หรือเพศหญิง (ตัวนาง) เช่น ตัวพระในพม่ารำขวานลีลาท่ารำจะต้องมีลักษณะกระฉับกระเฉงเข้มแข็งตามถ่วงทำนองของนักรบ ส่วนตัวนาง ได้แก่ ฟ้อนม่านมงคลลีลาท่ารำจะต้องมีลักษณะอ่อนโยน นุ่มนวล เป็นต้น
5. การประดิษฐ์ระบำพื้นเมือง ต้องศึกษาท่ารำที่เป็นแม่ท่าหลักของท้องถิ่น แล้วนำมาประดิษฐ์ลีลาเชื่อมท่ารำ ให้ครอบคลุมความหมายของเนื้อหาในระบำชุดนั้น ๆ โดยคัดเลือกแม่ท่าหลักให้เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้เริ่มต้นในท่าที่ 1 ของแม่ท่าเสมอไป อาจจะหยิบแม่ท่าหลักในท่าที่ 8 มาใช้เป็นท่าเริ่มต้นในผลงานการประดิษฐ์ท่ารำของเราก็ได้
6. ไม่ควรไปลอกเลียนแบบลีลาท่ารำของภาคอื่น ๆ มาปะปนในผลงานการประดิษฐ์ท่ารำ เช่น นำเอาท่าทอผ้าในเซิ้งต่ำหูกผูกขิดบางท่ามาใส่ในทอเสื่อ หรือ ไปนำเอาลีลาท่ารำของภาคใต้มาบรรจุในฟ้อนเหนือ หรือนำลีลาท่าทางของภาคเหนือมาบรรจุในเซิ้งต่าง ๆ ของภาคอีสานซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ควรจะได้หลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
7. การคิดประดิษฐ์ท่ารำให้คำนึงถึง จุดมุ่งหมายของระบำ รำ ฟ้อนในชุดนั้น ๆ ด้วย เช่น ระบำชุดนี้มีจุดมุ่งหมายให้เป็นผู้หญิงล้วน (ตังนาง) ก็ต้องหลีกเลี่ยงท่ารำที่มีการยกเท้าแบะเหลี่ยม กันเข่า ซึ่งเป็นลีลาท่าทางของตัวพระโดยสิ้นเชิง
นอกจากหลักเกณฑ์ในการคิดประดิษฐ์ท่ารำที่กล่าวมาแล้ว ในการคิดประดิษฐ์ท่ารำชุดใหม่ขึ้น ให้ตั้งจุดหมายที่แน่นอนในระบำชุดนั้นไว้ จะใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชายคู่กับผู้หญิง หรือจะเป็นผู้หญิงล้วน หรือเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็นนก ปู หรือปลา ต้องการเสนอความมุ่งหมายในด้านใดเมื่อได้ความมุ่งหมายที่แน่นอนแล้ว จึงคัดเลือกเพลงโดยการนำเพลงนั้นมาฟังหลาย ๆ ครั้งต่อจากนั้นจึงกำหนดท่ารำ เช่น ระบำพนมรุ้ง มนตรี ตราโมท ได้บรรจุเพลงระบำชุดนี้ขึ้นก่อนเสร็จแล้วจึงส่งม้วนแถบบันทึกเสียงเพลงระบำพนมรุ้งให้ เฉลย ศุขะวณิช คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นตามทำนองเพลง จึงได้กำหนดระบำพนมรุ้งขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ส่วนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็มีเจ้าหน้าที่ออกแบบให้ โดยนำนักศึกษาที่เป็นผู้แสดง ไปแต่งตัว แล้วมาซ้อมรำให้ดูปรากฏว่าเสื้อผ้าบางส่วน ไม่เหมาะสมกับท่ารำ ก็ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายปรับเสื้อผ้าให้เข้ากับท่ารำ
จะเห็นได้ว่าวิธีการคิดประดิษฐ์ท่ารำของ เฉลย ศุขะวณิช จะใช้วิธีฟังเพลงก่อนแล้วจึงคิดท่ารำให้มีลีลาผสมกลมกลืนไปกับบทร้อง และท่วงทำนองของเพลงนั้น ๆ ส่วนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลัก ส่วนการคิดประดิษฐ์ท่ารำที่เริ่มต้นจากการใช้เพลงแบ่งได้เป็น 2 จำพวกคือ
1. การคิดประดิษฐ์ท่ารำ ที่มีบทร้องกำหนดความมุ่งหมายอย่างชัดเจน เช่น บทกลอนถวายพระพร บทอวยพรต่าง ๆ ที่มีบทเนื้อร้องนั้นให้ยึดความหมายของเนื้อเพลงเป็นหลักในการออกท่าร่ายรำให้ถูกต้อง โดยอาศัยแม่ท่าในบท เพลงช้า เพลงเร็ว และแม่บท (กลอนตำรารำ)
2. การคิดประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทเนื้อร้อง มีแต่ทำนองเพลงนั้น ให้ยึดอารมณ์ท่วงทำนองของเพลงที่บรรเลง เช่น อารมณ์เพลงคึกคักให้ความสนุกสนานมีท่วงทำนองรวดเร็วอารมณ์เพลงที่แสดงความโกรธ อารมณ์เพลงที่แสดงถึงความเศร้าโศกทำนองโหยหวน หรืออารมณ์เพลงอันอ่อนหวานแสดงถึงความรัก อารมณ์เพลงหนักแน่นแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
เมื่อลักษณะของอารมณ์เพลงแล้ว จึงคิดประดิษฐ์ท่ารำโดยอาศัยแม่ท่าในเพลงช้า เพลงเร็ว แม่บท นำมาออกท่าร่ายรำให้กลมกลืนกับท่วงทำนองของอารมณ์เพลงนั้น ๆ แต่ในบางครั้งก็สามารถ คิดประดิษฐ์ท่ารำให้ตรงกับความมุ่งหมายของเนื้อหาที่จะนำเสนอใน ระบำ รำ ฟ้อน ชุดนั้น ๆ ออกมาก่อน แล้วจึงคัดเลือกอารมณ์ของทำนองเพลงให้ตรงกับท่าทางร่ายรำนั้น

215 การรำตีบทและภาษาท่า

การรำตีบทหมายถึงการรำตามบทร้อง บทเจรจาและบทพากย์ ผู้รำ
และผู้แสดงจะต้องแสดง ภาษาท่าไปตามคำร้อง คำเจรจาและคำพากย์นั้น ฉะนั้นการตีท่ารำควร
คำนึงถึงความหมายของบทด้วย นอกจากจะใช้ท่าทางแล้วยังใช้ลีลาและอารมณ์ผสมกลมกลืนอีก
ด้วย การแสดงภาษาท่าหรือรำตีบทแยกได้ อย่าง คือการตีบทท่าธรรมชาติ คือการใช้ท่าสามัญชนทำ
ตามบทร้องหรือบทเพลงนั้น เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะทำนองของเพลง
เช่น ตบมือ ใช้สันมือหรือใช้ในลักษณะกำมือสลับแบมือ การใช้เท้า ก้าวเดินตามจังหวะ ถอยหลัง ย่ำ
เท้า กระโดด ซึ่งท่าทางต่าง ๆ เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้กับเด็กผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์มากนัก
บทเพลงที่เหมาะสำหรับการใช้ท่าแบบนี้ คือเพลงจำพวกปลุกใจต่าง ๆ เช่น เพลงรักเมืองไทย หนัก
แผ่นดิน เลือดสุพรรณ เป็นต้นการรำตีบทแบบละคร หมายถึงภาษาท่าต่าง ๆ ที่ได้ดัดแปลงให้วิจิตร
พิสดารกว่าท่าธรรมดา โดยให้สอดคล้องกับเพลงดนตรีและการขับร้อง นอกจากนี้ยังมุ่งหมายให้รำ
ได้อย่างงดงามเป็นสง่า โดยการใช้มือ เท้า ขา ลำตัว ใบหน้าและศีรษะ รำทำบทไปตามถ้อยคำหรือ
บทขับร้อง การรำบทแบบละครนี้ยากจะต้องมีการฝึกฝนจึงจะทำได้อย่างงดงาม ตัวอย่าง เช่นใช้มือ
ซ้าย โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดกันที่ปลายข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ แล้วนิ้วที่เหลือ
กรีดออกไปเหมือนพัด ยกขึ้นมาใกล้ริมฝีปาก หมายความว่าดีใจหรือเป็นการยิ้ม แต่ถ้า
ยกขึ้นมาที่จมูก หมายถึงดมหรือหอม
ประสานมือทั้งสองข้างให้มือขวาทับมือซ้ายแล้วนำมาทาบที่ฐานไหล่ แสดงว่า รัก ชื่น
ชมหรือห่มผ้า
ถูฝ่ามือ ทิ้งแขนลงข้างล่าง แกว่งไปมา เป็นการแสดงท่าอาการเก้อเขิน
เอาฝ่ามือซ้ายแตะหน้าผาก แสดงท่าเสียใจ ร้องไห้ และถ้าสะดุ้งลำตัวขึ้นลงไปมาพร้อม
ๆ กันด้วย แสดงท่าร้องไห้มากถึงกับสะอึกสะอื้น

214 องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆดังต่อไปนี้
1) การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ
การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์

ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผนรวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง
และการสื่อความหมายที่ชัดเจน
2) จังหวะ
จังหวะ เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ
การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด
เพราะ จังหวะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็สามารถรำได้สวยงาม
แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะ
หรือเรียกว่า "บอดจังหวะ" ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง
3) เนื้อร้องและทำนองเพลง
เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
ในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้
เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม
สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น
4) การแต่งกาย
การแต่งกาย ในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะและบรรดาศักดิ์ ของผู้แสดง
ละครนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น
เมื่อแสดงเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว มีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวขนลิงสีขาว
ปากอ้าเป็นต้น

6) เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง
การแสดงนาฏศิลป์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลง
ประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลงในขณะเดียวกัน ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลัก
ที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมาย
ได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดง
ให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย

213 ที่มาของระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย
เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย
ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์
ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง
นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑. จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒. ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง
หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓. ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔. ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕. ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖. ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗. ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง

212 หลักในการชมนาฏศิลป์

1. ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำ "ท่ารำ" ของนาฏศิลป์ไทยจัดได้ว่าเป็น "ภาษา" ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้วิจิตรสวยงามกว่าธรรมชาติ ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน
2. เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี "คำร้อง" หรือ เนื้อร้อง ประกอบด้วย บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการชมการแสดงด้วย จึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวนาฏศิลป์ที่แสดงอยู่
3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ นาฏศิลป์จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจนจังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์ เช่น เข้าใจว่าเพลงสำเนียงมอญ พม่า ลาว ฯลฯ สามารถเข้าใจถึงประเพทของเพลงและอารมณ์ของเพลงแต่ละเพลง นอกจากนี้ จะต้องรู้จักถึงชื่อของเครื่อง ดนตรีและวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงทุกชนิดด้วย
4. เข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง การแสดงนั้นแบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควรดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดงหรือไม่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทั้งการแต่งหน้าด้วยว่าเหมาะสมกลมกลืนกันเพียงใด เช่น เหมาะสมกับฐานะหรือบทของผู้แสดงหรือไม่
5. เข้าใจถึงการออกแบบฉากและการใช้แสงและเสียง ผู้ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ของการแสดง คือต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงที่ใช้นั้นเหมาะสมกับลักษณะของการแสดงเพียงใด
6. เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่งออกตามฐานะในเรื่องนั้นๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตัวนายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ
7. เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการแสดง ในกรณีที่เล่นเป็นเรื่องราว เช่น โขน ละคร ผู้ชมต้องติดตามการแสดงให้ต่อเนื่องกัน ึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
8. ควรมีอารมณ์ร่วมกับการแสดง การแสดงนาฏศิลป์ได้บรรจุเอาลีลาท่าทาง หรืออารมณ์ต่างๆ ของผู้แสดงไว้มากมาย ผู้ชมที่ดีควรมีส่วนร่วมกับผู้แสดงด้วย เช่น สนุกสนาน เฮฮาไปด้วย จะทำให้ได้รสของการแสดงอย่างเต็มที่ และผู้แสดงจะสนุกสนาน มีอารมณ์และกำลังใจในการแสดงด้วย
9. ควรมีมารยาทในการชมการแสดง คือ ปรบมือให้เกียรติก่อนแสดงและหลังจาจบการแสดงแต่ละชุด ไม่ควรส่งเสียงโห่ร้องเป็นการล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ในขณะที่การแสดงนั้นไม่ถูกใจหรืออาจจะผิดพลาด ตลก ขบขัน ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงเสียกำลังใจ และถือว่าไม่มีมารยาทในการชมการแสดงอย่างมาก อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิและอารมณ์ของผู้ชมคนอื่นๆ ด้วย
10. ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย คือ ต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้แสดง เช่นโรงละครแห่งชาติ หอประชุมขนาดใหญ่ ควรแต่งกายสุภาพแบบสากลนิยม แต่ในกรณีสถานที่สาธารณะหรืองานแบบสวนสนุก ก็อนุโลมแต่งกายตามสบายได้
11. ควรศึกษาเกี่ยวกับสูจิบัตร ให้เข้าใจก่อนเริ่มชมการแสดง เพื่อจะได้ชมการแสดงได้เข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าไม่มีสูจิบัตร ก็ควรจะตั้งใจฟังพิธีการบรรยายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงให้เข้าใจด้วย
12. ควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม และได้ชมการแสดงตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งจะได้ไม่เดินผ่านผู้อื่นซึ่งชมการแสดงอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นการทำลายสมาธิด้วย

211 ที่มาของนาฏศิลปไทย

-นาฏศิลป์ หมายความว่า ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา
-นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
-นาฏศิลป์ หมายถึง ความช่ำชองในการละครฟ้อนรำ
-นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง ให้เกิดความบันเทิงใจ อันประกอบด้วยความโน้มเอียง และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของนาฏศิลป์อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่ศิลปะประเภทนี้จำต้องอาศัยดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในศิลปะยิ่งขึ้นตามสภาพหรืออารมณ์ต่างๆกัน สุดแต่จุดมุ่งหมาย
-นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพรียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจากหมายถึงการฟ้อนรำ ระรำเต้นแล้ว ยังหมายถึงการร้อง และการบรรเลงด้วย
-นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะในการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงดงามมีแบบแผน ให้ความบันเทิงอันโน้มน้าวอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น แต่ความหมายที่เข้าใจทั่วไป คือ ศิลปะของการร้องรำทำเพลง

นาฏศิลป์เป็นศิลปะ
ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ แต่ต้องสร้างให้ประณีตงดงามและสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ (skill) คือความชำนาญในการปฏิบัติ
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะของการฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จากลีลาที่เป็นธรรมชาติ ด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง ให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและการขับร้องการแสดง เช่น ฟ้อนรำ ระบำ โขน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่
นาฏศิลป์ไทยแสดงเอกลักษณ์
การฟ้อนรำของไทยนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว และมีความเป็นไทยในตัวเองอย่างยิ่ง จริงอยู่ที่เราได้แบบอย่างบางส่วนมาจากนาฏศิลป์อินเดียบ้าง แต่เราก็ได้นำมาดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย และสามารถคิดค้นสร้างสรรค์แบบอย่างของไทยเราเองได้มากมาย จึงกลายเป็นศิลปะประจำชาติ ซึ่งไม่เหมือนกับกับศิลปะของชาติอื่นๆ นับได้ว่าเป็นสมบัติอันเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่าภูมิใจยิ่ง นาฏศิลป์ไทยจึงมีเอกลักษณ์ในตัวเองดังนี้คือ

ท่ารำอ่อนช้อยงดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะ หรือรำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ มีความหมายอย่างกว้างขวาง

จะต้องมีดนตรีประกอบ ดนตรีนี้จะแทรกอารมณ์ หรือกำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ หรือมีเนื้อร้องและให้ท่าไปตามเนื้อร้องนั้นๆ

คำร้องหรือทำนองจะต้องเป็นคำประพันธ์ ส่วนมากบทร้องมักจะเป็นกลอนแปด ซึ่งจะนำไปร้องกับเพลงชั้นเดียวหรือสองชั้นได้ทุกเพลง คำร้องนี้ทำให้ผู้สอนหรือผู้รำกำหนดท่าไปตามเนื้อร้อง

เครื่องแต่งกายละครไทย ซึ่งผิดกับเครื่องแต่งกายละครของชาติอื่นๆ มีแบบอย่างของตน โดยเฉพาะขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร เพราะการสวมจะใช้กลึงด้วยด้ายแทนที่จะเย็บสำเร็จรูป การแต่งกายของละครไทยอาจจะคล้ายคลึงของเขมร เพราะเขมรได้แบบอย่างจากไทยไป
รวมความว่า นาฏศิลป์มีความสำคัญเป็นพิเศษอยู่ในตัวนานาประการ เพราะเป็นที่รวมของศิลปะทุกๆ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกัน ในอันที่จะสร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๘ ท่า หรือ ๑๐๘ กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบล จิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มาของนาฏศิลป์ไทยเข้าใจว่าเกิดจากสภาพความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของมนุษย์โลกที่มีความสงบสุข มีความอุดมสมบูรณ์ในทางโภชนาหาร มีความพร้อมในการแสดงความยินดี จึงปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความกำหนัดรู้ ดังนั้นเมื่อประมวลที่นักวิชาการเทียบอ้างตามแนวคิดและทฤษฎี จึงพบว่าที่มาของนาฏศิลป์ไทยเกิดจากแหล่ง ๓ แหล่ง คือ เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา และเกิดจากการรับอารยะธรรมของประเทศอินเดีย ดังนี้

๑. เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ หมายถึง เกิดตามพัฒนาการของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มชน ซึ่งพอประมวลความแบ่งเป็นขั้น ได้ ๓ ขั้น ดังนี้

ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน

ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก เป็นต้น

ต่อมาอีกขั้นหนึ่งนั้น เมื่อเกิดปรากฏการณ์ตามที่กล่าวในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ แล้วมีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ที่สวยงามตามที่เห็นในปัจจุบัน

๒. เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา หมายถึง กระบวนการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มชน ซึ่งพบว่าการเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชา มีวิธีการตามแต่จะยึดถือมักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓. การรับอารยะธรรมของอินเดีย หมายถึง อิทธิพลของประเทศเพื่อนบ้านจากประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ยาวนานว่า เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยะธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยะธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการแสดง ได้แก่ ระบำ ละครและโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์มาตรฐานที่สวยงามดังปรากฏให้เห็นนี้เอง

นอกจากนี้แล้วการสร้างนาฏศิลป์ไทยของเรานี้อาจด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น

๑. จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสาร หมายความถึง การแสดงนั้นอาจบ่งบอกชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่ดี ทั้งทางด้านการแต่งกาย ภาษา ท่วงทีที่แช่มช้อย นอกจากนี้แล้วในการสื่อสารอีกทางนั้นคือนาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร เป็นต้น

๒. เพื่อประกอบพิธีกรรม ดังที่ได้กล่าวอ้างเรื่องการเซ่นสรวงไปแล้วในเบื้องต้น ว่ากระบวนทัศน์ในเรื่องการฟ้อนรำนั้นกระแสสำคัญอีกกระแสหนึ่ง คือเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็น นอกจากนี้แล้วอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของคนไทยอีกประการนั้นคือ การสำนึกกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือบรรพชนที่ควรเคารพ อาจมีการจัดกิจกรรมขึ้นแล้วมีการร่วมแสดงความยินดีให้ปรากฏนักนาฏศิลป์หรือศิลปินที่มีความชำนาญการจะประดิษฐ์รูปแบบการแสดงเข้าร่วมเพื่อความบันเทิงและเพื่อแสดงออกซึ่งความรักและเคารพในโอกาสพิธีกรรมต่างๆ ก็ได้

๓. เพื่องานพิธีการที่สำคัญ กล่าวคือเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยี่ยมเยือน ทั้งนี้เราจะเห็นว่าในประวัติของชุดการแสดง ๆ ชุด เช่น ระบำกฤดาภินิหาร การเต้นรองเง็ง หรืออื่นๆ การจัดชุดการแสดงส่วนใหญ่นั้นจัดเพื่อต้อนรับแขกคนสำคัญ เพื่อบ่งบอกความยิ่งใหญ่ของความเป็นอารยะชนคนไทย ที่มีความสงบสุขมาเป็นเวลาหลายปี แล้วเรามีความเป็นเอกลักษณ์ภายใต้การปกครองที่ดีงามมาแต่อดีต ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการแสดงในครั้งนี้อาจมีอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นสิริมงคลด้วยก็ได้

๔. เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์ ตามนัยที่กล่าวนี้พบว่าในเทศกาลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประเพณีของคนไทยมีมากมาย เช่น งานปีใหม่ ตรุษสงกรานต์ ลอยกระทง วันสาร์ท เป็นต้น เมื่อรวมความแล้วเราพบว่ากิจกรรมที่หลากหลายนี้มีบางส่วนปรากฏเป็นความบันเทิงมีความสนุกสนานรื่นเริง เช่น อาจมีการรำวงของหนุ่มสาว หรือความบันเทิงอื่น ๆ บนเวทีการแสดง นอกจากนี้อาจรวมถึงการออกกำลังกายในสถานการณ์ต่าง ๆ เราพบว่าปัจจุบันนี้จากประสบการณ์จัดกิจกรรมมักเกิดเป็นรูปแบบการแสดงที่สวยงามตามมาด้วยเช่นเดียวกัน

๕. เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่งๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน

210 ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย จำแนกออกได้เป็น

1.การแสดงโขน
2.การแสดงละคร
3.การแสดงรำและระบำ
4.การละเล่นพื้นเมือง
5.มหรสพไทย

209 พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์

การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามายาท สัมมาคารวะ และมีส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาคุณความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง
การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า

208 ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก

1. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ขึ้น คือ
-ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน
-ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก
-ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน
2.การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป
3.การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

207 ความสำคัญของท่ารำไทย

ท่ารำที่ครูนาฎศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ไว้ทั้งที่ตบแต่งจากท่าธรรมดาและตามความหมายอื่น ๆ มีมากมาย พร้อมทั้งตั้งชื่อท่านั้น ๆ ไว้ตั้งแต่ท่าประนมมือไหว้ เรียกว่า ท่าเทพนม และอีหลายสืบท่า แต่งไว้เป็นกลอนสำหรับร้องหรือท่องให้จดจำได้ง่าย มักเรียกกันว่า "แม่บท" เพราะเป็นท่าหลักที่จะต้องเรียนรู้ให้แม่นยำบทที่สั้น มีท่ารำน้อย ก็คือ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ แทรกอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทุก ดังนี้

รำแม่บทเล็ก

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บินกินรินเลียบถ้ำอำไพ รับ
อีกช้านางนอนภมรเคล้าแขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไวมยุเรศฟ้อนในอัมพร
ยอดตองต้องลมพรหมนิมิตอีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาครพระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์


ส่วนในตำราฟ้อนรำ เป็นบทอย่างพิสดารมีชื่อท่ารำซึ่งแต่งเป็นกลอนว่า ดังนี้

เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาช้านางนอน
ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง
กระต่ายชมจันทร์ พระจันทร์ทรงกลด พระรถโยนสารมารกลับหลัง
เยื่องกรายฉุยฉายเข้าวัง มังกรเลียบท่ามุจลินท์
กินนรรำ ซ้ำช้างประสานงา ท่าพระรามาก่งศิลป์
ภมรเคล้า มัจฉาชมวาริน หลงใหลได้สิ้น หงส์ลินลา
ท่าโตเล่นหาง นางกล่อมตัว รำยั่ว ชักแป้งผัดหน้า
ลมพัดยอดตอง บังสุริยา เหราเล่นน้ำ บัวชูฝัก
นาคาม้วนหาง กวางเดินดง พระนารายณ์ฤทธิรงค์ขว้างจักร์
ช้างหว่านหญ้า หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษมณ์แผลงอิทธิฤทธิ์
กินนรฟ้อนฝูง ยูงฟ้อนหาง ขัดจางนาง ท่านายสารถี
ตระเวนเวหา ขี่ม้าตีคลี ตีโทนโยนทับ งูขว้างฆ้อน
รำกระบี่สี่ท่า จีนสาวไส้ ท่าชะนีร่ายไม้ ทิ้งขอน
เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร กินนรเลียบถ้ำ หนังหน้าไฟ
ท่าเสือทำลายห้าง ช้างทำลายโรง โจงกระเบนตีเหล็ก แทงวิสัย
กลดพระสุเมรุ เครือวัลย์พันไม้ ประไลยวาต คิดประดิษฐ์ทำ
กระหวัดเกล้า ขี่ม้าเลียบค่าย กระต่ายต้องแร้วแคล้วถ้ำ
ชักซอสามสายย้ายลำนำ เป็นแบบรำแต่ก่อนที่มีมา

ขอให้พิจารณาดูภาพท่ารำเปรียบเทียบกันชื่อท่ารำ จะแลเห็นว่า การรำก็คือการแปลชื่อท่าให้เป็นการรำโดยตรง แต่ประดิษฐ์ให้มีส่วนสัดงดงาม เมื่อนำท่ารำต่าง ๆ ไปใช้ในการแสดงก็ต้องเรียบเรียงท่ารำโดยลำดับท่าให้เข้าเข้ากับจังหวะทำนองของเพลง และดนตรีที่บรรเลงประกอบ และตบแต่งท่ารำสำหรับเชื่อมท่าต่าง ๆ ให้ติดต่อกันสนิทสนม การใช้ท่ารำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงใดๆ รวมความว่าเป็น "นาฎศิลป์" ทั้งสิ้น การแสดงที่ใช้ท่ารำมี ๒ ประเภท ที่เป็นหลักใหญ่ๆ คือ
๑. ระบำ
๒. ละคร

ระบำ
ระบำ หมายถึงการแสดงที่มุ่งหมายความสวยงาม และความบันเทิงเป็นสำคัญ ไม่มีเรื่องราวผู้แสดงจะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ อาจเป็นระบำเดี่ยว คือ รำคนเดียว ระบำคู่ รำ ๒ คน หรือระบำหมู่ รำหลายๆ คน
ระบำหมู่สมัยโบราณก็คือระบำที่เรียกว่า "ระบำสี่บท" มักจะเป็นการจับระบำของเทวดากับนางฟ้า เรียกว่า ระบำสี่บท เนื่องจากมีทำนองเพลงร้อง และบรรเลงดนตรีอยู่ ๔ เพลง คือ เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสระบุหร่ง (อ่านว่าสะหระบุหร่ง) และเพลงบหลิ่ม (อ่านว่า บะหลิ่ม) ในสมัยโบราณท่านแต่งคำร้องเป็นเพลงละบท จึงเป็น ๔ บทจริง ๆ สมัยต่อมามักจะลดบทร้องให้สั้นเข้า เป็นบทละ ๒ เพลง และบางทีก็ลดเพลงลงเหลือเพียง ๒ เพลง หรือเพลงเดียวก็มี ซึ่งจะเรียกระบำสี่บทไม่ได้ แต่การรำยังคงใช้แบบของระบำสี่บทอยู่ตามเดิม

นาฏศิลป์ เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตามจังหวะและทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบานสนุกสนาน ได้อิ่มเอมกันสุนทรียรส และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง นาฏศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ปู่ ยา ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้สมควรที่เยาวชนทั้งหลายควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่าของชาติไทยสืบไป

ท่วงท่าของการร่ายรำนั้น เกิดขึ้นจากอิริยาบถต่างๆ ของคนในชีวิตประจำวันนั้นเอง แม้ว่ามือและแขนจะเป็นส่วนสำคัญของการรำ แต่อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นศีรษะ หน้า คอ ลำตัว เอว ขา และเท้า ก็ต้องเคลื่อนไหว รับสัมพันธ์กันทุกส่วนจึงจะแลดูงามและสื่อความหมายได้ดี การแสดงท่ากวัก โบกสะบัด จีบคว่ำ จีบหงาย ร้องไห้ อิ่มเอม โกรธ ขับไล่ ฯลฯ ล้วนแต่มีท่ารำที่สวยงาม และดูได้เข้าใจชัดเจนทั้งสิ้น
เนื่องจากการร่ายรำเป็นศิลปะขั้นสูง ผู้ที่จะรำเป็นจึงต้องได้รับการฝึกหัดและฝึกฝนอย่างจริงจัง จึงจะดูนิ่มนวล กลมกลืน และงามสง่า ครูนาฏศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำไว้มาก เป็นท่าหลักที่ต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ ท่าหลักสำหรับฝึกหัดรำนี้มักเรียกกันว่า "แม่บท" เป็นท่ารำที่เลียนแบบอิริยาบถทั้งของเทพบุตร เทพธิดา คน สัตว์และธรรมชาติแวดล้อม เช่น เทพนม สอดสร้อยมาลา กวางเดินดง เมขลาล่อแก้ว ยอดตองต้องลม เป็นต้น ท่ารำบางท่าเป็นการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น เสือทำลายห้าง ช้างทำลายโรง หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษมณ์แผลงฤทธิ์ เป็นต้น