เนื้อเพลง ต้นไม้ของพ่อ - ธงไชย แมคอินไตย์
นานมาแล้ว พ่อได้ปลูกต้นไม้ไว้ให้เรา เพื่อวันหนึ่งจะบังลมหนาว และคอยเป็นร่มเงา ปลูกไว้ให้พวกเรา ทุกทุกคน พ่อใช้เหงื่อแทนน้ำรดลงไป เพื่อให้ผลิดอกใบออกผล ให้เราทุกทุกคนเติบโตอย่างร่มเย็นในบ้านเรา ผ่านมาแล้ว ห้าสิบปี ต้นไม้นั้นสูงใหญ่ ลมแรงเท่าใดก็บรรเทา ออกผลให้เก็บกินแตกใบเพื่อให้ร่มเงา คอยดูแลเรา ให้เรายังมีวันต่อไป จนวันนี้ ใต้เงาแห่งต้นไม้ต้นใหญ่ ลูกได้อยู่ได้คอยอาศัย แผ่นดินอันกว้างไกล แต่เหมือนว่าหัวใจพ่อกว้างกว่า ลูกที่เกิดตรงนี้นั้นยังอยู่ และยังอยู่เพื่อคอยรักษา จะรวมใจเข้ามา จะมีเพียงสัญญาในหัวใจ จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก ต้องสวยต้องงดงามและยิ่งใหญ่ สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เหงื่อเราจะเทไป ให้ต้นไม้ของพ่อยังงดงาม จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก ต้องสวยต้องงดงามและยิ่งใหญ่ สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เหงื่อเราจะเทไป จากหัวใจ เหงื่อเราจะเทไป ให้ต้นไม้ของพ่อ ยังงดงาม...............................................
เฉลยแบบทดสอบเรื่องละครจากหมายเลข 415 จำนวน 20 ข้อ
1.ก.ละครชาตรี 2. ง.ข้อ ค ผิด 3. ค. ละครชาตรี 4. ก. รัชกาลที่ 2
5. ข. รัชกาลที่ 4 6.ง. ข้อ ก และ ข ถูก 7. ข. อยุธยา 8. ข. พระรถ - เมรี
9. ค. ละครชาตรี 10. ค. กษัตริย์เล่นตลกได้ 11.ค. ไกรทอง 12. ก. ละครใน
13. ก. เน้นปลุกใจ 14. ก. เน้นตลกสนุกบางครั้งหยาบโลน 15. ค. รัชกาลที่ 5
16. ง. สังข์ทอง 17. ง. ละครใน 18. ก. ละครดึกดำบรรพ์
19. ง. ละครใน 20. ค. รัชกาลที่ 5
สรุปเรื่องละครก่อนสอบปลายภาคปี 2556
สมัยอยุธยามีละครเกิดขึ้น 3 ชนิด คือ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และเป็นรากฐานความเจริญของละครไทยในสมัยต่อมา
ละครโนห์ราชาตรี มีกำเนิดทางภาคใต้ก่อน แล้วไปเจริญรุ่งเรืองที่กรุงศรีอยุธยา มีผู้แสดง 3 ตัวคือ นายโรงหรือพระเอก ตัวตลก และนางเอก นิยมเล่นเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ตัวตลก คือ พรานบุญ และเรื่อง พระรถเสน หรือพระรถ-เมรี ตัวตลกคือ ม้า ผู้แสดงเป็นผู้ชายและไม่สวมเสื้อในการแสดง
ละครนอก เป็นละครชาวบ้าน เล่นนอกวัง ผู้ชายแสดงล้วน การแต่งกายยืนเครื่อง การแสดงไม่เคร่งครัดแบบแผน คือ กษัตริย์หรือมเหสี สามารถเล่นตลกได้ เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เว้น 3 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท เรื่องที่นิยมเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 คือ สังข์ทอง ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์สินไชย ไชยเชษฐ ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ ทำนองได้แก่ ร่ายนอก โอ้ปี่นอก ชมดงนอก ฯลฯ
ละครใน เล่นในวัง เป็นละครผู้หญิงของกษัตริย์แต่ผู้เดียว ผู้ใดจะทำเทียมไม่ได้ การแต่งกายยืนเครื่อง เคร่งครัดแบบแผน
การแสดง กษัตริย์หรือมเหสี จะเล่นตลกกับผู้อื่นไม่ได้ เรื่องที่แสดง มีเพียง 3 เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท บรรเลงด้วยดนตรีปี่พาทย์
ละครแบบปรับปรุงใหม่ ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครเสภา
ละครพันทาง เป็นละครที่ผสมกันหลายเชื้อชาติ มีการพูดสำเนียงภาษา 12 ชาติเรียกว่าออกภาษา ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก เรื่องที่เล่นได้แก่ ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ
ผู้ให้กำเนิดคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล )
ละครดึกดำบรรพ์ เป็นชื่อของโรงละครเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งผู้คิดริเริ่มละครนี้คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ท่านได้นำการแสดง โอเปร่า มาปรับกับละครใน ทำให้ละครชนิดนี้สวยงามมาก ทั้ง รำงาม ตัวละครงาม บทกลอนไพเราะ ฉากวิจิตรตระการตา
ที่สำคัญที่สุด ผู้แสดง ร้องเอง รำเอง เรื่องที่เล่น รามเกียรติ์ตอนศูรปนักขาตีสีดา คาวีตอนเผาพระขรรค์ ตอนชุบตัว กรุงพาณชมทวีป เป็นต้น
การแต่งกายตามอย่างละครใน เครื่องดนตรีเลือกเสียงทุ้ม เรียกกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ละครเสภา เกิดจากการเล่านิทาน วิธีเล่นเหมือนละครนอก และในสมัยรัชกาลที่4 เกิดเสภาทรงเครื่อง เสภารำและเสภาตลกเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องดนตรี ชิ้นสำคัญคือ กรับ เรื่องที่นิยมคือ ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง สามัคคีเสวก นิทราชาคริต ในรัขกาลที่ 5 เป็นต้น
1. หนังใหญ่ 2. โขนกลางแปลง 3. อินทราภิเษก 4. ยืนเครื่อง 5. พระราม
6. วงปี่พาทย์ 7. โขนหน้าจอ 8. รามเกียรติ์ 9. พากย์-เจรจา 10. หัวโขน
11. หนุมาน 12. โขนฉาก 13. อินเดีย 14. รัชกาลที่2 15. สวมศรีษะจำลอง
16. ชักนาคดึกดำบรรพ์ 17. กระบี่-กระบอง 18. รัชกาลที่2 19. พากย์โอ้ 20. ภาษาท่าทาง
สรุปเรื่องโขนก่อนสอบปลายภาคปี 2556
โขน มีกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะเด่นคือ สวมศีรษะจำลองครอบหน้าเรียกว่าหัวโขน
ดำเนินเรื่องโดยการพากย์และเจรจา ตัวละครไม่ต้องพุดเองจึงดูคล้ายละครใบ้
ลักษณะการแต่งกาย เรียกว่ายืนเครื่องเหมื่อนเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์
ประเภทของโขนดังนี้
โขนกลางแปลง เล่นกลางแจ้ง ใช้พื้นที่มาก
โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก มีราวพาดให้ผู้แสดงนั่ง
โขนโรงใน ได้แบบอย่างละครใน มุ่งสวยงามประณีต
โขนหน้าจอ เล่นหน้าจอหนังใหญ่
โขนฉาก วิจิตรสวยงามมากที่สุด เกิดในสมัยรัชกาลที่5
กำเนิดโขน โขนมาจากการนำศิลปะการแสดง 3 แบบ มาผสมผสานกันได้แก่
1. ชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพิธีอินทราภิเษก ได้แบบการแต่งกาย
2. การแสดงหนังใหญ่ โขนได้นำวิธีการพากย์-เจรจา การบรรเลงเพลงปี่พาทย์ ตลอดจนท่าเต้นของผู้เชิดหนัง ที่ต้องยกแข้งยกขา
3.กระบี่กระบอง โดยนำเอาศิลปะการต่อสู้มาเป็นแบบอย่างในการแสดงโขน
ลักษณะคำประพันธ์ในการแสดงโขน ใช้กลอนแปดหรือกลอนบทละคร ร่ายยาว คำพากย์ใช้กาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง16 เช่นตอนพระรามคร่ำครวญถึงนางสีดา จะใช้พากย์โอ้ พาลีต่อว่าต่อขานสุครีพ ใช้ พากย์บรรยาย
ชนิดของบทพากย์โขนแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.พากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา
2.พากย์รถ
3.พากย์ชมดง
4.พากย์โอ้
5.พากย์บรรยายหรือรำพัน
6.พากย์เบ็ดเตล็ด ใช้ในโอกาสทั่วๆไป อันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เข้าประเภทใด
โอกาสที่แสดงโขน
นิยมมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ เพียงเรื่องเดียว ในบทพระราชนิพันธ์ในรัชกาลที่2 เพราะเหมาะกับการแสดง แต่รามเกียรติ์ของรัชกาลที่1 เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด แต่เยิ่นเย้อไม่เหมาะกับการแสดง
ทั้งนี้รามยณะของอินเดียเป็นต้นกำเนิดมีบทบาทและเป็นแบบอย่างมากที่สุด
เครื่องดนตรี ใช้วงปี่พาทย์
อาวุธของพระนารายณ์มี ตรี จักร สังข์ คธา ส่วน หนุมานมี ตรีเพชร
* ศึกษาหลังจากจบหมายลข 415 แล้วค่ะ *
ทบทวน เรื่อง ละครไทย ดังนี้
สมัยอยุธยามีละครเกิดขึ้น 3 ชนิด คือ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และเป็นรากฐานความเจริญของละครไทยในสมัยต่อมา
ละครโนห์ราชาตรี มีกำเนิดทางภาคใต้ก่อน แล้วไปเจริญรุ่งเรืองที่กรุงศรีอยุธยา มีผู้แสดง 3 ตัวคือ นายโรงหรือพระเอก ตัวตลก และนางเอก นิยมเล่นเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ตัวตลก คือ พรานบุญ และเรื่อง พระรถเสน หรือพระรถ-เมรี ตัวตลกคือ ม้า ผู้แสดงเป็นผู้ชายและไม่สวมเสื้อในการแสดง
ละครนอก เป็นละครชาวบ้าน เล่นนอกวัง ผผู้ชายแสดงล้วน การแต่งกายยืนเครื่อง การแสดงไม่เคร่งครัดแบบแผน คือ กษัตริย์หรือมเหสี สามารถเล่นตลกได้ เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เว้น 3 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท เรื่องที่นิยมเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 คือ สังข์ทอง ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์สินไชย ไชยเชษฐ ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ ทำนองได้แก่ ร่ายนอก โอ้ปี่นอก ชมดงนอก ฯลฯ
ละครใน เล่นในวัง เป็นละครผู้หญิงของกษัตริย์แต่ผู้เดียว ผู้ใดจะทำเทียมไม่ได้ การแต่งกายยืนเครื่อง เคร่งครัดแบบแผน
การแสดง กษัตริย์หรือมเหสี จะเล่นตลกกับผู้อื่นไม่ได้ เรื่องที่แสดง มีเพียง 3 เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท บรรเลงด้วยดนตรีปี่พาทย์
ละครแบบปรับปรุงใหม่ ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครเสภา
ละครพันทาง เป็นละครที่ผสมกันหลายเชื้อชาติ มีการพูดสำเนียงภาษา 12 ชาติเรียกว่าออกภาษา ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก เรื่องที่เล่นได้แก่ ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ
ผู้ให้กำเนิดคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล )
ละครดึกดำบรรพ์ เป็นชื่อของโรงละครเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งผู้คิดริเริ่มละครนี้คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ท่านได้นำการแสดง โอเปร่า มาปรับกับละครใน ทำให้ละครชนิดนี้สวยงามมาก ทั้ง รำงาม ตัวละครงาม บทกลอนไพเราะ ฉากวิจิตรตระการตา
ที่สำคัญที่สุด ผู้แสดง ร้องเอง รำเอง เรื่องที่เล่น รามเกียรติ์ตอนศูรปนักขาตีสีดา คาวีตอนเผาพระขรรค์ ตอนชุบตัว กรุงพาณชมทวีป เป็นต้น
การแต่งกายตามอย่างละครใน เครื่องดนตรีเลือกเสียงทุ้ม เรียกกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ละครเสภา เกิดจากการเล่านิทาน วิธีเล่นเหมือนละครนอก และในสมัยรัชกาลที่4 เกิดเสภาทรงเครื่อง เสภารำและเสภาตลกเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องดนตรี ชิ้นสำคัญคือ กรับ เรื่องที่นิยมคือ ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง สามัคคีเสวก นิทราชาคริต ในรัขกาลที่ 5 เป็นต้น
บทเรียนเรื่องโขน
โขน ความหมาย คือการแสดงท่ารำเต้นออกท่าเข้ากับดนตรี โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงมีลักษณะเด่นคือ สวมศีรษะจำลองครอบหน้าเรียกว่าหัวโขน ดำเนินเรื่องโดยการพากย์และเจรจา ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบยืนเครื่องและตามลักษณะของ
ละคร ตัวละครในการแสดงโขนได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง และตัวละครที่เป็นสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กวาง นก ยุงม้า ช้าง ฯลฯ
กำเนิดโขน โขนมาจากการนำศิลปะการแสดง 3 แบบ มาผสมผสานกันได้แก่
1. การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพิธีอินทราภิเษก ได้แก่ การแสดงที่แบ่งผู้แสดงออกเป็นฝ่ายอสูรกับฝ่ายเทวดาต่อสู้กันและผลสุดท้ายฝ่ายอสูรก็พ่ายแพ้ โขนได้นำวิธีการแต่งกายมาใช้ในการแสดงโดยแยกออกเป็นฝ่ายเทวดาและฝ่ายยักษ์หรืออสูร
2. โขนมาจากการแสดงหนังใหญ่ หนังใหญ่เป็นศิลปะแห่งการพากย์-เจรจา รวมทั้งท่าเต้นของคนเชิดหนัง โขนได้นำวิธีการพากย์-เจรจา การบรรเลงเพลงปี่พาทย์ ตลอดจนท่าเต้นของผู้เชิดหนัง มาใช้ในการแสดง
3.โขน มาจากศิลปะการต่อสู้กระบี่กระบอง โดยนำเอาศิลปะการต่อสู้มาเป็นแบบอย่างในการแสดงโขน
ประเภทของโขน
โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก โขนโรงใน โขนหน้าจอและโขนฉาก
1. โขนกลางแปลง คือการแสดงโขนบนพื้นสนาม ไม่มีเวทีเหมาะกับการแสดงที่ใช้บริเวณกว้างๆใช้ธรรมชาติเป็นฉาก บรรยายเรื่องด้วยการพากย์-เจรจา ไม่มีขับร้อง ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ซึ่งประกอบด้วย ปี่ ระนาดเอก ฆ้องววง ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง การแสดงโขนกลางแปลงใช้ดนตรี 2 วง อยู่ทางซ้ายและขวาของสนาม ผลัดกันบรรเลง เรื่องที่แสดงคือเรื่อง รามเกียรติ์นิยมนำตอนยกทัพจับศึกมาแสดง
2. โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก คือการยกโขนกลางแปลงมาใช้ในเวทีที่มีอาณาบริเวณจำกัด มีราวพาดให้ตัวละครนั่งแทนเตียง มีฉากประกอบ มีร้านเล็กๆยกพื้นขึ้นสูงกว่าเวทีอยู่ข้างซ้ายและขวาของเวทีสำหรับตั้งวงปี่พาทย์ 2 วง การแสดงใช้บทพากย์และเจรจาเหมือนเดิม บางครั้งเล่นเพิ่มเติมโดยแสดงเกริ่นไว้ แล้วนอนค้างที่โรงโขน 1 คืน วันรุ่งขึ้นจึงแสดง เรียกกันว่าโขนนอนโรง
3. โขนโรงใน ปรับปรุงตามอย่างละครใน มีวิธีการเล่น บทพากย์-เจรจา การแต่งกาย ศิลปการร่ายรำประณีตงดงาม เพิ่มเพลงร้องไพเราะ มีระบำรำฟ้อนแบบละครในแทรกไว้ด้วย มีเตียงให้ผู้แสดงนั่งแทนราว ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ 2 วงตั้งอยู่ด้านซ้ายและขวาของเวที และยกพื้นของเวทีสำหรับบรรเลงดนตรีให้ได้ระดับกับเวทีแสดง
4. โขนหน้าจอ คือการแสดงที่เปลี่ยนลักษณะโรงแสดงโขนไปเป็นโรงแสดงหนังใหญ่ ลดวงปี่พาทย์บรรเลงลงเหลือเพียงวงเดียวและตั้งอยู่หน้าโรง หันไปทางผู้แสดงเพื่อสะดวกในการบอกหน้าพาทย์ หรือบอกปี่พาทย์ให้บรรเลงรับอย่างหนังใหญ่
5. โขนฉาก คือการแสดงโขนที่สร้างฉากประกอบเนื้อเรื่อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ผู้ริเริ่มคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ วิธีแสดง แบ่งฉากเล่นเหมือนละครดึกดำบรรพ์ สร้งฉากวิจิตรงดงามตระการตา แต่วิธีแสดงเป็นแบบโขนโรงใน มีบทร้อง มีกระบวนท่าเต้น มีการบรรเลงหน้าพาทย์ตามแบบละครใน
ลักษณะคำประพันธ์ในการแสดงโขน ใช้กลอนแปดหรือกลอนบทละคร ร่ายยาว คำพากย์ใช้กาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง16 เล่นเรื่องรามเกียรติ์ นิยมบทพระราชนิพันธ์ในรัชกาลที่2 เพราะเหมาะกับการแสดงโขนที่สุด
ชนิดของบทพากย์โขนแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.พากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา
2.พากย์รถ
3.พากย์ชมดง
4.พากย์โอ้
5.พากย์บรรยายหรือรำพัน
6.พากย์เบ็ดเตล็ด ใช้ในโอกาสทั่วๆไป อันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เข้าประเภทใด
โอกาสที่แสดงโขน โขนแสดงได้หลายโอกาสดังนี้
1. แสดงในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและงานหลวง
2. แสดงในงานมงคลสมโภช
3. แสดงในงานศพเพื่อเป็นมหรสพบูชา
4. แสดงเพื่อความบันเทิงของพระมหากษัตริย์และบำรุงศิลปะ
5. แสดงเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะหรือแขกบ้านแขกเมือง
6. สืบสานมรดกของชาติและเพื่อความรื่นเริงบันเทิงใจ
เรื่องที่ใช้แสดงโขน คือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเรื่องรามยณะของอินเดีย นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ในบทพระราชนิพนธ์ ของรัชกาลที่2 เพราะกระชับรวดเร็วไม่เยิ่นเย้อ
โขน พระรามรบกับทศกัณฐ์ |
โขน เรื่อง รามเกียรติ์ |
การแต่งกายยืนเครื่อง ตัวพระ ตัวนาง |
หนึ่งในโลก Neung Nai Lok (On Air 2006) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
Song for King Bhumibol - The One and Only หนึ่งในโลก (On Air 2006)
หนึ่งในโลก
หนึ่งในใจ ของไทยประชา หนึ่งใต้ฟ้า ของเมืองสยาม
หนึ่งด้วยเดชะบารมี ลือนาม ปกเขตคาม ทั่วไทยร่มเย็น
หนึ่งในรัฐ นักพัฒนา หนึ่งราชา ที่โลกได้เห็น
หนึ่งด้วยคุณธรรมที่ทรง บำเพ็ญ ดับลำเค็ญ ของปวงประชา
องค์พระ มหากษัตริย์ ประวัติศาสตร์
ที่ครองราชย์ นานเนา ในหล้า ทรงเป็นเอกองค์ ในพสุธา
เกริกก้องฟ้า พระบารมี อนันต์ หนึ่งในแสน มิแม้นมิปาน
หนึ่งในล้าน มิเทียมเทียบทัน หนึ่งในโลก หนึ่งเดียว
หนึ่งเดียว เท่านั้น มหาราชัน องค์ภูมิพลฯ
องค์พระ มหากษัตริย์ ประวัติศาสตร์
ที่ครองราชย์ นานเนา ในหล้า ทรงเป็นเอกองค์ ในพสุธา
เกริกก้องฟ้า พระบารมี อนันต์ หนึ่งในแสน มิแม้นมิปาน
หนึ่งในล้าน มิเทียมเทียบทัน หนึ่งในโลก หนึ่งเดียว
องค์ภูมิพลฯ ขอจงทรงพระเจริญ
The one and only
In our hearts that’s where he stay
Night and day and come what may
He’s the light that shines acoss the skies
Happiness of all the thais
He’s the leader who provides (ผู้ให้)
Thailand sings of him with pride (ความภาคภูมิใจ)
Makes a difference the world can see
There for us , for you and me
The greatest king of king in all ourtimes
History beholds his reign (ครองราชย์)
Havenly(ล้ำเลิศ) gift to all mankind (มนุษยชาติ)
As his fame forever will remain (ยังคง)
He’s the sun, the moon and star
To his people, near and far
Millions of other cannot compare (เปรียบเทียบ)
Our greatest king , Our greatest king “king Bhumibol”
สุราษฎร์ธานีแผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
เพลงแผ่นดินทอง แผ่นดินธรรม
* สุราษฎร์ธานีเมืองคนดีในแผ่นดินทอง สินทรัพย์เนืองนองใต้น้ำในดิน
ปวงประชาขยันทำมาหากิน พัฒนาท้องถิ่นเป็นแผ่นดินทองและแผ่นดินธรรม*
บ้านเมืองสวยงามทั่วเขตคามรุ่งเรืองรื่นรมย์ มีความรักสามัคคีเกลียวกลม
เหล่าราษฎร์สุขสมสุดแสนเสรี บ้านเรานี้ยังมีพงป่าทุ่งไร่นาเรือกสวนล้วนมี
เป็นแดนธรรมนำธรรมะประเสริฐศรี สุราษฎร์ธานีจึงมีคนดีอยู่เป็นอาจินต์
( รับสร้อย *....* )
ฟ้าไสวคือน้ำใจใสสะอาด ของชาวสุราษฎร์ธานีทั้งหลาย
ดังธารน้ำตาปีหลิอเลี้ยงชีวีไม่รู้วาย ดุจดังความหมายตาปีว่านิรันดร์กาล
ท้องทะเลสมบูรณ์กุ้งหอยปูปลา บนพื้นหล้าพืชพรรณธัญญาหาร
ไพร่ฟ้าหน้าใสหัวใจเบิกบาน เกษมสำราญด้วยเพราะพระบารมี
( รับสร้อย *....* )
แผ่นดินนี้คือไทย - แฮมเมอร์
แผ่นดินนี้คือไทย – แฮมเมอร์
ฮา ฮา ฮา......แผ่นดินนี้ชื่อว่าไทยผองชาวไทยเป็นเจ้าของ
อยู่กันอย่างพี่น้องร่วมปกป้องทรัพย์สินไทย
* เมืองไทยแสนดีมีเสรีมีประชาธิปไตย
องค์กษัตริย์เกรียงไกรร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียว *
สุดยอดเกษตรกรธงไตรรงค์พริ้วอ่อนไสว
ผู้คนล้วนมีน้ำใจบรรพบุรุษยิ่งใหญ่ก้องเกรียงไกรนานมา
แผ่นดินนี้คือไทยลูกหลานไทยต้องรักษา
ให้อยู่ชั่วนาตาปีหากใครคิดย่ำยี เลือดไทยยอมพลีเพื่อแผ่นดิน
* เมืองไทยแสนดีมีเสรีมีประชาธิปไตย
องค์กษัตริย์เกรียงไกรร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียว *
ฮา ฮา ฮา...... ดนตรีรับ
แผ่นดินนี้ชื่อว่าไทยผองชาวไทยเป็นเจ้าของ
อยู่กันอย่างพี่น้องร่วมปกป้องทรัพย์สินไทย
* เมืองไทยแสนดีมีเสรีมีประชาธิปไตย
องค์กษัตริย์เกรียงไกรร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียว *
สุดยอดเกษตรกรธงไตรรงค์พริ้วอ่อนไสว
ผู้คนล้วนมีน้ำใจบรรพบุรุษยิ่งใหญ่ก้องเกรียงไกรนานมา
แผ่นดินนี้คือไทยลูกหลานไทยต้องรักษา
ให้อยู่ชั่วนาตาปีหากใครคิดย่ำยี เลือดไทยยอมพลีเพื่อแผ่นดิน
* เมืองไทยแสนดีมีเสรีมีประชาธิปไตย
องค์กษัตริย์เกรียงไกรร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียว *
ฮา ฮา ฮา......ฮา ฮา ฮา...