วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

415 ตอนที่2 ทักษะการเคลื่อนไหว

เพลงรักข้ามคลอง
ตอนที่1
 บ้านน้องอยู่ฝั่งขะโน้นบ้านพี่อยู่ฝั่งขะนี้หัวสะพานตรงกันอาบน้ำกันเห็นกันทุกที
อึ้ม! มามาซิข้ามคลอง มารักกันรักกันถึงน้องอยู่ฝั่งทางโน้นไกลโพ้นพี่ก็ใฝ่ฝัน
พี่จะว่ายน้ำไปมอบหัวใจทุกคืนทุกวันขอ ให้รักมั่น ผูกพันมารักกันด้วยใจ

อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม!อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม!
 ( ว่ายน้ำ )
ตอนที่2
       ทน พี่ทน พี่ทนว่ายน้ำข้ามคลองคลอง ข้ามคลอง ข้ามคลองที่กว้างห่างไกล
รักมันปักอุราพี่ว่ายข้ามมาด้วยความเต็มใจเอาความรักมาให้ ขวัญใจด้วยความหวังดี
ตอนที่3
       บ้านน้องอยู่ฝั่งทางโน้น บ้านพี่อยู่ฝั่งทางนี้ แม้นว่าน้องเมตตาว่ายน้ำมาหาพี่สักที ฮึ้ม! ลองดูซิ ข้ามคลอง มารักกันรักกัน
ตอนที่4
ถึงน้องอยู่ฝั่งทางโน้นไกลโพ้นพี่ ก็ใฝ่ฝันพี่จะว่ายน้ำไปมอบหัวใจทุกคืนทุกวันขอ ให้รักมั่น ผูกพันมารักกันด้วยใจ
อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม!อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! อึ้ม! ( ว่ายน้ำ )
ตอนที่5
          บ้านน้องอยู่ฝั่งทางโน้นบ้านพี่อยู่ฝั่งทางนี้          แม้นว่าน้องเมตตาว่ายน้ำมาหาพี่สักที
ฮึ้ม! ลองดูซิ ข้ามคลองมารักกันรักกัน...




..................................................................................................................................

 ขั้นตอนการคิดท่าทางประกอบเพลง


 1.ศึกษาเนื้อเพลงและแบ่งเพลงออกเป็นตอนๆ
 2.คิดรูปแบบแปรแถวในแต่ละตอน
 3.จุดไหนเป็นดนตรีไม่มีเนื้อร้องให้นับจังหวะ
 4.ตีท่าจากบทเพลงให้เป็นภาษาท่าและให้ลงจังหวะดนตรี
 5.ฝึกท่าทาง/ฝึกเท้าเข้ากับเพลงและให้เข้ากับจังหวะดนตรีเป็นกลุ่ม 

...................................................................................................................................................................



ลองฝึกทำแบบทดสอบ
















   


ภาษาท่าขั้นพื้นฐาน


ฉัน   =     I  am           เธอ = you              มา    = come on



นาฏยศัพท์ การเคลื่อนไหว มือและเท้า


กระดกหลัง

ก้าวไขว้หรือก้าวหน้า - เท้าหลังเปิดส้นเท้า


ยกเท้าหน้า ตัวพระกันเข้าออกด้านข้าง * ตัวนางหนีบเข่า ย่อตัวลง
                                                                        

ก้าวข้าง (ตัวพระ )

                                                                         จีบหงาย


วงหน้า


นาฏยศัพท์


ตัวอย่างทักษะเคลื่อนไหวแปรรูปแถวในการแสดง


วงกลาง


















<







  
                      




  แบบฟอร์มการให้คะแนนภาคปฏิบัติเพลงอยากเป็นอะไรดี
วิชา ศ 22101 ศิลปะ3  เน้นกระบวนการกลุ่ม  โดย ครูพัชนีภรณ์
ชั้นม.2/........กลุ่มที่....    Set .....  คะแนนเต็ม 10
ที่/ชื่อ
ตนเอง
หัวหน้า
กลุ่มอื่น
ครู
สรุปคะแนน




































































...............................................................................

                    

                                ..........................................................................

                              ..............................................................................
คิดสร้างสรรค์ท่าทางจากเพลงอยากเป็นอะไรดี ( อยู่ในหมายเลข 415 )
คำชี้แจง   ให้ฝึกร้องเพลงอยากเป็นอะไรดีจากสื่อไร้พรมแดน และคิดสร้างสรรค์ท่าทางพร้อมแปรแถว
            โดยต้องจดเนื้อร้องจากสื่อไร้พรมแดนหรือหมายเลข 415 ลงสมุดด้วย สอบภาคปฏิบัติ( กลุ่ม )

แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค
คำชี้แจง   จงทำเครื่องหมาย  ( X )  หน้าข้อถูกเพียงข้อเดียว   
    1. สิ่งสำคัญที่สุดในการแสดงนาฏศิลป์คืออะไร
     ก.  เพลงและทำนอง
     ข.  การเคลื่อนไหวร่างกาย
     ค.  การร้องและรำ
                       ง.  อุปกรณ์การแสดง
   2 . การแสดงที่เป็นนาฏกรรมชั้นสูงและมีการพากย์-เจรจา หมายถึงอะไร
            ก.  ละคร
                        ข.  ระบำ
                        ค.  โขน
                        ง.  หุ่นกระบอก
    3.  การแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราวคือตัวเลือกใด
                          ก.  โขน
                          ข.  ละคร
                          ค.  รำและระบำ
                          ง.   การแสดงพื้นเมือง
     4. การแสดงชนิดใดจำนวนผู้แสดงน้อยที่สุด
                          ก.  รำ
                          ข.  ระบำ
                          ค.  ละคร
                          ง.  โขน 
       5. ข้อใดที่ทำให้รำและระบำแตกต่างกันมากที่สุด
                          ก.   วัตถุประสงค์ของการแสดง
                          ข.   จำนวนของผู้แสดง  และกระบวนการร่ายรำ
                          ค.   การแต่งกาย
                          ง.   สถานที่ที่ใช้ในการแสดง     
    6. จุดประสงค์ในข้อใดมีความสำคัญต่อการละเล่นพื้นเมืองที่สุด
                       ก.   เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตร
                       ข.   เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล
                       ค.   เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้โดดเด่น
                       ง.   เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับภาคอื่นๆ
          7. การแสดงพื้นเมืองของภาคกลางเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
                          ก.  ทำสวน
                          ข.  บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
                          ค.  ความเชื่อโชคลาง
                          ง.  การเกษตร
        8. การแสดงทางภาคอีสานหมายความตามข้อใด
                          ก.   เซิ้ง
                          ข.   ระบำ
                          ค.   เต้น
                          ง.   ฟ้อน
         9. ภาคเหนือมีลักษณะสัมพันธ์กับข้อใด
                         ก.   ระบำ
                         ข.   เซิ้ง
                         ค.   ฟ้อน
                                 ง.       เต้น
          10. ดนตรีของภาคใต้มีลักษณะตามตัวเลือกใด
                         ก.   โปงลาง
                         ข.   สะล้อ  ซอ  ซึง
                         ค.   วงชาตรี
                         ง.   วงปี่พาทย์
      11.  ตัวเลือกใดที่หมายถึงมหรสพ
                         ก. รำซัดชาตรี
                         ข. ระบำกรีดยาง     
                        ค. ระบำทอยล้อ
                        ง.  ลิเกป่า
       12.   รำแม่บทมีลักษณะการแต่งกายแบบใด
                        ก. ทรงเครื่อง
                        ข. ยืนเครื่อง
                        ค.  นางใน
                        ง. โจงกระเบน-ห่มสไบ 
      13.  ภาคกลางสัมพันธ์กับตัวเลือกใด
                        ก. รำสีนวล เซิ้งบั้งไฟ - สิละ
                        ข.  รำกริช เซิ้งก็อปแก็ป - ฟ้อนดาบ
                        ค.  ระบำเกี่ยวข้าว รำเชิญพระขวัญ รำแม่ศรี
                       ง.  ระบำฉิ่ง รำเถิดเทิง ฟ้อนเทียน
     14.  ข้อใดเป็นระบำศิลปาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้
                       ก. ลิเกฮูลู ระบำร่อนแร่ - ระบำทอยล้อ
                       ข. รองแง็ง  ซำเป็ง - ลิเกป่า
                       ค. ระบำนกเขา ระบำย่านลิเพา ระบำทอผ้าเกาะยอ
                       ง.  ระบำสานจูด ระบำปั้นหม้อ ระบำปาเต๊ะ
      15. มหรสพของภาคใต้หมายถึงข้อใด
                       ก.  หุ่นกระบอก
                       ข.  หนังตะลุง
                       ค.  เพลงบอก
                       ง.  หนังใหญ่
      16.ข้อใดเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                        ก. ทองดีช่วยพ่อแกะตัวหนังตะลุง
                        ข. ทองแท้ชวนแฟนไปดูลิเก
                        ค. ทองแดงไปดูการฝึกรำโนราห์
                        ง. ทองนพคุณชอบฟังเพลงพื้นบ้าน
       17.สนิมสร้อยถามว่าการแห่นางแมวมีจุดประสงค์เพื่ออะไร
                        ก. ต้องการกำจัดแมว
                        ข. แมวเป็นพาหนะสื่อสารไปยังพญาแถน
                        ค. ทำพิธีขอฝน
                        ง.  ทำพิธีขอให้ฝนหยุดตก
        18. ตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ คืออะไร
                               ก. ศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนา 
                               ข. ศิลปะการต่อสู้คล้ายมวยไชยา
                                ค.ศิลปะการต่อสู้ของชาวพม่า
                               ง. การไล่ผีของหมอผีประจำหมู่บ้าน 
          19. การแสดงที่บ่งบอกวิถีชีวิตของชาวบ้านตรงกับข้อใด
                                ก. ระบำกระทบไม้ - ระบำกะลา
                                ข. ระบำนกกรงหัวจุก - ระบำร่อนแร่
                                ค. รำกริช - ระบำสานจูด
                               ง. รำอธิษฐาน - รำเชิญพระขวัญ
           20. ฟ้อนเงี้ยวถือกิ่งไม้ 2 มือ ประกอบการแสดงเพื่ออะไร
                               ก. ไล่ยุง
                              ข.   ปัดแมลง
                              ค.  ปัดเสนียดจัญไร
                              ง.  เพื่อความสวยงาม
                   ...........................................................................................
ลักษณะเด่นของนาฏศิลป์พื้นเมืองทั้ง 4 ภาค
   การแสดงพื้นเมือง  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ   ระบำ มุ่งเน้นศิลปะการร่ายรำเป็นหลักมากกว่าการขับร้อง 
  เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ประเพณีนิยมในท้องถิ่น เพื่อความ  สนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล  จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้  จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้ 
             ภาคเหนือ  เรียกกันทั่วไปว่าฟ้อน” การแสดงโดยรวมของภาคเหนือ จะช้าๆนุ่มนวลมุ่งความพร้อมเพรียง
            ลักษณะการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่   มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่น          ดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง  วงปู่เจ่  วงกลองแอว์  เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง    
            การแสดงภาคเหนือที่ควรรู้จัก  ได้แก่   ตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ การแสดง 3 แบบที่ต่อเนื่องกันเป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนา  ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน   ฟ้อนสาวไหม ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนหวี่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนโต ฟ้อนกิงกะหล่า (กินรา) ฟ้อนกำเบอ (ฟ้อนผีเสื้อ) มองเซิง ฟ้อนไต ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนผีมดผีเม็ง ฟ้อนผีฟ้า ระบำเก็บใบชา ระบำชาวเขา ฯลฯ
           ภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชาวภาคกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม การแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนในท้องถิ่น และเพื่อความบันเทิงสนุกสนานเป็นการพักผ่อนหย่อนใจเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน         หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยวเช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว   รำโทนหรือรำวง   รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  เช่น  กลองยาว  กลองโทน ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  และโหม่ง
         การแสดงภาคกลางที่ควรรู้จัก  ได้แก่  รำสีนวล รำเชิญพระขวัญ รำแม่ศรี ระบำชาวนา  ระบำกลอง  รำเถิดเทิง  ระบำฉิ่ง  ระบำดอกบัว  ระบำชุมนุมเผ่าไทย  ระบำเกี่ยวข้าว  ระบำกรับ  รำแม่โพสพ  รำแม่ศรี  และระบำฝัดข้าว ฯลฯ
       ภาคอีสาน  แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ  คือ กลุ่มอีสานเหนือ   มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า   “ เซิ้ง และหมอลำ  เช่น  เซิ้งบั้งไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องและกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือ      รำกระทบสาก รำกระโน็บติงต๊อง หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด  หรือเพลงอีแซว แบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีคือ ซอด้วง  ซอตรัวเอก   กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ   การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลักษณะที่รำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็วและสนุกสนาน
          การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานที่ควรรู้จัก  ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งสราญเซิ้งแห่นางแมว  เซิ้งกระติ๊บข้าว  เซิ้งกระหยัง  เซิ้งสวิง  เซิ้งกุบ  เรือมอันเร  เซิ้งตังหวาย  เซิ้งก๊อปแก็ป  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง   เซิ้งสวิง   ดึงครกดึงสาก ฯลฯ
        ภาคใต้   แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้  2  กลุ่ม คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา   หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง  มะโย่ง   (การแสดงละคร)
ซำเป็ง  ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และสิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา   กลองโพน  กลองปืด  กลองโทน  ทับ  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไฉน รำมะนาไวโอลิน แอคคอร์เดียน  กรับพวง ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต เรียกว่าการแสดงศิลปาชีพ เช่น  ระบำร่อนแร่  ระบำ กรีดยาง ระบำลิเพา  ระบำปาเต๊ะ ระบำทอผ้า ระบำปั้นหม้อ  เป็นต้น
                ลักษณะชุดการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่ควรรู้จัก  ได้แก่  ระบำปั้นหม้อ   ระบำทำนา   ระบำใบยาง   ระบำทอผ้าเกาะยอ   ระบำแกะหนังตะลุง  ระบำเครื่องถม ระบำลิเพา ระบำทอผ้าพุมเรียง ระบำปาดตาล ระบำสานจูด ระบำนางดาน ระบำนารีศรีนคร ระบำนกกรงหัวจุก ระบำนกเขา ฯลฯ                ศิลปะการร่ายรำของไทยมีหลากหลายรูปแบบ    สำหรับการแสดงพื้นเมืองของไทยทั้งสี่ภาค       มีความสวยงามที่แตกต่างกันตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ

   แบบสอบถามความคิดเห็นก่อนเรียนวิชา ศ 22101 ศิลปะ3   
                                                 ระดับชั้น ม.2/......
                                         ผู้สอน  นางพัชนีภรณ์   สิงหบุญ
คำชี้แจง  ให้ทำเครื่องหมายกากบาท( X ) ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นมากที่สุด            
ที่
ประเด็น
มากที่สุด
ปานกลาง
น้อย
1
นักเรียนสนใจวิชาศิลปะทั้ง 3  สาระ



2
นักเรียนชอบการวาดภาพ



3
นักเรียนมีความรู้ด้านใดด้านหนึ่งใน 3 สาระมาก่อน



4
นักเรียนเป็นผู้ที่มีดนตรีอยู่ในหัวใจ



5
นักเรียนชอบเรียนวิชานี้ด้วยกระบวนการกลุ่ม



6
นักเรียนชอบวิธีสอนแบบใช้สื่อออนไลน์



7
นักเรียนชอบวิธีการสอนของครู



8
นักเรียนชอบคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะ



9
นักเรียนเห็นว่าการเรียนนาฏศิลป์น่าเบื่อหน่าย



10
การวาดภาพและระบายสีจำเป็นต้องมีสมาธิ



11
นักเรียนมีความสุขที่ได้ร้องเพลง



12
นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายความเครียดเมื่อได้เรียนวิชานี้



13
การเรียนศิลปะทั้ง 3 สาระทำให้จิตใจอ่อนโยน



14
นักเรียนสามารถศึกษาวิชานี้ได้ด้วยตนเอง



15
การเรียนสาระนาฏศิลป์เป็นการฝึกความอดทน



16
การฝึกด้วยกระบวนการกลุ่มทำให้นักเรียนเกิดปัญหา



17
สื่อออนไลน์Kru Pat Thai classicaldances น่าสนใจ



18
นักเรียนชอบการวาดภาพเป็นกลุ่มมากกว่าวาดคนเดียว



19
นักเรียนได้รับความรู้หลากหลายในการเข้าweb blog Kru Pat



20
นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับวิชาอื่น








เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องภาษาท่า - นาฏยศัพท์ ( ทักษะการเคลื่อนไหว )
ตอนที่1
1
ร้องไห้
2
ขัดใจ
3
รัก
4
ปฏิเสธ
5
ออกไป
6
เศร้า
7
สวยงาม
8
ยิ้ม
9.
ฉัน
10
กล้าหาญ
11
ปลายนิ้วกรีดจีบคว่ำลงล่าง
12
มือจีบกรีดหงายชี้ขึ้นด้านบน
13
วงกลาง
14
วงบน
15
วงล่าง
16
วงหน้า
17
ก้าวข้าง
18
กระดกหลัง
19
จรดเท้า
20
วางส้นเท้า

ตอนที่2
21
ข.มือทั้งสองกำไขว้ไว้ระดับหน้าท้อง
22
ง. สับมือสูง   
   1 ครั้ง
23
ข.มือทั้งสองช้อนยกขึ้นสูง
24
ค.ม้า
25
ประกบมือทั้งสองเข้าหากัน
26
ค.ตวัดนิ้วชี้เร็วๆ
27
ข.ไหว้แบบใดก็ได้
28
ค. นกบิน
29
ปลา
30
ยิ้ม






เฉลยภาษาอังกฤษในภาษาท่า
1
shy
อาย
2
furious
โกรธมาก
3
sad
เศร้า
4
Happy
ดีใจมีความสุข
5
Angry
โกรธ
6
afraid
กลัว
7
joyous
ปิติรื่นเริง

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง นาฏศิลป์ไทย 4 ภาค
1
ข. การเคลื่อนไหวร่างกาย
2
ค.โขน
3
ข.ละคร
4
ก.รำ
5
ข.จำนวนของผู้แสดง
และกระบวนการรำ
6
ข.เพื่อสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล
7
ง. การเกษตร
8
ก.เซิ้ง
9
ค.ฟ้อน
10
ค.วงชาตรี
11
ลิเกป่า
12.
ข.ยืนเครื่อง

13
ค.เกี่ยวข้าว -                              รำเชิญพระขวัญ  -รำแม่ศรี
14
ง.ระบำสานจูด - ปั้นหม้อ-ปาเต๊ะ
15
หนังตะลุง
16
ก.ทองดี
17
ค.ทำพิธีขอฝน
18
ก.ศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนา
19
ข.ระบำนกกรงหัวจุก-ร่อนแร
20
ค.ปัดเสนียด-จัญไร