สุนทรียภาพ
ชื่อ................ ......................นามสกุล ......................เลขที่.........................กลุ่มที่..............ชั้น...................
ผู้ปกครองลงชื่อรับทราบการทำงาน....................................................................................................................................
ตอนที่1 จงเลือกข้อความที่ถูกต้องที่สุดแล้วทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนด
โดยให้บันทึกหรือcopyคำถามลงสมุดทั้ง 30 ข้อ
1.มือซ้ายแตะหน้าผาก ก้มหน้า มือขวาจีบแนบอยู่ที่ชายพก สะดุ้งตัวเหมือนสะอื้น
( ) อย่า ( ) ร้องไห้
2.ฝ่ามือถูข้างแก้มแล้วกระชากลง
( ) ขัดใจ ( ) เศร้า
3.มือทั้งสองซ้อนทับกันระดับหน้าอก
( ) รัก ( ) เจ็บใจ
4.มือตั้งวงระดับหน้าอกสั่นปลายนิ้ว แล้วส่ายหน้าเล็กน้อย
( ) ออกไป ( ) ปฏิเสธ
5.ม้วนมือจีบออกไปตั้งวง
( ) อย่า ( ) ออกไป
6.เซตัวก้มหน้าประสานลำแขนส่วนล่าง ทิ้งมือลงระดับต้นขา
( ) ดีใจ ( ) เศร้า
7. มือหนึ่่งตั้งวงหน้าระดับปาก อีกมือหนึ่งแบหงายงอข้อศอก
( ) สวยงาม ( ) มากมาย
8. มือซ้ายจีบคว่ำระดับปาก
( ) ยิ้ม ( ) หัวเราะ
9. ปาดมือซ้ายกรีดจีบเข้าหาหน้าอก
( ) ฉัน ( ) ดีใจ
10. มือหนึ่งตั้งวง อีกมือหนึ่งวางแนบไว้บนหน้าขา
( ) ยิ่งใหญ่ ( ) กล้าหาญ
11. กิริยาใดเรียกว่าจีบคว่ำ
( ) ส่งจีบไปหลังให้ตึง ( ) ปลายนิ้วกรีดจีบชี้ลงล่าง
12. จีบหงายตรงกับกิริยาใด
( ) มือจีบกรีดหงายชี้ขึ้นด้านบน ( ) กรีดจีบชี้เข้าหาแง่ศีรษะ
13.มือทั้งสองตั้งระดับต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย
( ) วงล่าง ( ) วงกลาง
14.มือตั้งวงที่่ตัวพระอยู่ระดับแง่ศรีษะและตัวนางอยู่ระดับหางคิ้ว
( ) วงบน ( ) วงบัวบาน
15.วงที่ตั้งไว้ระดับชายพกเรียกว่าวงชนิดใด
( ) วงพิเศษ ( ) วงล่าง
16.วงที่่ตั้งอยู่ระดับปากหมายถึงวงชนิดใด
( ) วงหน้า ( ) วงบน
17.กิริยาเท้าที่ก้าวเท้าไปข้าง ตัวพระกันเข่า ตัวนางหลบเข่าหมายถึงกิริยาใด
( ) ก้าวข้าง ( ) ก้าวหน้า
18.กิริยาที่ถีบเข่าไปด้านหลัง ย่อตัวลงปลายเท้าชี้ลงที่พื้นคือกิริยาใด
( ) ถีบเข่า ( ) กระดกหลัง
19.การใช้จมูกเท้าจรดกับพื้นเปิดส้นเท้ายกขึ้นหมายถึงอะไร
( ) จรดเท้า ( ) กระทุ้งเท้า
20. กิริยาที่ใช้ส้นเท้าวางกับพื้นแล้วยกปลายเท้าขึ้นคือกิริยาใด
( ) วางส้นเท้า ( ) จรดส้นเท้า
ตอนที่1 จงเลือกข้อความที่ถูกต้องที่สุดแล้วทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนด
โดยให้บันทึกหรือcopyคำถามลงสมุดทั้ง 30 ข้อ
1.มือซ้ายแตะหน้าผาก ก้มหน้า มือขวาจีบแนบอยู่ที่ชายพก สะดุ้งตัวเหมือนสะอื้น
( ) อย่า ( ) ร้องไห้
2.ฝ่ามือถูข้างแก้มแล้วกระชากลง
( ) ขัดใจ ( ) เศร้า
3.มือทั้งสองซ้อนทับกันระดับหน้าอก
( ) รัก ( ) เจ็บใจ
4.มือตั้งวงระดับหน้าอกสั่นปลายนิ้ว แล้วส่ายหน้าเล็กน้อย
( ) ออกไป ( ) ปฏิเสธ
5.ม้วนมือจีบออกไปตั้งวง
( ) อย่า ( ) ออกไป
6.เซตัวก้มหน้าประสานลำแขนส่วนล่าง ทิ้งมือลงระดับต้นขา
( ) ดีใจ ( ) เศร้า
7. มือหนึ่่งตั้งวงหน้าระดับปาก อีกมือหนึ่งแบหงายงอข้อศอก
( ) สวยงาม ( ) มากมาย
8. มือซ้ายจีบคว่ำระดับปาก
( ) ยิ้ม ( ) หัวเราะ
9. ปาดมือซ้ายกรีดจีบเข้าหาหน้าอก
( ) ฉัน ( ) ดีใจ
10. มือหนึ่งตั้งวง อีกมือหนึ่งวางแนบไว้บนหน้าขา
( ) ยิ่งใหญ่ ( ) กล้าหาญ
11. กิริยาใดเรียกว่าจีบคว่ำ
( ) ส่งจีบไปหลังให้ตึง ( ) ปลายนิ้วกรีดจีบชี้ลงล่าง
12. จีบหงายตรงกับกิริยาใด
( ) มือจีบกรีดหงายชี้ขึ้นด้านบน ( ) กรีดจีบชี้เข้าหาแง่ศีรษะ
13.มือทั้งสองตั้งระดับต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย
( ) วงล่าง ( ) วงกลาง
14.มือตั้งวงที่่ตัวพระอยู่ระดับแง่ศรีษะและตัวนางอยู่ระดับหางคิ้ว
( ) วงบน ( ) วงบัวบาน
15.วงที่ตั้งไว้ระดับชายพกเรียกว่าวงชนิดใด
( ) วงพิเศษ ( ) วงล่าง
16.วงที่่ตั้งอยู่ระดับปากหมายถึงวงชนิดใด
( ) วงหน้า ( ) วงบน
17.กิริยาเท้าที่ก้าวเท้าไปข้าง ตัวพระกันเข่า ตัวนางหลบเข่าหมายถึงกิริยาใด
( ) ก้าวข้าง ( ) ก้าวหน้า
18.กิริยาที่ถีบเข่าไปด้านหลัง ย่อตัวลงปลายเท้าชี้ลงที่พื้นคือกิริยาใด
( ) ถีบเข่า ( ) กระดกหลัง
19.การใช้จมูกเท้าจรดกับพื้นเปิดส้นเท้ายกขึ้นหมายถึงอะไร
( ) จรดเท้า ( ) กระทุ้งเท้า
20. กิริยาที่ใช้ส้นเท้าวางกับพื้นแล้วยกปลายเท้าขึ้นคือกิริยาใด
( ) วางส้นเท้า ( ) จรดส้นเท้า
ตอนที่2 จงทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
21. คำว่า” รักษา”ควรทำกิริยามืออย่างไร
ก.มือทั้งสองจีบคว่ำไขว้ไว้ระดับหน้าท้อง ข. มือทั้งสองกำแล้วไขว้ไว้ระดับหน้าท้อง
ค. มือทั้งสองกำแล้วชูมือขึ้นสูง ง. มือทั้งสองจีบคว่ำแล้วกวาดออกข้าง
22.ถ้ากล่าวถึงชาติไทยควรทำกิริยาใด
ก. มือหนึ่งช้อนยกขึ้นสูง ข. มือทั้งสองช้อนยกขึ้นสูง
ค. มือทั้งสองประสานไว้ที่หน้าอก ง. สับมือสูง 1 ครั้ง
23. ตระกูลเธอช่างสูงส่ง "สูงส่ง" ควรทำกิริยามืออย่างไร
ก.มือทั้งสองตั้งวงบน ข. มือทั้งสองช้อนยกขึ้นสูง
ค.มือทั้งสองกวาดออกไปข้างตัว ง. มือทั้งสองจีบหงายแล้วคลายออก
24. กิริยาที่กำมือหลวมๆโขยกเท้าเร็วๆหมายถึงกิริยาสัตว์ชนิดใด
ก. สิงโต ข. แมว ค. ม้า ง. วัววิ่ง
25. "มั่นใจ" ควรใช้ภาษาท่าอย่างไร
ก.ประกบมือทั้งสองเข้าหากัน ข. มือทั้งสองถูไปมาที่หน้าอก
ค. มือทั้งสองทาบไว้ที่แก้ม ง. มือทั้งสองประสานไขว้ไว้ที่หน้าอก
26.ท่าใดที่แสดงท่าทางชั่วร้าย
ก.จีบคว่ำทั้งสองมือแล้วคลายมือเป็นแบหงาย ข. ปิดหน้า
ค. ตวัดนิ้วชี้เร็วๆ ง. สับมือสูง 1 ครั้ง
27. กล่าวถึงสิ่งที่ควรเคารพ เทิดทูน บูชา ควรทำท่าทางอย่างไร
ก.จีบล่อแก้ววงบัวบาน ข. ไหว้แบบใดก็ได้
ค. สับมือสูงมือใดก็ได้ ค. มือทั้งสองประสานซ้อนทับที่หน้าอก
28.กิริยาที่ใช้มือทั้งสองยกขึ้นสูงแล้วสลับกับลากมือขึ้นลง พร้อมกับยุบยืดตัวขึ้นลง
หมายถึงกิริยาสัตว์ชนิดใด
ก. กบ ข. กระต่ายกระโดด ค. นกบิน ง. ไก่ตีปีก
29. มือหนึ่งยื่นไปข้างหน้าอีกมือหนึ่งยื่นไปข้างหลังแล้วส่ายมือไปมาตามจังหวะ
หมายถึงกิริยาของสัตว์ชนิดใด
ก. ช้าง ค. งูเลื้อย ค. ปลา ง. ลิง
30.กิริยามือหนึ่งจีบคว่ำไว้ระดับปากหมายถึงท่าทางแบบใด
ก. หัวเราะ ข.ดมกลิ่น ง.พูดเบาๆ ง.ยิ้ม
.....................................................................................................................................................
อยากเป็นเด็กคนขยันดีกว่า...เอย..
.....................................................................................................................................................'
ก.จีบคว่ำทั้งสองมือแล้วคลายมือเป็นแบหงาย ข. ปิดหน้า
ค. ตวัดนิ้วชี้เร็วๆ ง. สับมือสูง 1 ครั้ง
27. กล่าวถึงสิ่งที่ควรเคารพ เทิดทูน บูชา ควรทำท่าทางอย่างไร
ก.จีบล่อแก้ววงบัวบาน ข. ไหว้แบบใดก็ได้
ค. สับมือสูงมือใดก็ได้ ค. มือทั้งสองประสานซ้อนทับที่หน้าอก
28.กิริยาที่ใช้มือทั้งสองยกขึ้นสูงแล้วสลับกับลากมือขึ้นลง พร้อมกับยุบยืดตัวขึ้นลง
หมายถึงกิริยาสัตว์ชนิดใด
ก. กบ ข. กระต่ายกระโดด ค. นกบิน ง. ไก่ตีปีก
29. มือหนึ่งยื่นไปข้างหน้าอีกมือหนึ่งยื่นไปข้างหลังแล้วส่ายมือไปมาตามจังหวะ
หมายถึงกิริยาของสัตว์ชนิดใด
ก. ช้าง ค. งูเลื้อย ค. ปลา ง. ลิง
30.กิริยามือหนึ่งจีบคว่ำไว้ระดับปากหมายถึงท่าทางแบบใด
ก. หัวเราะ ข.ดมกลิ่น ง.พูดเบาๆ ง.ยิ้ม
.....................................................................................................................................................
เพลงอยากเป็นอะไรดี
( ทำนองเพลงไทยเดิมชื่อเพลงเทพทอง)
( ทำนองเพลงไทยเดิมชื่อเพลงเทพทอง)
(เสียงสูง) อยากเป็นกบ ฮ้าไฮ้ ร้องอ๊อบ อ๊อบ ในกอหญ้า
อยากเป็นปลาพ่นน้ำ ดำผุด...ว่าย..
( เสียงสูง )อยากเป็นเป็ด ฮ้าไฮ้ ว่ายน้ำตามสบาย
( เสียงสูง )อยากเป็นเป็ด ฮ้าไฮ้ ว่ายน้ำตามสบาย
อยากเป็นกระต่ายโลดเต้นเล่นแสง...จันทร์..
( เสียงสูง )อยากเป็นนก ฮ้าไฮ้ น้อยๆเหิรลอยฟ้า
อยากเป็นม้าโลดไล่ในไพร...สัณฑ์..
(เสียงสูง ) อยากเป็นไก่ ฮ้าไฮ้ ขันจ้าท้าตะว้น
อยากเป็นเด็กคนขยันดีกว่า...เอย..
.....................................................................................................................................................'
นาฏยศัพท์เบื้องต้น
นาฏยศัพท์ เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวงการนาฏศิลป์ เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติ หรือกิริยาอาการต่างๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์ นาฏยศัพท์แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดนามศัพท์ หมวดกิริยาศัพท์ หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะ วง และ จีบ ซึ่งเป็น หมวดนามศัพท์ ที่ใช้ในการรำวงเมดเลย์
วง คือ การตั้งมือโดยให้นิ้วทั้ง 4 เรียงชิดกัน กระดกข้อมือขึ้นหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือทอดแขนให้โค้งพองาม อาจตั้งวงพร้อมกันทั้ง 2 มือ หรือมือเดียวก็ได้ วง มี 4 ชนิดดังนี้
1 วงบน ตัวพระอยู่ระดับแง่ศีรษะ ตัวนางอยู่ระดับหางคิ้ว ทอดลำแขนให้โค้งได้รูปจากระดับไหล่ไปข้างๆ ให้ลำแขนส่วนบนลาดจากไหล่เล็กน้อย
2 วงกลาง คือส่วนโค้งของลำแขนอยู่ระหว่างวงบนกับวงล่าง ให้ศอกอยู่ระดับเอว ทอดแขนให้ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่
3 วงล่าง คือส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งลงเบื้องล่างปลายนิ้วอยู่ระดับหน้าท้อง หรือระดับหัวเข็มขัด ตัวพระให้ส่วนโค้งของลำแขนห่างออกจากลำตัวมากกว่าตัวนาง
4 วงหน้า คือส่วนโค้งของลำแขนที่โค้งอยู่ข้างหน้า โดยตัวพระปลายนิ้วมือ อยู่ระดับข้างแก้ม ข้างเดียวกับวง ส่วนตัวนางปลายนิ้วจะอยู่ตรงระดับปาก
จีบ คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ จีบมี 5 ลักษณะดังนี้
1.จีบหงาย คือการจีบแล้วหงายฝ่ามือขึ้นปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นข้างบน ถ้าอยู่ หน้าท้องเรียกว่าจีบหงายชายพก
2 จีบคว่ำ คือการจีบแล้วคว่ำฝ่ามือลง ปลายนิ้วชี้ ชี้ลงล่าง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
3 จีบหลัง คือ การจีบส่งลำแขนไปข้างหลังโดยตึงแขนให้มาก แล้วพลิกข้อมือ และปลายนิ้วชี้ขึ้น แขนจะต้องตึง พร้อมกับส่งแขนไปข้างหลังให้สูง
4 จีบปรกหน้า คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า ตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก หันจีบเข้าหาหน้าผาก
5 จีบปรกข้าง คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะลำแขน อยู่ข้างๆระดับเดียวกับวงบน
จีบล่อแก้ว ลักษณะท่าทางคล้ายจีบมือ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ 1 ของนิ้วหัวแม่มือหักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
..........................................................
...........................................................................................................
องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ สามารถดัดแปลงท่าทางธรรมชาติให้เป็นศิลปะงดงามร่ายรำให้เข้ากับทำนองการขับร้องและดนตรี แสดงออกทางอารมณ์ด้วยลีลาอันอ่อนช้อย เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายและการใช้ภาษาท่า การตีบทตามคำร้องหรือบทเพลง เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด นาฏศิลป์ไทย ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ลีลาท่ารำ คือการเคลื่อนไหวของอวัยวะร่างกายสื่อออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อแทนคำพูด แทนอากัปกิริยาที่กำลังปฏิบัติอยู่ เป็นต้น เป็นการประดิษฐ์กิริยาท่าทางของมนุษย์ให้สวยงามเกินกว่าปกติ โดยต้องสอดคล้องกับเนื้อร้องและทำนองเพลงด้วย ภาษานาฏศิลป์ที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นท่ารำที่นำมาจากท่ารำแม่บท และเชื่อมท่ารำให้เป็นกระบวนท่าจากท่ารำในเพลงช้า เพลงเร็ว การแสดงจึงจะเกิดความวิจิตรงดงามถูกตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย
1. ลีลาท่ารำ คือการเคลื่อนไหวของอวัยวะร่างกายสื่อออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อแทนคำพูด แทนอากัปกิริยาที่กำลังปฏิบัติอยู่ เป็นต้น เป็นการประดิษฐ์กิริยาท่าทางของมนุษย์ให้สวยงามเกินกว่าปกติ โดยต้องสอดคล้องกับเนื้อร้องและทำนองเพลงด้วย ภาษานาฏศิลป์ที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นท่ารำที่นำมาจากท่ารำแม่บท และเชื่อมท่ารำให้เป็นกระบวนท่าจากท่ารำในเพลงช้า เพลงเร็ว การแสดงจึงจะเกิดความวิจิตรงดงามถูกตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย
2. จังหวะ เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ ฉะนั้นการฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องอาศัยจังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด หากรำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า รำคร่อมจังหวะ หรือ บอดจังหวะ ทำให้การรำนั้นผิดพลาดไม่สวยงาม
3. เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ และทำนองเพลง ในการ ตีบทหรือแสดงท่าทางจะต้องตรงความหมายของเนื้อร้องและทำนองเพลง ด้วยท่ารำที่หลากหลาย ตามหลักนาฏศิลป์ไทยการตีบทจะไม่ซ้ำมือและซ้ำเท้า
4. การแต่งกาย ต้องมีความสอดคล้องกับความหมายของเนื้อเพลง หรือบ่งบอกเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิปัญญาพื้นบ้าน
5. เครื่องดนตรี ต้องสอดคล้องตามลักษณะและประเภทของการแสดง ทำนองเพลง สำเนียงการออกภาษา ต้องสอดคล้องตามเชื้อชาติ ดนตรีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสมจริง
6. การแต่งหน้า มีความสำคัญต่อผู้แสดงมากที่ทำให้ผู้แสดง สวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ และการแต่งหน้าเพื่อบอกวัยของตัวละครได้อีกด้วย
7. อุปกรณ์การแสดง อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องสมบูรณ์ สวยงาม อุปกรณ์ประกอบฉาก แสง เสียงที่ใช้ประกอบการแสดง มีส่วนช่วยให้การแสดงสมบูรณ์ผู้ชมเกิดความประทับใจในการแสดง และมองเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้นาฏศิลป์ไทยที่งดงามมีคุณค่า จะต้องมีสุนทรียภาพอยู่ในการแสดง ซึ่งประกอบด้วย บทกลอนไพเราะ แต่งกายงาม รำงาม เพลงไพเราะ ฉากที่ตระการและประทับใจ
หมายเหตุเครื่องหมาย...คือเสียงเอื้อนของเพลงเทพทอง 3 จังหวะ
นาฏยศัพท์ เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวงการนาฏศิลป์ เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติ หรือกิริยาอาการต่างๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์ นาฏยศัพท์แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดนามศัพท์ หมวดกิริยาศัพท์ หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะ วง และ จีบ ซึ่งเป็น หมวดนามศัพท์ ที่ใช้ในการรำวงเมดเลย์
วง คือ การตั้งมือโดยให้นิ้วทั้ง 4 เรียงชิดกัน กระดกข้อมือขึ้นหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือทอดแขนให้โค้งพองาม อาจตั้งวงพร้อมกันทั้ง 2 มือ หรือมือเดียวก็ได้ วง มี 4 ชนิดดังนี้
1 วงบน ตัวพระอยู่ระดับแง่ศีรษะ ตัวนางอยู่ระดับหางคิ้ว ทอดลำแขนให้โค้งได้รูปจากระดับไหล่ไปข้างๆ ให้ลำแขนส่วนบนลาดจากไหล่เล็กน้อย
2 วงกลาง คือส่วนโค้งของลำแขนอยู่ระหว่างวงบนกับวงล่าง ให้ศอกอยู่ระดับเอว ทอดแขนให้ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่
3 วงล่าง คือส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งลงเบื้องล่างปลายนิ้วอยู่ระดับหน้าท้อง หรือระดับหัวเข็มขัด ตัวพระให้ส่วนโค้งของลำแขนห่างออกจากลำตัวมากกว่าตัวนาง
4 วงหน้า คือส่วนโค้งของลำแขนที่โค้งอยู่ข้างหน้า โดยตัวพระปลายนิ้วมือ อยู่ระดับข้างแก้ม ข้างเดียวกับวง ส่วนตัวนางปลายนิ้วจะอยู่ตรงระดับปาก
จีบ คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ จีบมี 5 ลักษณะดังนี้
1.จีบหงาย คือการจีบแล้วหงายฝ่ามือขึ้นปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นข้างบน ถ้าอยู่ หน้าท้องเรียกว่าจีบหงายชายพก
2 จีบคว่ำ คือการจีบแล้วคว่ำฝ่ามือลง ปลายนิ้วชี้ ชี้ลงล่าง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
3 จีบหลัง คือ การจีบส่งลำแขนไปข้างหลังโดยตึงแขนให้มาก แล้วพลิกข้อมือ และปลายนิ้วชี้ขึ้น แขนจะต้องตึง พร้อมกับส่งแขนไปข้างหลังให้สูง
4 จีบปรกหน้า คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า ตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก หันจีบเข้าหาหน้าผาก
5 จีบปรกข้าง คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะลำแขน อยู่ข้างๆระดับเดียวกับวงบน
จีบล่อแก้ว ลักษณะท่าทางคล้ายจีบมือ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ 1 ของนิ้วหัวแม่มือหักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
ตัวอย่างวาดเพิ่มเติมสีบูรณาการสวนพฤกษศาสตร์
บทเรียนต่อไปเป็นตัวชี้วัดหัวข้อที่ ม.2/5 เชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ( เชื่อมโยงกับสาระดนตรี ) เรามาฝึกร้องเพลงภาษาอังกฤษกับคาราโอเกะในเพลง Una Paloma Blanca กันเถอะเพลงนี้เกี่ยวข้องกับนกสีขาวซึ่งสืบเนื่องจากเราเลียนแบบกิริยาของสัตว์จากเพลงอยากเป็นอะไรดีนั่นเอง
โดย ศิลปิน George Baker สอบในระบบทีมที่กำหนดไว้ ขอให้นักเรียนฝึกล่วงหน้าเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญให้นักเรียนหาคำยากแล้วเขียนเป็นภาษาไทย การฝึกบ่อยๆ หนูทำได้ๆแน่นอน
When the sun shines on the mountains and the night is on the run.
It's a new day. It's a new way. And I fly up to the sun.
I can feel the morning sunlight. I can smell the new morn hay.
I can hear God's voice's calling Form my golden sky light way.
Una paloma blanca. I'm just a bird in the sky.
Una paloma blanca. Over the mountains I fly.
No one can take my freedom away. Once I had my share of losing
for they locked me on the chain. Yes they tried to break my power.
Oh I still can feel the pain. Una paloma blanca.
I'm just a bird in the sky. Una paloma blanca.
Over the mountains I fly. No one can take my freedom away.
No one can take my freedom away. I can feel the morning sunlight.
I can smell the new morn hay. I can hear God's voice's calling
Form my golden sky light way. Una paloma blanca.
I'm just a bird in the sky. Una paloma blanca.
Over the mountains I fly. No one can take my freedom away.
คำแปลเป็นภาษาไทย
นกขาว
ปีกขาวโฉบไปในฟ้ากว้าง แสงอุษาส่องทางสว่างใส
บินทะยานผ่านคลื่นทะเลไกล มุ่งสู่ความฝันใฝ่ ที่ปลายฟ้า
นกขาวลัดฟ้ามาโดดเดี่ยว เบื้องล่างคือเกลียวคลื่นแรงกล้า
ขอบฟ้ายังห่างไกลสุดสายตา ประคองปีกเริ่มล้าในแรงลม
แรงตกร่อนต่ำลงพำนัก แวะพักแมกไม้ในเงาร่ม
นิ่งนอน ผ่อนคลายในอารมณ์ ซุกใต้ใบไม้ห่มพออุ่นใจ
แรงกลับก็โผผินบินสู่ฟ้า แรงพายุเบื้องหน้าถาโถมใส่
กระหน่ำพัดหลงทางจนห่างไกล ก็ดั้นด้นกลับไปใหม่ไม่รอรี
ผ่านลำธาร ผ่านทุ่งหญ้า ผ่านป่าใหญ่ ผ่านดอกไม้สวยใส รุ้งหลายสี
ผ่านหุบเหว หน้าผา มหานที ผ่านเรื่องดีเรื่องร้ายในหลายทาง
จนปลายปีกแตะลงตรงปลายฟ้า สวมมงกุฎดาริกาก่อนฟ้าสาง
ม่านเมฆค่อยคลายเคลื่อนเห็นเลือนราง ฟ้าแสนกว้าง แต่ตรงนี้ ไม่มีใคร
หวนหาครั้งลอยล่องเหนือฟองคลื่น หวนหาคืนเดือนกระจ่างดาวพร่างใส
หวนหารังครั้งนอนอ่อนอุ่นใจ หวนหาใครคนหนึ่ง....ซึ่งไม่มี
อย่าลืม เพลงนี้สอบคาราโอเกะเป็นทีม ให้นักเรียนหาคำยากแล้วเขียนเป็นภาษาไทย การฝึกบ่อยๆ หนูทำได้ๆ
ใบความรู้เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ เสียก่อน
การจัดองค์ประกอบศิลป์ หมายถึงการนำทัศนธาตุมาจัดวางให้เกิดความงามตามหลักการรับรู้ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้
1. ความมีเอกภาพ คือ การจัดวางทัศนธาตุให้เป็นกลุ่มเป็นพวก และรับรู้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเดียวกันหรือเป็นส่วนประกอบของภาพเดียวกัน
2. ความประสานกลมกลืน คือ การจัดวางทัศนธาตุให้เกิดความกลมกลืนทั้งด้านรูปร่าง สี ทิศทางการเคลื่อนไหว สัดส่วน พื้นผิว เพื่อให้เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความขัดแย้ง คือ การจัดวางทัศนธาตุให้ดูต่างจากส่วนใหญ่เพื่อสร้างความโดดเด่น
4. ความสมดุล คือ การจัดวางทัศนธาตุให้อยู่ในสภาพที่สมดุล หยุดนิ่ง มีน้ำหนักซ้าย-ขวาของภาพเท่ากัน ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
5. จังหวะและลีลา คือ การวางตำแหน่งของทัศนธาตุให้มีระยะห่างเท่าๆกัน เป็นช่วงๆ ดูแล้วสบายตา
6. สัดส่วน คือ ความสัมพันธ์ของขนาดในส่วนต่างๆของรูปทรง ว่ามีความพอดีเหมาะสมสอดคล้องกันอย่างไร จึงจะเกิดคุณค่าทางความงาม
7. จุดสนใจ คือ การจัดวางทัศนธาตุที่ต้องการเน้นจุดซึ่งสายตามนุษย์รับรู้ได้มากที่สุด ได้แก่บริเวณที่อยู่รอบจุดศูนย์กลางของภาพ
ทัศนธาตุ หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างงานทัศนศิลป์ ได้แก่
1.จุด (Point, Dot) คือ ส่วนที่มีขนาดเล็กที่สุด
2. เส้น (Line) คือ จุดจำนวนมากที่นำมาต่อเรียงเชื่อมโยงกันบนพื้นระนาบของทิศทาง
3.รูปร่าง-รูปทรง (Shape) คือเส้นที่เป็นเส้นโครงของวัตถุสิ่งของที่ปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะ 2 มิติ จะไม่แสดงความหนาและสีผิวของวัตถุ
4.พื้นผิว (Texture) คือ ลักษณะของบริเวณผิวของสิ่งต่างๆ ที่เมื่อสัมผัสจับต้องหรือมองเห็น ว่าหยาบ ละเอียด มัน ด้าน เป็นขีด เป็นรอย เป็นเส้น เป็นจุด
5.พื้นที่ว่าง(Space) คือบริเวณที่เป็นความว่างรอบๆรูปทรงหรือเนื้อหาเรื่องราว
6. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value) คือ ความเข้ม ความอ่อนของสีต่างๆ และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้
7. สี(Colors) สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย สีเป็นทัศนธาตุที่สำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และยังมีส่วนสัมพันธ์กับส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของภาพด้วย สีให้ความรู้สึกต่างๆ ดังนี้
เหลือง หมายถึง ความสว่างสดใส
แดง หมายถึง ตื่นเต้น อันตราย ปิติยินดี
ชมพู หมายถึง อ่อนหวาน นุ่มนวล
เขียว หมายถึง ปลอดภัย มีชีวิต สดชื่น
น้ำเงิน หมายถึง สง่า หนักแน่น มุ่งมั่น
ม่วง หมายถึง ลึกลับ เศร้าซึม
เทา หมายถึง สุขุม สงบเงียบ
น้ำตาล หมายถึง แห้งแล้ง อบอุ่น สงบ
ขาว หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ ใหม่
ดำ หมายถึง เศร้าโศก หดหู่
จุดประสงค์ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมอาเซียนหรือในโอกาสงานรื่นเริงต่างๆได้ โดยใช้ทักษะการเคลื่อนไหวมือ และเท้าตามหลักนาฏศิลป์ไทยอย่างเสรี
เพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าว
เพลงรำวงเมดเลย์
ดนตรีนำ
1. งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาสู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้คลายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย (ซ้ำ)
2. ใกล้เข้าไปอีกนิดชิดๆเข้ามาอีกหน่อย สวรรค์น้อยๆอยู่ในวงฟ้อนรำ
รูปหล่อขอเชิญมาเล่น เนื้อเย็นขอเชิญมารำ
มองมานัยน์ตาหวานฉ่ำ มาซิมารำกับน้องนี่เอย
3. ตามองตา สายตาก็จ้องมองกัน
รู้สึกเสียวซ่านทรวงใน รักฉันก็ไม่รัก
หลงฉันก็ไม่หลง ฉันยังอดโค้งเธอไม่ได้
เธอช่างงามวิไล เหมือนดอกไม้ที่เธอถือมา
( ดนตรี )
(ซ้ำ) ตอนที่2 และตอนที่3
(ซ้ำ) ตอนที่1
่ วิธีปฎิบัติ รำวงเมดเลย์ ต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหว 3 ประการคือ
1.มือจีบ 2.มือตั้งวง 3. จังหวะเท้า โดยย่ำเท้าตามจังหวะแล้วเดินเป็นวงกลมเวียนขวา
นักเรียนสามารถใช้มือวงและจีบโดยอิสระ ไม่ต้องมีแบบแผนในการรำ
วิธีการสอบ
นักเรียนจับคู่โดยให้เลขคี่แสดงเป็นผู้ชาย เลขคู่แสดงเป็นผู้หญิง ยืนแถวเป็นรูปวงกลม ผู้หญิงยืนหน้าผู้ชายยืนเยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย จากนั้นร้องเพลงThe Asean way พร้อมกันก่อนแล้วทำความเคารพคู่ เพลงใช้เปิดแผ่นซี.ดี การสอบเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบมือจีบและวง
ทั้งนี้ต้องร้องเพลงประกอบด้วย (10 คะแนน)
ศ 3.1 ตัวชี้วัดหัวข้อที่ ม.2/3 วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น
โดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม
่ วิธีปฎิบัติ รำวงเมดเลย์ ต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหว 3 ประการคือ
1.มือจีบ 2.มือตั้งวง 3. จังหวะเท้า โดยย่ำเท้าตามจังหวะแล้วเดินเป็นวงกลมเวียนขวา
นักเรียนสามารถใช้มือวงและจีบโดยอิสระ ไม่ต้องมีแบบแผนในการรำ
วิธีการสอบ
นักเรียนจับคู่โดยให้เลขคี่แสดงเป็นผู้ชาย เลขคู่แสดงเป็นผู้หญิง ยืนแถวเป็นรูปวงกลม ผู้หญิงยืนหน้าผู้ชายยืนเยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย จากนั้นร้องเพลงThe Asean way พร้อมกันก่อนแล้วทำความเคารพคู่ เพลงใช้เปิดแผ่นซี.ดี การสอบเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบมือจีบและวง
ทั้งนี้ต้องร้องเพลงประกอบด้วย (10 คะแนน)
ศ 3.1 ตัวชี้วัดหัวข้อที่ ม.2/3 วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น
โดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม
1. ในน้ำมีปลาในนามีข้าวแผ่นดินของเรานี้แสนอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองราบคาบด้วยอานุภาพพ่อขุน
รามคำแหงค้ำจุนให้ชาติไทยไพศาล (ซ้ำ)*
2.สร้างทำนาไร่ทั่วแคว้นแดนไทยเราไถเราหว่าน
หมากม่วงหมากขามหมากพร้าวหมากลาง
พืชผลต่างๆล้วนงามตระการ (ซ้ำในน้ำมีปลาฯ)*
3.สร้างบ้านแปลงเมืองให้เกียรติไทยลือเลื่องไปทั่วทุกถิ่นฐาน
จูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ปวงราษฎร์ทั้งหลายอยู่เป็นสุขสำราญ (ซ้ำ)*
คำชี้แจงเพลงในน้ำมีปลาฯ
1.ให้คิดสร้างสรรค์ท่าทางประกอบเพลงเป็นกลุ่มมีการแปรรูปแถวหรือทักษะการเคลื่อนไหว 6 แบบ เมื่อเพลงจบ ให้ตั้งซุ้มทำท่าต่างๆกันเป็น 7 แบบ นักเรียนควรแบ่งกลุ่มให้เหลือเพียง 6 คนเพราะสะดวกในการฝึก ซึ่งสามารถทำท่าเหมือนกันได้ การประเมินผล ด้านการคิดสร้างสรรค์ท่าทางและการแปรแถว ร้องเอง รำเอง 2. วาดภาพเศรษฐกิจพอเพียงสัมพันธ์หัวข้ออยู่อย่างพอเพียง ลงในกระดาษ A4 ทุกอย่างสามารถcopyมาวางในงานได้แต่ต้องจัดสีให้สวยงามคำนึงถึงความมีระเบียบ
ตัวอย่าง 1. การวาดภาพ ให้ทำลงในกระดาษ A4 โดยตีความหมายจากบทเพลง
2.การตั้งซุ้มท่าจบเพลงในน้ำมีปลาในนาม้าว
ไม่ต้องฝึกเพลงแผ่นดินทองนี้ให้นักเรียนไปที่หมายเลข 416
หลังจากจบเพลงในน้ำมีปลาฯแล้ว
เพลงนี้ต้องใช้ผู้แสดง 2 กลุ่มรวมกัน 20-24 คน เพราะต้องผูกเรื่องราวตามบทเพลง เรียกว่าละครเพลง ไม่ต้องมีบทพูด ผู้แสดงต้องร้องเพลงไปด้วย ทุกคนมีส่วนร่วมมากน้อยต่างกัน สามารถใช้อุปกรณ์ได้ ( ดูตัวอย่าง)