วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

236 ชิงช้าสวรรค์ ล้นเกล้าเผ่าไทย

235 ชิงช้าสวรรค์ บุษบาเสี่ยงเทียน

234 ชิงช้าสวรรค์ แว่วเสียงซึง

233 ชิงช้าสวรรค์ อนุสรณ์ศรีปราชญ์ ทุ่งเสลี่ยม

232 ตำนานศรีปราชญ์ ศรีวิชัยโชว์

231 ศรีวิชัยโชว์ ตำนานกินรี

230 ครูโนราห์แสดงเองน่ะ

229 ระบำกินรีร่อน

228 ระบำแบบมาตรฐาน ระบำย่องหงิด

227 ระบำแบบมาตรฐาน ระบำดาวดึงส์

226 เพลงพระราชนิพนธ์เเผ่นดินของเรา(My place)

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

225 ระบำนกกรงหัวจุก ภาคใต้

224 ระบำร่อนแร่ ภาคใต้

223 ระบำปาเต๊ะ ภาคใต้

222 ซัดชาตรี ภาคใต้

221 องค์พระพิราพเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง

220 บันทึกกรรม ตอน ผิดครู

219 รำฉุยฉายวันทอง

218 โขน ตอน ขับพิเภก ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

217 ละครนอกเรื่อง พระอภัยมณี ฉากที่ 1 part 2

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

216 แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช

แนวคิดของอาจารย์เฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงและผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยได้กล่าวถึงการคิดประดิษฐ์ท่ารำพอสรุปได้ว่า เป็นลักษณะของการตีบท หรือใช้ภาษานาฏศิลป์ในท่ารำของไทย ที่เป็นแบบแผนมาแต่ดั่งเดิม ก็คือ กลอนตำรารำ และบทรำเพลงช้า เพลงเร็ว จะมีท่าบังคับและท่าตายโดยใช้กลวิธีที่จะประดิษฐ์ให้ได้ท่ารำที่เหมาะสมสวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. จังหวะและทำนองเพลง เชื่องช้า หรือรวดเร็ว มีลักษณะอ่อนหวาน เศร้าหรือคึกคักสนุกสนาน
2. จังหวะและทำนองของเพลงที่มีสำเนียงต่างชาติ ก็ต้องเอาลีลาท่ารำของชาตินั้น ๆ มาประดิษฐ์ให้กลมกลืนกันเป็นลีลาของนาฏศิลป์ไทย
3. เมื่อรู้ทำนองและจังหวะเพลงจึงกำหนดท่ารำให้เข้ากับลีลาของเพลง โดยยึดหลักความสัมพันธ์ของทำนองเพลงกับท่ารำ และความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของบทร้องกับท่ารำ
4. ลักษณะเพศชาย (ตัวพระ) หรือเพศหญิง (ตัวนาง) เช่น ตัวพระในพม่ารำขวานลีลาท่ารำจะต้องมีลักษณะกระฉับกระเฉงเข้มแข็งตามถ่วงทำนองของนักรบ ส่วนตัวนาง ได้แก่ ฟ้อนม่านมงคลลีลาท่ารำจะต้องมีลักษณะอ่อนโยน นุ่มนวล เป็นต้น
5. การประดิษฐ์ระบำพื้นเมือง ต้องศึกษาท่ารำที่เป็นแม่ท่าหลักของท้องถิ่น แล้วนำมาประดิษฐ์ลีลาเชื่อมท่ารำ ให้ครอบคลุมความหมายของเนื้อหาในระบำชุดนั้น ๆ โดยคัดเลือกแม่ท่าหลักให้เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้เริ่มต้นในท่าที่ 1 ของแม่ท่าเสมอไป อาจจะหยิบแม่ท่าหลักในท่าที่ 8 มาใช้เป็นท่าเริ่มต้นในผลงานการประดิษฐ์ท่ารำของเราก็ได้
6. ไม่ควรไปลอกเลียนแบบลีลาท่ารำของภาคอื่น ๆ มาปะปนในผลงานการประดิษฐ์ท่ารำ เช่น นำเอาท่าทอผ้าในเซิ้งต่ำหูกผูกขิดบางท่ามาใส่ในทอเสื่อ หรือ ไปนำเอาลีลาท่ารำของภาคใต้มาบรรจุในฟ้อนเหนือ หรือนำลีลาท่าทางของภาคเหนือมาบรรจุในเซิ้งต่าง ๆ ของภาคอีสานซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ควรจะได้หลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
7. การคิดประดิษฐ์ท่ารำให้คำนึงถึง จุดมุ่งหมายของระบำ รำ ฟ้อนในชุดนั้น ๆ ด้วย เช่น ระบำชุดนี้มีจุดมุ่งหมายให้เป็นผู้หญิงล้วน (ตังนาง) ก็ต้องหลีกเลี่ยงท่ารำที่มีการยกเท้าแบะเหลี่ยม กันเข่า ซึ่งเป็นลีลาท่าทางของตัวพระโดยสิ้นเชิง
นอกจากหลักเกณฑ์ในการคิดประดิษฐ์ท่ารำที่กล่าวมาแล้ว ในการคิดประดิษฐ์ท่ารำชุดใหม่ขึ้น ให้ตั้งจุดหมายที่แน่นอนในระบำชุดนั้นไว้ จะใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชายคู่กับผู้หญิง หรือจะเป็นผู้หญิงล้วน หรือเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็นนก ปู หรือปลา ต้องการเสนอความมุ่งหมายในด้านใดเมื่อได้ความมุ่งหมายที่แน่นอนแล้ว จึงคัดเลือกเพลงโดยการนำเพลงนั้นมาฟังหลาย ๆ ครั้งต่อจากนั้นจึงกำหนดท่ารำ เช่น ระบำพนมรุ้ง มนตรี ตราโมท ได้บรรจุเพลงระบำชุดนี้ขึ้นก่อนเสร็จแล้วจึงส่งม้วนแถบบันทึกเสียงเพลงระบำพนมรุ้งให้ เฉลย ศุขะวณิช คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นตามทำนองเพลง จึงได้กำหนดระบำพนมรุ้งขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ส่วนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็มีเจ้าหน้าที่ออกแบบให้ โดยนำนักศึกษาที่เป็นผู้แสดง ไปแต่งตัว แล้วมาซ้อมรำให้ดูปรากฏว่าเสื้อผ้าบางส่วน ไม่เหมาะสมกับท่ารำ ก็ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายปรับเสื้อผ้าให้เข้ากับท่ารำ
จะเห็นได้ว่าวิธีการคิดประดิษฐ์ท่ารำของ เฉลย ศุขะวณิช จะใช้วิธีฟังเพลงก่อนแล้วจึงคิดท่ารำให้มีลีลาผสมกลมกลืนไปกับบทร้อง และท่วงทำนองของเพลงนั้น ๆ ส่วนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลัก ส่วนการคิดประดิษฐ์ท่ารำที่เริ่มต้นจากการใช้เพลงแบ่งได้เป็น 2 จำพวกคือ
1. การคิดประดิษฐ์ท่ารำ ที่มีบทร้องกำหนดความมุ่งหมายอย่างชัดเจน เช่น บทกลอนถวายพระพร บทอวยพรต่าง ๆ ที่มีบทเนื้อร้องนั้นให้ยึดความหมายของเนื้อเพลงเป็นหลักในการออกท่าร่ายรำให้ถูกต้อง โดยอาศัยแม่ท่าในบท เพลงช้า เพลงเร็ว และแม่บท (กลอนตำรารำ)
2. การคิดประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทเนื้อร้อง มีแต่ทำนองเพลงนั้น ให้ยึดอารมณ์ท่วงทำนองของเพลงที่บรรเลง เช่น อารมณ์เพลงคึกคักให้ความสนุกสนานมีท่วงทำนองรวดเร็วอารมณ์เพลงที่แสดงความโกรธ อารมณ์เพลงที่แสดงถึงความเศร้าโศกทำนองโหยหวน หรืออารมณ์เพลงอันอ่อนหวานแสดงถึงความรัก อารมณ์เพลงหนักแน่นแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
เมื่อลักษณะของอารมณ์เพลงแล้ว จึงคิดประดิษฐ์ท่ารำโดยอาศัยแม่ท่าในเพลงช้า เพลงเร็ว แม่บท นำมาออกท่าร่ายรำให้กลมกลืนกับท่วงทำนองของอารมณ์เพลงนั้น ๆ แต่ในบางครั้งก็สามารถ คิดประดิษฐ์ท่ารำให้ตรงกับความมุ่งหมายของเนื้อหาที่จะนำเสนอใน ระบำ รำ ฟ้อน ชุดนั้น ๆ ออกมาก่อน แล้วจึงคัดเลือกอารมณ์ของทำนองเพลงให้ตรงกับท่าทางร่ายรำนั้น

215 การรำตีบทและภาษาท่า

การรำตีบทหมายถึงการรำตามบทร้อง บทเจรจาและบทพากย์ ผู้รำ
และผู้แสดงจะต้องแสดง ภาษาท่าไปตามคำร้อง คำเจรจาและคำพากย์นั้น ฉะนั้นการตีท่ารำควร
คำนึงถึงความหมายของบทด้วย นอกจากจะใช้ท่าทางแล้วยังใช้ลีลาและอารมณ์ผสมกลมกลืนอีก
ด้วย การแสดงภาษาท่าหรือรำตีบทแยกได้ อย่าง คือการตีบทท่าธรรมชาติ คือการใช้ท่าสามัญชนทำ
ตามบทร้องหรือบทเพลงนั้น เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะทำนองของเพลง
เช่น ตบมือ ใช้สันมือหรือใช้ในลักษณะกำมือสลับแบมือ การใช้เท้า ก้าวเดินตามจังหวะ ถอยหลัง ย่ำ
เท้า กระโดด ซึ่งท่าทางต่าง ๆ เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้กับเด็กผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์มากนัก
บทเพลงที่เหมาะสำหรับการใช้ท่าแบบนี้ คือเพลงจำพวกปลุกใจต่าง ๆ เช่น เพลงรักเมืองไทย หนัก
แผ่นดิน เลือดสุพรรณ เป็นต้นการรำตีบทแบบละคร หมายถึงภาษาท่าต่าง ๆ ที่ได้ดัดแปลงให้วิจิตร
พิสดารกว่าท่าธรรมดา โดยให้สอดคล้องกับเพลงดนตรีและการขับร้อง นอกจากนี้ยังมุ่งหมายให้รำ
ได้อย่างงดงามเป็นสง่า โดยการใช้มือ เท้า ขา ลำตัว ใบหน้าและศีรษะ รำทำบทไปตามถ้อยคำหรือ
บทขับร้อง การรำบทแบบละครนี้ยากจะต้องมีการฝึกฝนจึงจะทำได้อย่างงดงาม ตัวอย่าง เช่นใช้มือ
ซ้าย โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดกันที่ปลายข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ แล้วนิ้วที่เหลือ
กรีดออกไปเหมือนพัด ยกขึ้นมาใกล้ริมฝีปาก หมายความว่าดีใจหรือเป็นการยิ้ม แต่ถ้า
ยกขึ้นมาที่จมูก หมายถึงดมหรือหอม
ประสานมือทั้งสองข้างให้มือขวาทับมือซ้ายแล้วนำมาทาบที่ฐานไหล่ แสดงว่า รัก ชื่น
ชมหรือห่มผ้า
ถูฝ่ามือ ทิ้งแขนลงข้างล่าง แกว่งไปมา เป็นการแสดงท่าอาการเก้อเขิน
เอาฝ่ามือซ้ายแตะหน้าผาก แสดงท่าเสียใจ ร้องไห้ และถ้าสะดุ้งลำตัวขึ้นลงไปมาพร้อม
ๆ กันด้วย แสดงท่าร้องไห้มากถึงกับสะอึกสะอื้น

214 องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆดังต่อไปนี้
1) การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ
การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์

ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผนรวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง
และการสื่อความหมายที่ชัดเจน
2) จังหวะ
จังหวะ เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ
การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด
เพราะ จังหวะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็สามารถรำได้สวยงาม
แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะ
หรือเรียกว่า "บอดจังหวะ" ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง
3) เนื้อร้องและทำนองเพลง
เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
ในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้
เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม
สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น
4) การแต่งกาย
การแต่งกาย ในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะและบรรดาศักดิ์ ของผู้แสดง
ละครนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น
เมื่อแสดงเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว มีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวขนลิงสีขาว
ปากอ้าเป็นต้น

6) เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง
การแสดงนาฏศิลป์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลง
ประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลงในขณะเดียวกัน ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลัก
ที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมาย
ได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดง
ให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย

213 ที่มาของระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย
เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย
ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์
ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง
นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑. จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒. ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง
หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓. ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔. ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕. ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖. ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗. ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง

212 หลักในการชมนาฏศิลป์

1. ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำ "ท่ารำ" ของนาฏศิลป์ไทยจัดได้ว่าเป็น "ภาษา" ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้วิจิตรสวยงามกว่าธรรมชาติ ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน
2. เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี "คำร้อง" หรือ เนื้อร้อง ประกอบด้วย บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการชมการแสดงด้วย จึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวนาฏศิลป์ที่แสดงอยู่
3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ นาฏศิลป์จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจนจังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์ เช่น เข้าใจว่าเพลงสำเนียงมอญ พม่า ลาว ฯลฯ สามารถเข้าใจถึงประเพทของเพลงและอารมณ์ของเพลงแต่ละเพลง นอกจากนี้ จะต้องรู้จักถึงชื่อของเครื่อง ดนตรีและวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงทุกชนิดด้วย
4. เข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง การแสดงนั้นแบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควรดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดงหรือไม่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทั้งการแต่งหน้าด้วยว่าเหมาะสมกลมกลืนกันเพียงใด เช่น เหมาะสมกับฐานะหรือบทของผู้แสดงหรือไม่
5. เข้าใจถึงการออกแบบฉากและการใช้แสงและเสียง ผู้ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ของการแสดง คือต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงที่ใช้นั้นเหมาะสมกับลักษณะของการแสดงเพียงใด
6. เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่งออกตามฐานะในเรื่องนั้นๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตัวนายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ
7. เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการแสดง ในกรณีที่เล่นเป็นเรื่องราว เช่น โขน ละคร ผู้ชมต้องติดตามการแสดงให้ต่อเนื่องกัน ึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
8. ควรมีอารมณ์ร่วมกับการแสดง การแสดงนาฏศิลป์ได้บรรจุเอาลีลาท่าทาง หรืออารมณ์ต่างๆ ของผู้แสดงไว้มากมาย ผู้ชมที่ดีควรมีส่วนร่วมกับผู้แสดงด้วย เช่น สนุกสนาน เฮฮาไปด้วย จะทำให้ได้รสของการแสดงอย่างเต็มที่ และผู้แสดงจะสนุกสนาน มีอารมณ์และกำลังใจในการแสดงด้วย
9. ควรมีมารยาทในการชมการแสดง คือ ปรบมือให้เกียรติก่อนแสดงและหลังจาจบการแสดงแต่ละชุด ไม่ควรส่งเสียงโห่ร้องเป็นการล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ในขณะที่การแสดงนั้นไม่ถูกใจหรืออาจจะผิดพลาด ตลก ขบขัน ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงเสียกำลังใจ และถือว่าไม่มีมารยาทในการชมการแสดงอย่างมาก อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิและอารมณ์ของผู้ชมคนอื่นๆ ด้วย
10. ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย คือ ต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้แสดง เช่นโรงละครแห่งชาติ หอประชุมขนาดใหญ่ ควรแต่งกายสุภาพแบบสากลนิยม แต่ในกรณีสถานที่สาธารณะหรืองานแบบสวนสนุก ก็อนุโลมแต่งกายตามสบายได้
11. ควรศึกษาเกี่ยวกับสูจิบัตร ให้เข้าใจก่อนเริ่มชมการแสดง เพื่อจะได้ชมการแสดงได้เข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าไม่มีสูจิบัตร ก็ควรจะตั้งใจฟังพิธีการบรรยายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงให้เข้าใจด้วย
12. ควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม และได้ชมการแสดงตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งจะได้ไม่เดินผ่านผู้อื่นซึ่งชมการแสดงอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นการทำลายสมาธิด้วย

211 ที่มาของนาฏศิลปไทย

-นาฏศิลป์ หมายความว่า ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา
-นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
-นาฏศิลป์ หมายถึง ความช่ำชองในการละครฟ้อนรำ
-นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง ให้เกิดความบันเทิงใจ อันประกอบด้วยความโน้มเอียง และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของนาฏศิลป์อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่ศิลปะประเภทนี้จำต้องอาศัยดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในศิลปะยิ่งขึ้นตามสภาพหรืออารมณ์ต่างๆกัน สุดแต่จุดมุ่งหมาย
-นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพรียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจากหมายถึงการฟ้อนรำ ระรำเต้นแล้ว ยังหมายถึงการร้อง และการบรรเลงด้วย
-นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะในการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงดงามมีแบบแผน ให้ความบันเทิงอันโน้มน้าวอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น แต่ความหมายที่เข้าใจทั่วไป คือ ศิลปะของการร้องรำทำเพลง

นาฏศิลป์เป็นศิลปะ
ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ แต่ต้องสร้างให้ประณีตงดงามและสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ (skill) คือความชำนาญในการปฏิบัติ
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะของการฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จากลีลาที่เป็นธรรมชาติ ด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง ให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและการขับร้องการแสดง เช่น ฟ้อนรำ ระบำ โขน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่
นาฏศิลป์ไทยแสดงเอกลักษณ์
การฟ้อนรำของไทยนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว และมีความเป็นไทยในตัวเองอย่างยิ่ง จริงอยู่ที่เราได้แบบอย่างบางส่วนมาจากนาฏศิลป์อินเดียบ้าง แต่เราก็ได้นำมาดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย และสามารถคิดค้นสร้างสรรค์แบบอย่างของไทยเราเองได้มากมาย จึงกลายเป็นศิลปะประจำชาติ ซึ่งไม่เหมือนกับกับศิลปะของชาติอื่นๆ นับได้ว่าเป็นสมบัติอันเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่าภูมิใจยิ่ง นาฏศิลป์ไทยจึงมีเอกลักษณ์ในตัวเองดังนี้คือ

ท่ารำอ่อนช้อยงดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะ หรือรำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ มีความหมายอย่างกว้างขวาง

จะต้องมีดนตรีประกอบ ดนตรีนี้จะแทรกอารมณ์ หรือกำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ หรือมีเนื้อร้องและให้ท่าไปตามเนื้อร้องนั้นๆ

คำร้องหรือทำนองจะต้องเป็นคำประพันธ์ ส่วนมากบทร้องมักจะเป็นกลอนแปด ซึ่งจะนำไปร้องกับเพลงชั้นเดียวหรือสองชั้นได้ทุกเพลง คำร้องนี้ทำให้ผู้สอนหรือผู้รำกำหนดท่าไปตามเนื้อร้อง

เครื่องแต่งกายละครไทย ซึ่งผิดกับเครื่องแต่งกายละครของชาติอื่นๆ มีแบบอย่างของตน โดยเฉพาะขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร เพราะการสวมจะใช้กลึงด้วยด้ายแทนที่จะเย็บสำเร็จรูป การแต่งกายของละครไทยอาจจะคล้ายคลึงของเขมร เพราะเขมรได้แบบอย่างจากไทยไป
รวมความว่า นาฏศิลป์มีความสำคัญเป็นพิเศษอยู่ในตัวนานาประการ เพราะเป็นที่รวมของศิลปะทุกๆ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกัน ในอันที่จะสร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๘ ท่า หรือ ๑๐๘ กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบล จิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มาของนาฏศิลป์ไทยเข้าใจว่าเกิดจากสภาพความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของมนุษย์โลกที่มีความสงบสุข มีความอุดมสมบูรณ์ในทางโภชนาหาร มีความพร้อมในการแสดงความยินดี จึงปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความกำหนัดรู้ ดังนั้นเมื่อประมวลที่นักวิชาการเทียบอ้างตามแนวคิดและทฤษฎี จึงพบว่าที่มาของนาฏศิลป์ไทยเกิดจากแหล่ง ๓ แหล่ง คือ เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา และเกิดจากการรับอารยะธรรมของประเทศอินเดีย ดังนี้

๑. เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ หมายถึง เกิดตามพัฒนาการของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มชน ซึ่งพอประมวลความแบ่งเป็นขั้น ได้ ๓ ขั้น ดังนี้

ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน

ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก เป็นต้น

ต่อมาอีกขั้นหนึ่งนั้น เมื่อเกิดปรากฏการณ์ตามที่กล่าวในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ แล้วมีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ที่สวยงามตามที่เห็นในปัจจุบัน

๒. เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา หมายถึง กระบวนการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มชน ซึ่งพบว่าการเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชา มีวิธีการตามแต่จะยึดถือมักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓. การรับอารยะธรรมของอินเดีย หมายถึง อิทธิพลของประเทศเพื่อนบ้านจากประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ยาวนานว่า เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยะธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยะธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการแสดง ได้แก่ ระบำ ละครและโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์มาตรฐานที่สวยงามดังปรากฏให้เห็นนี้เอง

นอกจากนี้แล้วการสร้างนาฏศิลป์ไทยของเรานี้อาจด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น

๑. จัดทำขึ้นเพื่อการสื่อสาร หมายความถึง การแสดงนั้นอาจบ่งบอกชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่ดี ทั้งทางด้านการแต่งกาย ภาษา ท่วงทีที่แช่มช้อย นอกจากนี้แล้วในการสื่อสารอีกทางนั้นคือนาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร เป็นต้น

๒. เพื่อประกอบพิธีกรรม ดังที่ได้กล่าวอ้างเรื่องการเซ่นสรวงไปแล้วในเบื้องต้น ว่ากระบวนทัศน์ในเรื่องการฟ้อนรำนั้นกระแสสำคัญอีกกระแสหนึ่ง คือเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็น นอกจากนี้แล้วอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของคนไทยอีกประการนั้นคือ การสำนึกกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือบรรพชนที่ควรเคารพ อาจมีการจัดกิจกรรมขึ้นแล้วมีการร่วมแสดงความยินดีให้ปรากฏนักนาฏศิลป์หรือศิลปินที่มีความชำนาญการจะประดิษฐ์รูปแบบการแสดงเข้าร่วมเพื่อความบันเทิงและเพื่อแสดงออกซึ่งความรักและเคารพในโอกาสพิธีกรรมต่างๆ ก็ได้

๓. เพื่องานพิธีการที่สำคัญ กล่าวคือเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยี่ยมเยือน ทั้งนี้เราจะเห็นว่าในประวัติของชุดการแสดง ๆ ชุด เช่น ระบำกฤดาภินิหาร การเต้นรองเง็ง หรืออื่นๆ การจัดชุดการแสดงส่วนใหญ่นั้นจัดเพื่อต้อนรับแขกคนสำคัญ เพื่อบ่งบอกความยิ่งใหญ่ของความเป็นอารยะชนคนไทย ที่มีความสงบสุขมาเป็นเวลาหลายปี แล้วเรามีความเป็นเอกลักษณ์ภายใต้การปกครองที่ดีงามมาแต่อดีต ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการแสดงในครั้งนี้อาจมีอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นสิริมงคลด้วยก็ได้

๔. เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์ ตามนัยที่กล่าวนี้พบว่าในเทศกาลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประเพณีของคนไทยมีมากมาย เช่น งานปีใหม่ ตรุษสงกรานต์ ลอยกระทง วันสาร์ท เป็นต้น เมื่อรวมความแล้วเราพบว่ากิจกรรมที่หลากหลายนี้มีบางส่วนปรากฏเป็นความบันเทิงมีความสนุกสนานรื่นเริง เช่น อาจมีการรำวงของหนุ่มสาว หรือความบันเทิงอื่น ๆ บนเวทีการแสดง นอกจากนี้อาจรวมถึงการออกกำลังกายในสถานการณ์ต่าง ๆ เราพบว่าปัจจุบันนี้จากประสบการณ์จัดกิจกรรมมักเกิดเป็นรูปแบบการแสดงที่สวยงามตามมาด้วยเช่นเดียวกัน

๕. เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่งๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน

210 ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย จำแนกออกได้เป็น

1.การแสดงโขน
2.การแสดงละคร
3.การแสดงรำและระบำ
4.การละเล่นพื้นเมือง
5.มหรสพไทย

209 พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์

การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามายาท สัมมาคารวะ และมีส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาคุณความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง
การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า

208 ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก

1. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ขึ้น คือ
-ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน
-ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก
-ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน
2.การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป
3.การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

207 ความสำคัญของท่ารำไทย

ท่ารำที่ครูนาฎศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ไว้ทั้งที่ตบแต่งจากท่าธรรมดาและตามความหมายอื่น ๆ มีมากมาย พร้อมทั้งตั้งชื่อท่านั้น ๆ ไว้ตั้งแต่ท่าประนมมือไหว้ เรียกว่า ท่าเทพนม และอีหลายสืบท่า แต่งไว้เป็นกลอนสำหรับร้องหรือท่องให้จดจำได้ง่าย มักเรียกกันว่า "แม่บท" เพราะเป็นท่าหลักที่จะต้องเรียนรู้ให้แม่นยำบทที่สั้น มีท่ารำน้อย ก็คือ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ แทรกอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทุก ดังนี้

รำแม่บทเล็ก

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บินกินรินเลียบถ้ำอำไพ รับ
อีกช้านางนอนภมรเคล้าแขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไวมยุเรศฟ้อนในอัมพร
ยอดตองต้องลมพรหมนิมิตอีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาครพระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์


ส่วนในตำราฟ้อนรำ เป็นบทอย่างพิสดารมีชื่อท่ารำซึ่งแต่งเป็นกลอนว่า ดังนี้

เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาช้านางนอน
ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง
กระต่ายชมจันทร์ พระจันทร์ทรงกลด พระรถโยนสารมารกลับหลัง
เยื่องกรายฉุยฉายเข้าวัง มังกรเลียบท่ามุจลินท์
กินนรรำ ซ้ำช้างประสานงา ท่าพระรามาก่งศิลป์
ภมรเคล้า มัจฉาชมวาริน หลงใหลได้สิ้น หงส์ลินลา
ท่าโตเล่นหาง นางกล่อมตัว รำยั่ว ชักแป้งผัดหน้า
ลมพัดยอดตอง บังสุริยา เหราเล่นน้ำ บัวชูฝัก
นาคาม้วนหาง กวางเดินดง พระนารายณ์ฤทธิรงค์ขว้างจักร์
ช้างหว่านหญ้า หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษมณ์แผลงอิทธิฤทธิ์
กินนรฟ้อนฝูง ยูงฟ้อนหาง ขัดจางนาง ท่านายสารถี
ตระเวนเวหา ขี่ม้าตีคลี ตีโทนโยนทับ งูขว้างฆ้อน
รำกระบี่สี่ท่า จีนสาวไส้ ท่าชะนีร่ายไม้ ทิ้งขอน
เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร กินนรเลียบถ้ำ หนังหน้าไฟ
ท่าเสือทำลายห้าง ช้างทำลายโรง โจงกระเบนตีเหล็ก แทงวิสัย
กลดพระสุเมรุ เครือวัลย์พันไม้ ประไลยวาต คิดประดิษฐ์ทำ
กระหวัดเกล้า ขี่ม้าเลียบค่าย กระต่ายต้องแร้วแคล้วถ้ำ
ชักซอสามสายย้ายลำนำ เป็นแบบรำแต่ก่อนที่มีมา

ขอให้พิจารณาดูภาพท่ารำเปรียบเทียบกันชื่อท่ารำ จะแลเห็นว่า การรำก็คือการแปลชื่อท่าให้เป็นการรำโดยตรง แต่ประดิษฐ์ให้มีส่วนสัดงดงาม เมื่อนำท่ารำต่าง ๆ ไปใช้ในการแสดงก็ต้องเรียบเรียงท่ารำโดยลำดับท่าให้เข้าเข้ากับจังหวะทำนองของเพลง และดนตรีที่บรรเลงประกอบ และตบแต่งท่ารำสำหรับเชื่อมท่าต่าง ๆ ให้ติดต่อกันสนิทสนม การใช้ท่ารำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงใดๆ รวมความว่าเป็น "นาฎศิลป์" ทั้งสิ้น การแสดงที่ใช้ท่ารำมี ๒ ประเภท ที่เป็นหลักใหญ่ๆ คือ
๑. ระบำ
๒. ละคร

ระบำ
ระบำ หมายถึงการแสดงที่มุ่งหมายความสวยงาม และความบันเทิงเป็นสำคัญ ไม่มีเรื่องราวผู้แสดงจะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ อาจเป็นระบำเดี่ยว คือ รำคนเดียว ระบำคู่ รำ ๒ คน หรือระบำหมู่ รำหลายๆ คน
ระบำหมู่สมัยโบราณก็คือระบำที่เรียกว่า "ระบำสี่บท" มักจะเป็นการจับระบำของเทวดากับนางฟ้า เรียกว่า ระบำสี่บท เนื่องจากมีทำนองเพลงร้อง และบรรเลงดนตรีอยู่ ๔ เพลง คือ เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสระบุหร่ง (อ่านว่าสะหระบุหร่ง) และเพลงบหลิ่ม (อ่านว่า บะหลิ่ม) ในสมัยโบราณท่านแต่งคำร้องเป็นเพลงละบท จึงเป็น ๔ บทจริง ๆ สมัยต่อมามักจะลดบทร้องให้สั้นเข้า เป็นบทละ ๒ เพลง และบางทีก็ลดเพลงลงเหลือเพียง ๒ เพลง หรือเพลงเดียวก็มี ซึ่งจะเรียกระบำสี่บทไม่ได้ แต่การรำยังคงใช้แบบของระบำสี่บทอยู่ตามเดิม

นาฏศิลป์ เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตามจังหวะและทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบานสนุกสนาน ได้อิ่มเอมกันสุนทรียรส และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง นาฏศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ปู่ ยา ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้สมควรที่เยาวชนทั้งหลายควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่าของชาติไทยสืบไป

ท่วงท่าของการร่ายรำนั้น เกิดขึ้นจากอิริยาบถต่างๆ ของคนในชีวิตประจำวันนั้นเอง แม้ว่ามือและแขนจะเป็นส่วนสำคัญของการรำ แต่อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นศีรษะ หน้า คอ ลำตัว เอว ขา และเท้า ก็ต้องเคลื่อนไหว รับสัมพันธ์กันทุกส่วนจึงจะแลดูงามและสื่อความหมายได้ดี การแสดงท่ากวัก โบกสะบัด จีบคว่ำ จีบหงาย ร้องไห้ อิ่มเอม โกรธ ขับไล่ ฯลฯ ล้วนแต่มีท่ารำที่สวยงาม และดูได้เข้าใจชัดเจนทั้งสิ้น
เนื่องจากการร่ายรำเป็นศิลปะขั้นสูง ผู้ที่จะรำเป็นจึงต้องได้รับการฝึกหัดและฝึกฝนอย่างจริงจัง จึงจะดูนิ่มนวล กลมกลืน และงามสง่า ครูนาฏศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำไว้มาก เป็นท่าหลักที่ต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ ท่าหลักสำหรับฝึกหัดรำนี้มักเรียกกันว่า "แม่บท" เป็นท่ารำที่เลียนแบบอิริยาบถทั้งของเทพบุตร เทพธิดา คน สัตว์และธรรมชาติแวดล้อม เช่น เทพนม สอดสร้อยมาลา กวางเดินดง เมขลาล่อแก้ว ยอดตองต้องลม เป็นต้น ท่ารำบางท่าเป็นการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น เสือทำลายห้าง ช้างทำลายโรง หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษมณ์แผลงฤทธิ์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

206 Thai Dance - 4 Regions

205 Welcome to Thailand

204 รำโก๊ยมือ

203 ความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญ

202 ไทยสามัคคีฯ (66) สุราษฎร์ธานี

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

201 เพลงอีแซว

200 รำอวยพรมงคลสมรส Wedding Blessing Dance

199 รำอวยพรวันเกิด

198 ระบำไกรลาสสำเริง

197 ระบำเทวีสุโขทัย

196 ระบำโบราณคดี ชุดระบำศรีไชยสิงห์

195 ระบำอยุธยา

194 ระบำโบราณคดี ชุดระบำทวารวดี

193 ระบำโบราณคดี ชุดระบำลพบุรี

192 Thailand cultural show อีสาน

191 การแสดงภาคกลาง ระบำกรับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

190 คลิป งูหัวคน

189 มักกะลีผล

188 กระสือ (Krasue)

187 พระคเณศร์เสียงา

186 ฉุยฉายพราหมณ์

185 ระบำสุโขทัย

184 มโนราเล่นน้ำ

183 รำโก๊ยมือ

182 ฟ้อนเล็บ

181 รำสีนวล

180 ฟ้อนมาลัย fon malai

179 ลาวกระทบไม้ Lao Krathob Mai

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

178 การแต่งกายละครไทย

177 เครื่องละครไทย

176 มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ

175 REGENCY CALENDAR 2010

174 โฆษณารีเจนซี่ ชุดวรรณคดีไทย (พระสุธนธ์-มโนราห์,มัทนะพาธา,วิวาหพระสมุทร์) เวอร์ชั่น 1

173 REGENCY CALENDAR2008

172 REGENCY CALENDAR 2009

171 บางระจัน 2/12

170 บางระจัน

169 ใต้ร่มธงไทย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

168 The King Of Thailand สรุปภาพรวมวันงาน 60 ปีทั้งหมด

167 ขวานไทยใจหนึ่งเดียว Khawn Thai Jai Nueng Deaw

166 เพลงรักกันไว้เถิด ร็อครักชาติ

165 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ มังคละ ในรายการคุณพระช่วย

164 แนะนำเครื่องดนตรีไทย

163 ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการเรียนนาฏศิลป์

162 ภาษาท่าในการแสดงนาฏศิลป์










161 นาฏยศัพท์ การจีบมือ








160 นาฏยศัพท์ การเคลื่อนไหวส่วนกิ่งของร่างกาย





159 ความรู้เบื้องต้นในการเรียนนาฏศิลป์

158 แนะนำเครื่องดนตรีไทย

157 ทฤษฎีดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน Musical Theory training

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

156 การอ่านโน้ตดนตรีสากล





155 หัดเล่นคีย์บอร์ด เบื้องต้น และรู้จักเสียงบนแป้นคีย์บอร์ด


154 ม้านิลมังกร สุดสาคร ชีเปลือย นางเงือก จากเรื่องพระอภัยมณี



153 ร่างทรง ม้าทรง กินเจ ที่ภูเก็ต น่าดูจริงๆ


152 ดู...อย่ากะำพริบตาน่ะ


151 ผักมีประโยชน์มากน่ะ



150 วิธีทำน้ำหมัก-ปุ๋ยหมักชีวภาพ



149 สมุนไพร ลดไขมันในเส้นเลือด คลอเรสเตอรอล

สมุนไพร ลดไขมันในเส้นเลือด คลอเรสเตอรอล

สมุนไพร ที่ใช้ลดไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรค์ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย เห็ดหลินจือ ปัญจขันธ์(เจียวกู้หลาน)หรือที่เรียกว่าโสมภาคใต้ และอาร์ติโชค ส่วนสมุนไพรที่ช่วยเพิ่ม HDL ไขมันดี ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง อาร์ติโชค


สมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย เห็ดหลินจือ อาร์ติโชค ปัญจขันธ์

ไขมันในเส้นเลือด แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรค์ (Triglyceride) ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นไขมันที่ให้พลังงานให้แก่ร่างกาย เกิดจาก

1. อาหารที่รับประทาน ได้แก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก หอย เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน และน้ำมันหมู น้ำมันไก่ เป็นต้น
2. เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเองจากการทำงานของตับและลำไส้
3. เกิดจากยา เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด ยาฮอร์โมน steroid


ปัญหาของคลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรค์ (Triglyceride) ก็คือ ถ้าร่างกายมีคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรค์ มากเกินไป มันจะไปเกาะตัวอยู่ตรงผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้าสะสมมากขึ้น จะทำให้หลอดเลือดตีบ โลหิตไหลเวียนยาก

คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. LDL Cholesteral หรือไขมันไม่ดี เป็นไขมันที่เป็นต้นเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและ หลอดเลือดสมองตีบตัน
2. HDL Cholesteral หรือไขมันที่ดี เป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกันและต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ค่าไขมันคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรค์ สามารถตรวจวัดได้โดยการเจาะเลือด และต้องอดน้ำอดอาหารไม่น้อยกว่า 12 ชม. ก่อนตรวจเลือด

ค่ามาตรฐานของคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรค์ เป็นดังนี้

* คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesteral) ค่าปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า Total Cholesteral ที่สูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
* LDL Cholesteral หรือไขมันไม่ดี ค่าปกติไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า LDL ที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากไขมันจะเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดง
* HDL Cholesteral หรือไขมันที่ดี ค่าปกติต้องสูงกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ชายควรมีระดับ HDL ระหว่าง 40-50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในขณะที่ผู้หญิงควรมีระดับ HDL อยู่ระหว่าง 50-60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า HDL ที่สูง จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
* ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) ค่าปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่นเดียวกัน

148 วิธีลดโคเลสเตอรอล(ไขมันในเลือด)

(1). กินไข่พอประมาณ

*
ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ทบทวนการวิจัยเร็วๆ นี้พบว่า ไข่ไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูง

...

*
คนที่ มีสุขภาพดีกินไข่วันละ 1 ฟองได้ และควรลดอาหารไขมันสูงอื่นๆ โดยเฉพาะถ้าวันไหนกินไข่ ให้ลดอาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ" ในวันนั้นด้วยจึงจะดี
*
ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล... ถ้าชอบเมนูไข่ และอยากกินไข่มากๆ อาจเลือกใช้ไข่แดง 1 ฟอง เพิ่มไข่ขาวไปอีกได้

...

*
แน่นอนว่า ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนเสมอ
(2). ลดไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว

*
ประมาณ 80% มาจากการสร้างของตับเพื่อใช้ในการสร้างผนังเซลล์ น้ำดี ฮอร์โมน และวิตามิน D ที่เหลือประมาณ 20% มาจากอาหาร

...

*
ควร เน้นการลดอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว (มีมากในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันสัตว์ ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มส่วน และการกินเนื้อมากเกิน) หรือไขมันทรานส์ (มีมากในเนยขาว เนยเทียม คอฟฟี่เมต ครีมเทียม เบเกอรี อาหารฟาสต์ฟูด ขนมกรุบกรอบสำเร็จรูป) เป็นหลัก เนื่องจากอาหารเหล่านี้ทำให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น
*
การ ลดโคเลสเตอรอลในอาหาร (มีมากในเครื่องในสัตว์ น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อติดมัน หนังสัตว์ปีก ฯลฯ อาหารทะเลที่ไม่ใช่ปลาและปลิงทะเล) มีผลน้อยกว่าการลดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์

...

*
ควรลด เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย หมู แพะ แกะ ฯลฯ ลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง กินปลา สัตว์ปีกที่นำหนังออก หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ แทน
(3). กินเส้นใย(ไฟเบอร์)ชนิดละลายน้ำ

*
น้ำดีมีโคเลสเตอรอลปนอยู่ค่อนข้างมาก ถ้าไม่กินเส้นใยชนิดละลายน้ำเลย โคเลสเตอรอลในน้ำดีจะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในร่างกาย

...

*
พืช หลายชนิดมีเส้นใยชนิดละลายน้ำสูง เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่ว นัท (ถั่วเปลือกแข็ง) ผลไม้หลายชนิด (เช่น แอปเปิล ฯลฯ) ฯลฯ ผักที่มีเมือกลื่น (เช่น กระเจี๊ยบ มะเขือเทศ ผักปัง ฯลฯ)
*
เส้น ใยชนิดละลายน้ำทำให้อิ่มได้นาน เหมาะที่จะใช้เสริมในโปรแกรมลดความอ้วน ช่วยจับโคเลสเตอรอลในน้ำดี และขับออกไปทางอุจจาระ ทำให้โคเลสเตอรอลต่ำลงได้

...

(4). กินผักผลไม้และถั่ว

*
กิน ผักหลายๆ สี (ควรรวมหอมแดงด้วย เนื่องจากผลไม้เขตร้อนไม่ค่อยมีสี "ม่วง-คราม-น้ำเงิน" จะได้ครบสีรุ้ง) และผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล เช่น ฝรั่ง ส้ม ส้มโอ แอปเปิล มะละกอ กล้วยไม่สุกจัด ฯลฯ วันละ 5 ส่วนบริโภคหรือ 5 เสิร์ฟ

...

*
1 serving = 1 เสิร์ฟ = กล้วยขนาดกลางหรือส้มขนาดกลาง 1 ผล = ฝ่ามือไม่รวมนิ้วมือ ขนาดความหนาประมาณข้อปลายนิ้วก้อยของคนๆ นั้น ถ้าเป็นผักสุก... ปริมาตรจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
*
ถั่ว มีเส้นใยชนิดละลายน้ำสูง ทำให้อิ่มนาน และใช้เสริมโปรแกรมลดความอ้วนได้ (ถ้าไม่กินมากเกิน) ควรกินถั่วหรือผลิตภัณฑ์ถั่ว เช่น เต้าหู้ ฯลฯ อย่างน้อยวันละ 1 ส่วน (ประมาณ 1 กำมือ)

...

*
ควรลดผลไม้หวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ฯลฯ และผลไม้แห้งให้น้อยลง (ผลไม้แห้งให้กำลังงานสูงเป็น 2-3 เท่าของผลไม้สด)
*
ไม่ ควรกินผลไม้คราวละมากๆ เช่น มากเกิน 8 ชิ้นคำต่อมื้อ ฯลฯ เนื่องจากอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และตามมาด้วยไขมันไตรกลีเซอไรด์(ผู้ช่วยฝ่ายร้าย)สูงได้
(5). เลือกน้ำมันพืช

*
เลือก น้ำมันพืชที่มีจุดเกิดควันสูง เพื่อป้องกันมะเร็ง มีไขมันอิ่มตัวต่ำ (กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมูมีไขมันอิ่มตัวสูง) และมีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (monounsaturated fat) สูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา ฯลฯ

...

*
น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง แต่ไม่ทนความร้อน เหมาะกับการทำอาหารประเภทสลัด
*
ข้อ ดีของน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงคือ มีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ด้วย เพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ด้วยไปพร้อมๆ กัน

...

*
น้ำมัน พืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูงและจุดเกิดควันสูงคือ น้ำมันทานตะวัน ช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) แต่ไม่ช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)

...

(6). กินปลา

*
ตัว ละครหลักในเรื่องโคเลสเตอรอลมี 3 ตัวได้แก่ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ทำหน้าที่ขนไขมันไปทิ้งไว้ตามผนังหลอดเลือด โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ทำหน้าที่เก็บขยะหรือคราบไขตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดสะอาด และไขมันไตรกลีเซอไรด์หรือผู้ช่วยฝ่ายร้าย (triglycerides)

...

*
โอเมกา-3 จากปลา(ปลาทะเลมีมากกว่าปลาน้ำจืด) ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ช่วยฝ่ายร้ายให้น้อยลงได้
*
ปลา ที่ง่ายและดีกับสุขภาพก็ไม่ใช่ปลาแสนแพงอะไรที่ไหน ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศกินกับหอมแดง บีบมะนาว ใส่พริก ทำยำปลากระป๋องก็ใช้ได้เลย ปลากระป๋องไม่ใช่ของดอง แต่เป็นปลาที่ผ่านความร้อน เติมซอสและเครื่องปรุงก่อนบรรจุกระป๋องอย่างดี
*
ปลา ที่ดีกับสุขภาพจริงๆ ควรเป็นปลาที่ไม่ผ่านการทอด เนื่องจากเวลาทอด... น้ำมันปลาจะซึมออก น้ำมันที่ใช้ทอดจะซึมเข้า นอกจากนั้นความร้อนจากการทอดยังทำให้น้ำมันปลาบางส่วนเสื่อมสภาพกลายเป็นไข มันทรานส์ได้ด้วย

...

(7). ไม่กินข้าวหรือแป้งมากเกิน

*
การกินข้าวหรือแป้งมากเกินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูง ทำให้ตับสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ช่วยฝ่ายร้ายเพิ่มขึ้น

...

*
ถ้า ต้องการลดความอ้วน หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป... ควรลดข้าวลงสัก 1 ใน 3 เติมผักเติมถั่วลงไปแทน นั่งลง กินช้าๆ อิ่มแล้วหยุด กินอาหารมื้อเล็กลง วันละ 4 มื้อ (เช้า-สาย-เที่ยง-เย็น) เพื่อป้องกันไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง
*
การ ศึกษาในอังกฤษพบว่า การกินซุปก่อนอาหารหรือพร้อมอาหารทำให้อิ่มได้นานขึ้น แนวคิดนี้นำไปใช้เสริมโปรแกรมลดความอ้วนได้ โดยการดื่มอาหารเหลวข้นเสริม เช่น น้ำข้าวโอ๊ต ซุป น้ำมะเขือเทศ ฯลฯ

...

(8). เปลี่ยนผลิตภัณฑ์นม

*
เปลี่ยน ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม (whole milk) เป็นนมไขมันต่ำ (low fat) หรือนมไม่มีไขมัน (non-fat) และเลือกชนิดไม่เติมน้ำตาลหรือน้ำตาลต่ำเสมอ
*
นมไขมันเต็มมีไขมันอิ่มตัวสูง

...

(9). เปลี่ยนข้าวและแป้ง

*
เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) เพื่อเพิ่มเส้นใย (ไฟเบอร์) และเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
(10). ออกแรง-ออกกำลัง

*
การ ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำมีส่วนช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์หรือผู้ช่วยฝ่าย ร้าย ลด LDL หรือโคเลสเตอรอลชนิดเลว และถ้าออกแรงมากหรือนานพอก็เพิ่ม HDL หรือโคเลสเตอรอลชนิดดีได้ด้วย

...

*
ควร ออกแรง-ออกกำลังเทียบเท่าการเดินเร็วอย่างน้อยวันละ 30 นาที ขึ้นลงบันไดตามโอกาส ทำงานบ้าน และหาทางออกแรงเป็นประจำ เช่น ดู TV ไปถีบจักรยานอยู่กับที่ไป ฯลฯ
*
ไม่จำเป็นต้องออกกำลังรวดเดียว 30 นาที จะออกแรง-ออกกำลังเป็นช่วงๆ เช่น คราวละ 10 นาที ฯลฯ หลายๆ ยก นำเวลามารวมกันก็ได้

...

(11). เลิกบุหรี่

*
บุหรี่มีส่วนทำให้ HDL หรือโคเลสเตอรอลฝ่ายดีลดลง การเลิกบุหรี่จะช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นได้มาก รวมทั้งลดการอักเสบของผนังหลอดเลือดด้วย

...

(12). ลดน้ำหนัก

*
ถ้า อ้วน อ้วนลงพุง หรือน้ำหนักเกิน... การลดน้ำหนัก 2.3-4.6 กิโลกรัมช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และผู้ช่วยฝ่ายร้าย(ไตรกลีเซอไรด์)ให้น้อยลงได้

...

*
วิธี ตรวจว่า อ้วนลงพุงหรือไม่ ทำได้โดยใช้สายวัดรอบเอว(ตรงที่กว้างที่สุด) ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร
*
วิธี ตรวจว่า น้ำหนักเกินหรือไม่ ทำได้โดยนำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง จะได้ค่าดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) ซึ่งคนไทยไม่ควรเกิน 22.9

147 กระเจี๊ยบแดง‏

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ : Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

*

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

1.

เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2.

ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
3.

น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4.

ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
5.

น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6.

ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7.

เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8.

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

*

ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
*

ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
*

ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
*

เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดย นำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

146 'ใบบัวบก' อาหารสมอง‏

อาการ ขี้หลงขี้ลืม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อมหรือไม่ก็ได้ บ้างก็ความจำสั้น บ้างก็จำได้แต่เรื่องที่ผ่านเนิ่นนานมาแล้ว แต่ก่อนที่จะเข้าใกล้โรคความจำเสื่อม ควรป้องกันด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง



อาหารที่อุดมด้วย "วิตามินบี" จะเป็นพื้นฐานที่ช่วยบำรุงระบบประสาทให้แข็งแรง เริ่มจาก วิตามินบี 1 มีมากในข้าวกล้อง รำข้าว นม ขนมปังโฮลวีต ซึ่งวิตามินบี 1 จะช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต เสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ ทำให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อาหารจำพวกปลา ปลาร้ากะปิ ตับ ไข่ นม เนื้อสัตว์ทุกชนิดนั้นจะมีวิตามินบี 12 มากซึ่ง ช่วยสร้างเม็ดเลือด ช่วยการทำงานของระบบประสาท ความทรงจำสมาธิ อย่างไรก็ตาม หากคุณวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคความจำเสื่อมแต่ไม่สามารถทานอาหารต่างๆ เพื่อให้ได้วิตามินบีที่เพียงพอ แนะนำให้ทานวิตามินบีรวมเพียงวันละเม็ดในตอนเช้าก็น่าจะช่วยได้



หลายคนไม่เคยรู้ว่าสมุนไพรสีเขียวเข้มรสออกขมอย่าง "ใบบัวบก" ได้ถูกนำมาใช้บำบัดอาการที่เกี่ยวข้องกับสมองมาเป็นเวลานาน และให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือจนได้ชื่อเรียกว่า "อาหารสมอง"



เพราะ คนสมัยก่อนเชื่อว่าการทานใบบัวบกจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองให้กับสมอง และได้ผลดีทั้งในแง่ของการรักษาส่วนของสมองที่ถูกทำลายแล้วให้ดีขึ้น และยังป้องกันไม่ให้สมองที่เป็นปกติอยู่ถูกทำลายหรือเสื่อมลง



นอก จากนี้ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการลดความเครียดจากการทำงานหนัก ปรับปรุงระบบการรับส่งกระแสประสาท ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงาน ทั้งในแง่ของกำลังกาย และกำลังสมองควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ ใบบัวบกได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรยอดนิยมของชาวตะวันตกเลยทีเดียว แต่สำหรับคนไทยแล้วแนะนำให้ทานสดด้วยการจิ้มน้ำพริก นำมาปั่นหรือคั้นน้ำรับประทาน



อาหารอีกชนิดที่การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าสามารถระงับอาการความจำเสื่อมได้ก็คือ "แปะก๊วยสกัด" แต่ไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ ขณะที่เลซิตินที่ได้จากถั่วเหลืองและธัญพืชอีก หลายชนิด สามารถลดอาการหลงลืมระยะสั้น และป้องกันอัลไซเมอร์ได้ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผักและผลไม้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยเสริมความจำ และชะลอความเสื่อมของสมองได้ เช่น ผักโขม สาหร่ายสไปรูลินา แอปเปิล วิตามินอีแต่ยังไม่มีการศึกษาว่าต้องทานในปริมาณเท่าใดจึงจะได้ผล



หาก เริ่มรู้ตัวว่าตนเองขี้หลงขี้ลืมอยู่บ่อยๆ ก็อย่าได้ชะล่าใจทีเดียว เพราะโรคความจำเสื่อมนั้นอาจกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ ป้องกันเสียแต่วันนี้ด้วยอาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการ ก่อนที่เวลาที่สายเกินจะลบเลือนทุกอย่างไปจากสมอง

145 เห็ดมีประโยชน์‏

เห็ดนางฟ้า

เห็น ชนิดนี้สามารถเพาะได้บนขอนไม้ผุและขี้เลื่อยที่มีความชื้นสูง เมื่อนำมาปรุงอาหารจะให้รสค่อนข้างอ่อน และไม่ค่อยมีกลิ่น จึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มหันมากินเห็ด เพราะหลายคนมีปัญหาในการกินเห็ดบางชนิดที่มีกิล่นและรสเฉพาะตัว เห็ดชนิดนี้มีปริมาณโปรตีนและเส้นใยอาหารสูงจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุม น้ำหนัก ผู้ป่วยในระยะพักฟื้นหรือหลังผ่าตัด จุดเด่นอีกข้อหนึ่งคือ ช่วยลดคอเลสเตอรอล จึงเป็นขวัญใจของผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดเปราะและมีไขมันในเลือดสูง

จานอร่อย : นำ เห็ดนางฟ้ามาฉีกเป็นเส้นยาวๆ ลวกน้ำร้อนให้สุกพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำมายำด้วยการคลุกกับน้ำยำที่ปรุงจากน้ำมะนาว พริกสด น้ำปลา และน้ำตาลเล็กน้อย ใส่ผักสด เช่น หอมหัวใหญ่ ต้นหอม สะระแหน่ มะเขือเทศ ตักใส่จานรองด้วย ผักกาดหอม ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นสามารถเพิ่มเห็ดชนิดอื่นๆ ได้


เห็ดหูหนู

เป็น เห็ดที่มีรสอ่อนแต่โดดเด่นด้วยความลื่น และเคี้ยวแล้วรู้สึกกรุบกรอบนิดๆ คล้ายสาหร่ายทะเล มีสาร "อะดีโนซีน" ซึ่งมีคุณสมบัติลดความข้นเหนียวของเลือดเหมือนที่พบในกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ลดความเสี่ยงของภาวะเส้นเลือดอุดตันตามหลอดเลือดสมองและหัวใจ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สูงอายุและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว

จานอร่อย : ขอ แนะนำก๋วยเตี๋ยวสารพัดเห็ดค่ะ วิธีการก็ง่ายนิดเดียว เพียงลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว ผัก เต้าหู้ เห็ดหูหนู และเห็ดอื่นๆ ที่คุณชอบอีก 2-3 ชนิด ตักใส่ชามปรุงรสตามชอบ เติมพริกไทย ต้นหอม ผักชี และกระเทียมเจียวโรยหน้าเล็กน้อย สุดท้ายเติมน้ำซุปเท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ


เห็ดชิตาเกะ

เห็ด ชนิดนี้เติบโตได้ดีบนขอนไม้ที่ได้จากไม้เนื้อแข็ง คุณสมบัติเด่นคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ เพราะในเห็ดชิตาเกะมีสารที่เป็นประโยชน์ในการต่อต้านแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้สาวๆ ที่ต้องการคงความอ่อนเยาว์ให้กับผิวพรรณไม่ควรพลาด เนื่องจากเห็ดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้

จานอร่อย : เห็ด ซิตาเกะ เมื่อนำไปต้มน้ำซุปจะให้รสหวานอ่อนๆ เข้ากันได้ดีกับฟักเขียวหรือหัวไชเท้าและไก่ อย่าลืมเพิ่มเก๋ากี้ สมุนไพรจีนเม็ดแห้งสีแดง ที่มีสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงไต บำรุงปอด แก้อ่อนเพลียได้อีกด้วยค่ะ


เห็ดไมตาเกะ

รู้จักกันในฉายา "แม่ไก่แห่งป่า" เนื่อง จากเห็ดชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายขนนกสีน้ำตาลรวมกันเป็นกลุ่มขนาดย่อมๆ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นหากต้องการกินเห็ดที่สดใหม่จึงต้องรอช่วงปลายปี นอกเหนือจากนั้นจะเป็นเห็ดที่แช่เย็นเอาไว้ คุณค่าที่ได้ก็จะลดลงไปตามส่วน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง หรือเนื้องอก เนื่องจากมีสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ

จานอร่อย : ด้วย กลิ่นและรสชาติที่มีเอกลักษณ์ของเห็ดไมตาเกะ เราขอแนะนำให้ปรุงเป็นอาหารนึ่งไอน้ำ เช่น ตุ๋นกับเต้าหู้ถั่วเหลืองชนิดอ่อน ปรุงรสเล็กน้อยด้วยเต้าเจี้ยว เพิ่มความหอมด้วยขึ้นฉ่ายต้นหอม และขิงหั่นฝอย กินเป็นอาหารเช้ากับข้าวสวยร้อนๆ


เห็ดกระดุม

เห็ด ยอดนิยมที่พ่อครัวทั่วโลกนำมาปรุงเป็นอาหารขึ้นโต๊ะอยู่เป็นประจำ ที่คุ้นเคยมากที่สุดคือนำมาปรุงเป็นเครื่องโรยหน้าพิซซ่าของโปรดของใครหลาย คน เห็ดชนิดนี้มีสีขาวและมีรสอ่อนย่อยง่าย เหมาะกับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกข้อหนึ่งคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันป้องกันการเกิดเนื้อร้าย

จานอร่อย : นอก จากนำมาโรยปรุงเป็นหน้าพิซซ่าได้แล้ว เห็ดกระดุมยังเหมาะกับการนำมาปรุงในอาหารจำพวกผัดที่ใช้ไฟแรงเลือกผักที่คุณ ชอบ เช่น แครอท พริกหวาน กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ หั่นเป็นชิ้นพอคำพักไว้ก่อน นำกระทะมาตั้งไฟใส่น้ำมันเล็กน้อย ใส่เห็ดกระดุมหั่นบางๆ ผัดกับกระเทียมให้หอม จากนั้นใส่ผักที่เตรียมไว้ปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลืองและซีอิ๊วขาว

144 วิธีพับกระดาษและกุหลาบใบเตย



142 มายากลตัดคนขาด2ท่อน



143 หมี่กะทิ-ของกินสุดสยอง แปลกๆ


142 ภัยจากการกินอาหาร


141 ข้าวโพดหวานต้มน้ำมะพร้าวอ่อน -ทับทิมกรอบ-วุ้นกะทิ



140 "กล้วยทอดงาดำ"