วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

418 หน่วยที่3 ละครไทย-ละครพื้นบ้าน


          
แบบทดสอบก่อนเรียน ละครไทยและละครพื้นบ้าน

1.ยุคทองแห่งวรรณคดีการละครตรงกับรัชกาลใด
                ก. รัชกาลที่ 2
                ข. รัชกาลที่ 4
                 ค. รัชกาลที่ 5
                 ง. รัชกาลที่ 6
2.ละครที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกคือละครชนิดใด
           ก. ละครชาตรี
           ข. ละครชาวบ้าน
           ค. ละครนอก
           ง. ละครใน
3.ละครชนิดใดที่ผู้ชายแสดงล้วน
               ก. ละครชาตรี
               ข. ละครนอก
                ค. ละครแก้บน
                ง. ถูกทุกข้อ
4. .นายโรงในที่นี้หมายถึงอะไร
           ก. พระเอก
           ข. เจ้าของโรงละคร
           ค. หัวหน้าหมู่บ้าน
           ง. ข้อ ก และ ข ถูก

5.รัชกาลใดที่อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละครได้
            ก. รัชกาลที่ 2
                  ข. รัชกาลที่ 4
                  ค. รัชกาลที่ 5
                  ง. รัชกาลที่  6

6.การเล่นแก้บนควรใช้ละครชนิดใด
           ก. ละครนอก
           ข. ละครชาวบ้าน
           ค. ละครชาตรี
           ง. ละครผู้หญิง
7.รากฐานของละครไทยมีมาแต่สมัยใด
          ก. สุโขทัย
          ข.  อยุธยา
          ค. รัตนโกสินทร์
          ง. ไม่ปรากฏหลักฐาน    

8.ฤาษีแปลงสารอยู่ในละครเรื่องใด
              ก. พระสุธน - มโนราห์
              ข.  พระรถ - เมรี
              ค.  พระรถโยนสาร
              ง.   ถูกทุกข้อ

9. รจนาเสี่ยงพวงมาลัย  สัมพันธ์กับข้อใด
           ก. จันทโครพ
           ข. อุณรุท
           ค. ไกรทอง
           ง. สังข์ทอง
10.โอเปร่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับละครชนิดใด
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
               ค. ละครเสภา
               ง. ละครเวที        
11. ร่ายใน เป็นทำนองเพลงที่ใช้ในละครชนิดใด
             ก. ละครนอก
            ข. ละครเสภา
            ค. ละครชาตรี
            ง. ละครใน
12.เสภาทรงเครื่องเกิดขึ้นในรัชกาลใด
             ก. รัชกาลที่ 2
             ข. รัชกาลที่ 4
              ค. รัชกาลที่ 5
              ง. รัชกาลที่  6
13.  ไม่เคร่งครัดแบบแผน หมายถึงอะไร
           ก. ด้านการแต่งกาย
           ข. ด้านการร่ายรำ
           ค. กษัตริย์เล่นตลกได้
           ง. กษัตริย์เล่นตลกไม่ได้
14. เสภารำเกิดในสมัยรัชกาลใด
             ก. รัชกาลที่ 2
             ข. รัชกาลที่ 4
              ค. รัชกาลที่ 5
              ง. รัชกาลที่  6
15.ข้อใดสัมพันธ์กับละครนอก
           ก. เน้นตลกสนุกบางครั้งหยาบโลน
           ข. เน้นร่ายรำไม่เคร่งครัดแบบแผน
           ค. ผู้แสดงเป็นหญิงหรือชายก็ได้
           ง. ไม่เน้นร่ายรำแต่เคร่งครัดแบบแผน
16. เรื่องใดนิยมเล่นละครเสภา
           ก.  จันทโครพ
           ข.  พิกุลทอง
           ค. ไกรทอง
           ง.  สังข์ทอง
17.ละครผู้หญิงหมายถึงอะไร
            ก. ละครใน      
            ข. ละครนอก
            ค. ละครชาวบ้าน 
           ง. ละครนอกวัง
18. . ละครนอกวิวัฒนาการมาจากละครชนิดใด
              ก. ละครเสภา        
              ข. เพลงบอก
               ค. ละครชาตรี     
               ง. ละครนอกวัง
19.ละครชนิดใดที่มีความประณีตในการใช้ถ้อยคำ
             ก. ละครนอก
            ข. ละครชาวบ้าน
            ค. ละครชาตรี
            ง. ละครใน
20.ละครหลวงวิจิตรวาทการมีลักษณะอย่างไร
             ก. เน้นปลุกใจ
             ข. เน้นร่ายรำ
             ค. เน้นตลก
             ง. ถูกทุกข้อ

21. . ราชาธิราช  เป็นละครชนิดใด
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
              ค. ละครเสภา
              ง. ละครพูดคำฉันท์       
22. . เรื่องใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับละครดึกดำบรรพ์
               ก. จันทกินรี
               ข. จันทโครพ
               ค. คาวี
               ง. รามเกียรติ์
23.ลักษณะเด่นของละครดึกดำบรรพ์คืออะไร
           ก.รำงาม  กลอนไพเราะ
          ข. ตัวละครร้องเองรำเอง
          ค. ฉากวิจิตรตระการตา
          ง. ไม่มีข้อผิด
24.ละครนอกที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเรื่องใด
           ก. จันทโครพ
           ข. สังข์ทอง*
           ค. ไกรทอง
           ง. อุณรุท
25.กรับ  เป็นเครื่องดนตรีประกอบของละครแบบใด
              ก. ละครเสภา
              ข. ละครพูด       
              ค. ละครดึกดำบรรพ์
              ง. ละครพันทาง
26.ข้อใดหมายถึงละครที่มีหลายเชื้อชาติ (12 ภาษา)
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
              ค. ละครเสภา
              ง. ละครนอก
27.  เรื่องใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับละครดึกดำบรรพ์
               ก. จันทกินรี
               ข. จันทโครพ
               ค. คาวี
               ง. รามเกียรติ์
28.ผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือใคร
              ก. เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
              ข. เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
              ค. เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง*
              ง. พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
29.  รากฐานของละครพันทางมาจากละครชนิดใด
              ก. ละครชาตรี
              ข. ละครใน
              ค. ละครนอก

              ง.  การเล่านิทาน
30.ละครดึกดำบรรพ์คืออะไร
              ก. ละครที่มีมาแต่โบราณ
              ข. ละครที่รับแบบอย่างจากอินเดีย
              ค. ชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ
              ง.ชื่อโรงละครของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ

31.บุคคลใดเลือกชมละครได้เหมาะสม
                ก. สาธิตเลือกชมละครแนวอนาจาร
                ข. วสันต์เลือกชมละครเสียดสีสังคม
                ค. สมศรีเลือกชมละครที่มีแง่คิด
                ง.วิชัยเลือกชมละครที่เน้นความรุนแรง
32.ประโยชน์ของละครที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันตรงกับข้อใด?
              ก.ฝึกการเคลื่อนไหว
              ข. ฝึกการพูด
              ค. ฝึกการสังเกต
              ง. ฝึกควบคุมอารมณ์ 
33.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญของละคร
              ก.แนวคิดที่ได้จากละคร
             ข. ความยาวของบทละคร
              ค. ลักษณะของตัวละคร
              ง. บรรยากาศในละคร
34.เหตุใดผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายละครจึงต้องประสานสัมพันธ์กับทีมงานละคร
             ก.เพื่อให้การแสดงละครตระการตา
             ข. เพื่อความสำเร็จของการสร้างงานละคร
             เพื่อสร้างงานละครให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
             ง. เพื่อให้ผู้ชมละครสนุกสนาน ชื่นชอบการแสดงละคร
35.เหตุการณ์บ้านเมืองที่คล้ายคลึงบทละครเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตรงกับข้อใด
                ก. ภาวะโลกร้อน
                ข. ภัยพิบัติ
                 ค.การแตกความสามัคคี
                 ง. พลังไทยเข้มแข็ง
36.มัทธนะพาธา เกี่ยวข้องกับผู้ใด
              ก. รัชกาลที่2
              ข.  รัชกาลที่ 5
              ค. รัชกาลที่ 6
              ง. เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
37.บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าให้คติสอนใจในเรื่องใด
                ก.  รักนี้มีทุกข์
                ข.   ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
                 ค.  น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
                 ง.   น้ำขึ้นให้รีบตัก
38.นักเรียนไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างจันทโครพในเรื่องใด
             ก. ว่านอนสอนง่าย
             ข. ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
              ค.  เคร่งครัดเกินไป
              ง. รักระแวง
39.ละครโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อเยาวชนด้านใดมากที่สุด
                  ก. แฟชั่น
                   ข.ความรัก
                   ค.การเงิน
                   ง. การเลียนแบบ
40.รัชกาลใดที่ละครสมัยใหม่เจริญสูงสุด
            ก. รัชกาลที่ 5
             ข.  รัชกาลที่ 9
             ค. รัชกาลที่ 6
             ง. รัชกาลที่ 7


จงตอบคำถามเกี่ยวกับละครพื้นบ้านจำนวน 10 ข้อ
                                                                         
       1.เรื่องใดที่เกี่ยวพันกับจระเข้      ตอบ............                                                                              
2. นางโมรา    อยู่ในนิทานพื้นบ้านเรื่องใด     ตอบ......                                                                
  3. นางเอกมีอีโต้วิเศษ        ตอบ......                                                                                          
 4.  ดาบฟ้าฟื้น  ม้าสีหมอกและกุมารทอง อยู่ในเรื่องใด      ตอบ...........                                           
5.  นางเอกอยู่ในร่างคางคก       ตอบ............                                                                               6.นางเอกผมหอม แอบนกยักษ์อยู่ในกลอง   ตอบ..........                                                              
 7. นางเอกร้องไห้มีดอกพิกุลทองร่วงลงมา     ตอบ...                                                                     8.นางเอกมีกลิ่นกายหอมมาก                ตอบ................                                                               9.พระเอกถือไม้เท้าวิเศษแล้วไปชุบตัวในบ่อเงินบ่อทอง  ตอบ......                                                  10.นางเอกมีนางวิฬาร์แมวพูดได้เป็นผู้ช่วยเหลือตลอดมา         ตอบ..........

.................................................................................................................. ........................................................................................................................................................
             
 แบบทดสอบการอ่านนิทานพื้นบ้านของไทย
คำชี้แจงให้อ่านนิทานตามที่กำหนดแล้วตอบคำถามสั้นๆให้ได้ใจความ
1.รถเสนสามารถหาอาหารมาเลี้ยงดูแม่กับป้าได้โดยวิธีใด...........................
2.รถเสนไปเอาสิ่งใดที่เมืองยักษ์............................................
3.บ่วงที่พรานบุญจับนางมโนราห์มีชื่อว่าอะไร...................................
4.สระใดที่นางกินรีทั้งเจ็ด ลงเล่นน้ำ.................................................
5.เทพสามฤดูมีเทพองค์ใดบ้าง..........................................................
6.คุณธรรมในข้อใดที่ช่วยส่งเสริมให้พิกุลพบกับความสมหวัง.........................
7.สื่อรักของพระปิ่นทองกับนางแก้ว คือสิ่งใด.........................................
8.นางแก้ว มีของวิเศษสองอย่างคืออะไรบ้าง..........................................
9.จงบอกชื่อนางจระเข้ ทั้งสองตัว............................................................
10.หอกอาคมของไกรทองคือหอกชนิดใด..................................................
11.ใครเป็นผูใช้นิ้วเพชรปราบยักษ์ในเรื่อง ดินน้ำลมไฟหรือจำปา 4 ต้น.................................
12.หัวใจของหลวิชัยคาวีถอดไว้ที่ไหน...............................
13 นางจันทร์สุดาจากเรื่องหลวิชัยคาวี  มีลักษณะพิเศษอย่างไร................................
14.จากเรื่องไชยเชษฐ   ผู้ใดที่คอยติดตามช่วยเหลือนางสุวิญชาอย่างใกล้ชิด.........................
15.โอรสของพระไชยเชษฐ์คือใคร.........................................
16.จากเรื่องอุณรุท  เทพองค์ใดที่อุ้มพระอุณรุทไปไว้ในห้องนางอุษา..................................
17.พี่เลี้ยงนางอุษาที่มีความสามารถด้านการวาดภาพคือใคร..........................................
18.เรื่องมณีพิชัยนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร.....................................................
19. จากเรื่องสังข์สินไชย   อาวุธวิเศษจากเรื่องนี้คือสิงใด......................................
20.ใครคือทาสรับใช้ของโสนน้อยเรือนงาม.........................................................
...................................................................................................................................................

สรุปเรื่องละครภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562
 สมัยอยุธยามีละครเกิดขึ้น 3 ชนิด คือ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และเป็นรากฐานความเจริญของละครไทยในสมัยต่อมา

ละครโนห์ราชาตรี มีกำเนิดทางภาคใต้ก่อน แล้วไปเจริญรุ่งเรืองที่กรุงศรีอยุธยา มีผู้แสดง 3 ตัวคือ นายโรงหรือพระเอก ตัวตลก และนางเอก นิยมเล่นเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ตัวตลก คือ พรานบุญ และเรื่อง พระรถเสน หรือพระรถ-เมรี ตัวตลกคือ ม้า ผู้แสดงเป็นผู้ชายและไม่สวมเสื้อในการแสดง

ละครนอก เป็นละครชาวบ้าน เล่นนอกวัง ผู้ชายแสดงล้วน การแต่งกายยืนเครื่อง การแสดงไม่เคร่งครัดแบบแผน คือ กษัตริย์หรือมเหสี สามารถเล่นตลกได้ เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เว้น 3 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท เรื่องที่นิยมเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 คือ สังข์ทอง ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์สินไชย ไชยเชษฐ ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ ทำนองได้แก่ ร่ายนอก โอ้ปี่นอก ชมดงนอก ฯลฯ

ละครใน เล่นในวัง เป็นละครผู้หญิงของกษัตริย์แต่ผู้เดียว ผู้ใดจะทำเทียมไม่ได้ การแต่งกายยืนเครื่อง เคร่งครัดแบบแผน
การแสดง กษัตริย์หรือมเหสี จะเล่นตลกกับผู้อื่นไม่ได้ เรื่องที่แสดง มีเพียง 3 เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท บรรเลงด้วยดนตรีปี่พาทย์

ละครแบบปรับปรุงใหม่ ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครเสภา

ละครพันทาง เป็นละครที่ผสมกันหลายเชื้อชาติ มีการพูดสำเนียงภาษา 12 ชาติเรียกว่าออกภาษา ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก เรื่องที่เล่นได้แก่ ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ
ผู้ให้กำเนิดคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล )

ละครดึกดำบรรพ์ เป็นชื่อของโรงละครเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งผู้คิดริเริ่มละครนี้คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ท่านได้นำการแสดง โอเปร่า มาปรับกับละครใน ทำให้ละครชนิดนี้สวยงามมาก ทั้ง รำงาม ตัวละครงาม บทกลอนไพเราะ ฉากวิจิตรตระการตา
ที่สำคัญที่สุด ผู้แสดง ร้องเอง รำเอง เรื่องที่เล่น รามเกียรติ์ตอนศูรปนักขาตีสีดา คาวีตอนเผาพระขรรค์ ตอนชุบตัว กรุงพาณชมทวีป เป็นต้น
การแต่งกายตามอย่างละครใน เครื่องดนตรีเลือกเสียงทุ้ม เรียกกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ละครเสภา เกิดจากการเล่านิทาน วิธีเล่นเหมือนละครนอก และในสมัยรัชกาลที่4 เกิดเสภาทรงเครื่อง เสภารำและเสภาตลกเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องดนตรี ชิ้นสำคัญคือ กรับ เรื่องที่นิยมคือ ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง สามัคคีเสวก นิทราชาคริต ในรัขกาลที่ 5 เป็นต้น
    ........................................................................
หน่วยที่3  เรื่องละครไทยและละครพื้นบ้าน  หน้า 142

       ละครพื้นบ้าน    เป็นการแสดงละคร ที่มาจากนิทานชาดกหือนิทานท้องถิ่น   ซึ่งสอดแทรกข้อคิดต่างๆไว้มากมาย เช่นความกตัญญู  ความซื่อสัตย์  ความเมตตาฯลฯ  สะท้อนให้เห็นขนบประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในสังคม รวมถึงการปกครองและการละเล่นของไทย  รูปแบบจะคล้ายละครนอกและละครชาตรี  มีการใช้เวทมนตร์คาถาและอำนาจศักดิ์สิทธิ์  ปัจจุบันได้วิวัฒนาการให้ทันสมัยด้วยเทคโนโยยี แต่เนื้อหายังมีเค้าโครงเดิม  เช่น เรื่อง พระสุธน – มโนราห์ ปลาบู่ทอง  นางสิบสอง  สังข์ทอง  จำปาสี่ต้น  อุทัยเทวี  พิกุลทอง  ไกรทอง  แก้วหน้าม้า  ไชยเชษฐ์  ขุนช้างขุนแผน สิงหไตรภพ  โสนน้อยเรือนงาม              ตาม่องล่าย  นางเลือดขาว ตำนานผาแดงนางไอ่นางจามเทวี             นางโภควดี  พระธาตุดอยตุง ตำนานหลวงพ่อทวด  แม่นากพระโขนง  ศรีธนญชัย เจ้าหลวงคำแดง       เจ้าแม่สองนาง วันคาร  อุรังคธาตุ   พระร่วง ฯลฯ

        ทั้งละครไทยและละครพื้นบ้านถือเป็นมรดกของชาติ ที่สร้างความสุขความเพลิดเพลินให้ข้อคิด  สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้


ละครรำในสมัยกรุงศรีอยุธยามีต้นกำเนิดมาจากการเล่นโนราและละครชาตรีที่นิยมกันในภาคใต้ของประเทศไทย  ขุนศรีศรัทธาเป็นผู้ให้กำเนิดละครชาตรีที่ปักษ์ใต้และเป็นต้นกำเนิดละครรำในกรุงศรีอยุธยา   ละครรำสมัยกรุงศรีอยุธยามี ๓ อย่าง คือ  ละครชาตรี  ละครนอก  และละครใน    สรุปว่ารากฐานละครไทยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
ในสมัยรัชกาลที่ 1 เกิดรามเกียรติฉบับสมบูรณ์ที่สุด แต่ไม่เหมาะกับการแสดงละคร และฉบับที่เหมาะกับการแสดงละคร คือสมัยรัชกาลที่ ซึ่งบทละครมีความกระชับไม่เยิ่นเย้อ  ในสมัยนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีการละคร  เช่นเรื่องอิเหนา  เป็นยอดปห่งบทละครรำเป็นต้น  ครั้นในสมัยรัชกาลที่6   พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการละครสมัยใหม่  หรือ บิดาแห่งละครพูดเช่น เรื่องศกุนตลา ท้าวแสนปมฯลฯสมัยนี้วิทยาการต่างๆด้านการละครมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด 
 สมัยรัชกาลที่ ๗ มีละครแบบใหม่เกิดขึ้นคือละครหลวงวิจิตรวาทการ  ซึ่งเนื้อหาจะนำมาจากประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง บทละครของท่านจะมีทั้งรัก รบ อารมณ์สะเทือนใจ  เน้น
ความรักชาติ เป็นละครที่มีผู้นิยมมาก 
สรุป ความเป็นมาของละครแบบดั้งเดิม
         
         ละครชาตรีหรือโนราห์ชาตรี   มีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา    มีผู้แสดงเป็นหลัก ๓ คน คือ ตัวนายโรง ตัวนาง และตัวตลก  เ ป็นละครประเภทเร่ร่อนไปตามหัวเมืองต่างๆ จึงจำกัดตัวผู้แสดง เพื่อความสะดวกในการเดินทาง นิยมเล่นแก้บน เรื่องที่แสดง  พระสุธนมโนราห์    ตัวตลก คือ พรานบุญ และ้เรื่อง รถเสน หรือพระรถเมรี    ตัวตลก คือ ม้า
          ละครนอก  เล่นนอกวัง มุ่งตลก สนุก แบบหยาบโลนกษัตริย์สามารถเล่นตลกกับเสนาหรือผู้อื่นได้ เรียกว่าไม่เคร่งครัดแบบแผน  ผู้ชายแสดงล้วน  ครั้นสมัยรัชกาลที่4  อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละครได้  เรื่องที่แสดง มีมากมายตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 
...................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................
.บทบาทสมมุติ (Role-plays) หรือ การแสดงละคร (Dramatics)
            ละคร (Drama) หมายถึง  การแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราว  มีเนื้อหาและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นการแสดงที่สะท้อนถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจริง  และเป็นสิ่งที่เกิดจากจินตนาการของผู้เขียนเนื้อเรื่อง  สร้างความบันเทิงสนุกสนาน  และให้ข้อคิดแก่ผู้รับชม

องค์ประกอบของละคร (Elements of the theater)
1.โครงเรื่อง ( Plot)  หมายถึงโครงสร้างของละครทั้งเรื่อง  โครงเรื่องหรือบทประพันธ์เป็น
ตัวกำหนดให้นักแสดงดำเนินตาม ซึ่งผู้ประพันธ์ต้องมีความสามารถในการบรรยายบุคลิกลักษณะ
นิสัยของตัวละครได้อย่างชัดเจน
2. ตัวละคร (Character)  บทบาทตัวละคร  ( Role)  และ การสร้างตัวละคร                                           
Characterization)  ตัวละครเป็นผู้สร้างและดำเนินเหตุการณ์ไปตามโครงเรื่องโดยใช้บทเจรจาการกระทำและพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับบุคคลิกลักษณะของตัวละครแต่ละตัว
3. แนวคิดที่เป็นแก่นของเรื่อง (Theme)  เพื่อให้เนื้อเรื่องน่าสนใจ  ดำเนินสุ่จุดหมายอย่างไร
แนวคิดของละครมีหลายแบบเช่น  เพื่อความบันเทิง  สะท้อนปัญหาชีวิต  ปัญหาสังคมเป็นต้น

4. ภาพที่เห็น (Spectacle)  หมายถึง ฉาก  การแสดงและทัศนองค์ประกอบต่างๆ     

ต้องสอดคล้องกับตัวละคร  สร้างบรรยากาศและอารมณ์ที่เหมาะสม  ช่วยเสริมให้การดำเนินเรื่องน่าสนใจ บทบาทของตัวละครสมจริง เช่น นาฏการของผู้แสดง
Movement or Action)  ฉากและอุปกรณ์(Scene and Props)  เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า (Costume and Make up)  แสงสี(lighting) และเทคนิคพิเศษ (Special Effect)    
          สรุป  บทบาทสมมุติ หรือ การแสดงละคร มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
โครงเรื่อง( Plot)  ตัวละคร (Character)  แนวคิดที่เป็นแก่นของเรื่อง (Theme)  และภาพที่เห็น(Spectacle) 
              องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ทำให้บาทบาทสมมุติหรือละครมีความสมจริงและน่าประทับใจแก่ผู้ชมมากยิ่งขึ้น 














 

สรุปนิทานไทย
พระรถเมรีหรือนางสิบสอง
     นางสิบสองเป็นลูกเศรษฐีแต่ถูกเอามาทิ้งในป่าเพราะฐานะยากจนลง นางยักษ์สันธมาร  มาพบเข้าได้เอาไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ทั้งนี้นางยักษ์มีธิดาบุญธรรมชื่อว่านางเมรี ซึ่งเป็นธิดาของท้าวปทุมราชเพื่อนของสามีที่ตายไปแล้ว  เมื่อทั้งสิบสองคนรู้ว่าเป็นยักษ์จึงหนีออกมา  และได้พบกับฤาษีๆ บอกว่านางทำกรรมในชาติที่แล้วคือเอาลูกสุนัขไปทิ้งไว้ในป่า ต้องชดใช้กรรม 500 ชาติ   โชคชะตาชักนำให้ได้เป็นมเหสีของท้าวรถสิทธิ์  จนล่วงรู้ไปถึงนางยักษ์ๆจึงแปลงร่างเป็นสาวสวยและใช้มนต์สะกด ให้ท้าวรถสิทธิ์หลงใหล  แล้วแกล้งป่วยต้องหาลูกตาของหญิงสาวที่มีพ่อแม่เดียวกันมาทำยา  นางทั้งหมดจึงถูกควักลูกตาเหลือนางเภา คนสุดท้องถูกควักข้างเดียว นางทั้งหมดถูกขังในอุโมงค์มืด มีทหารคอยเฝ้า   ส่วนลูกตา ถูกส่งไปไว้ที่เมืองยักษ์  นางทั้งสิบเอ็ดคลอดคลอดลุกออกมาและกินเนื้อลูกตัวเองจนหมดส่วนนางเภาคนสุดท้อง
หลบหลีกไม่ฆ่าจนลูกเจริญเติบใหญ่ให้ชื่อว่า รถเสน  ต่อมาพระอินทร์ได้ลงมาช่วยสอนการพนันชนไก่พร้อมทั้งให้ไก่วิเศษเพื่อไปท้าพนันจนได้รางวัลมาเลี้ยงแม่กับป้ามากมาย  ในที่สุดรถเสนก็ได้เข้าวังเมื่อทราบความจริง  ส่วนนางยักษ์จึงแกล้งป่วยต้องการยาชื่อ มะงั่วหาวมะนาวโห่  ที่เมืองยักษ์  รถเสนอาสาโดยได้ม้าวิเศษชื่อพาชีเหาะมาถึงอาศรมของฤาษีแล้วนอนหลับไปฤาษีเห็นจดหมายเขียนว่าถึงเช้าให้กินเช้าถึงเย็นให้กินเย็น  จึงแปลงสารใหม่เป็นให้แต่งงานกัน
หลังแต่งงาน รถเสนหาทางเอาลูกตา ยาวิเศษ กล่องดวงใจของนางยักษ์ ผลไม้วิเศษ แล้วหนีกลับมา นางเมรีขัดขวางแต่ไม่สำเร็จและหัวใจแตกสลาย  เมื่อถึงเมืองพระรถเสนเอาลูกตาไปใส่ให้แม่กับป้า  ส่วนนางยักษ์ได้กลายร่างเป็นยักษ์และถูกรถเสนขยี้กล่องดวงใจจนสิ้นชีพ  จากนั้นรถเสนกลับมาหานางเมรีเมื่อรู้ว่านางสิ้นชีวิตจึงตรอมใจตายตรงจุดนั้น และอธิษฐานขอเป็นคู่ครองในภพหน้า               ชาติต่อมาเมรีไปเกิดเป็น มโนราห์เจ้าชายรถเสนไปเกิดเป็น                   พระสุธนและเกิดตำนานหรือนิทานอีกเรื่องหนึ่งชื่อว่า "พระสุธน-มโนราห์"

"พระสุธน - มโนราห์" วรรณกรรมเลื่องชื่อในสมัยอยุธยา... "พระสุธน - มโนห์รา" วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันมากในสมัยอยุธยาและไม่ทราบผู้แต่ง ได้แก่ เรื่องพระสุธน ซึ่งได้นำเค้าเรื่องเดิมมาจาก "ปัญญาสชาดก" ที่เรียกว่า "สุธนชาดก" และได้นำมาทำเป็นบทละครเรื่อง "นางมโนห์รา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย 

 พระสุธนมโนราห์

    กล่าวถึงนางมโนราห์ธิดาคนเล็กของท้าวทุมราชซึ่งเป็นพญากินนร นางและพี่ๆทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระอโนดาตโดยถอดปีกถอดหางวางไว้  พรานบุญมาเห็นเข้าจึงจับนางมโนราห์ด้วยบ่วงนาคบาศก์  ไปถวายพระสุธนและอภิเษกกัน จนวันหนึ่งต้องพลัดพรากเมื่อปุโรหิตทำนายว่านางเป็นกาลีบ้านกาลีเมืองต้องจับบูชายัญ  ก่อนตายนางได้ขอปีกกับหางใส่ร่ายรำแล้วบินหนีไป นางได้ฝากภูษากับธำมรงค์ให้พระสุธนไว้กับฤาษี เมื่อพระสุธนออกตามหาไปถึงสระอโนดาต  ได้เอาแหวนใส่ในคนโทน้ำที่นำไปอาบให้นางลบกลิ่นสาปมนุษย์  เมื่อท้าวทุมราชจัดพิธีเลือกคู่   พระอินทร์ได้แปลงร่างเป็นแมลงวันทอง  มาจับที่ผมของนาง ทำให้ทราบว่าคือนางมโนราห์ตัวจริง ด้วยบุพเพสันนิวาส ทั้งสองจึงครองคู่กันอย่างมีความสุข 



เทพสามฤดู

ท้าวตรีภพแห่งเมือง อุดม  มีมหเสี 2 องค์ ชือมณีกับทัศนีย์ แต่ไม่มีผู้สืบสันตติวงศ์ จึงได้ทำพิธีขอบุตรกับพระอิศวรๆ ได้ให้พระพิรุณลงไปจุติแต่ ราหูกับจินดาเมขลา ขอตามไปด้วยทั้งนี้ขอให้จุติตามฤดูกาล  หน้าฝนเป็นพระพิรุณ  หน้าหนาวเป็นจินดาเมขลา  หน้าร้อนเป็นพระราหู ผ่านไป 5 ปีมีพิธีแก้บน จนมเหสีมีประสูติกาลหน้าร้อน เด็กจึงมีเขี้ยวเป็นยักษ์ จึงถูกนำไปลอยแพ  ต่อมาฤษษีจึงนำไปเลี้ยงและมีพี่เลี้ยงคือเจ้างั่ง    ฝ่ายเทพสามฤดูได้ร่ำเรียนวิชากับพระฤๅษีโคดมจนครบถ้วนแล้วพระฤๅษีได้ขอประทานอาวุธจากพระอิศวร ให้ไว้ใช้ป้องกันตัว พระอิศวรประทานอาวุธคือ กระบองแก้วของพระราหู, พระขรรค์ของพิรุณ และลูกแก้วของจินดาเมขลา 

พิกุลทอง
  พิกุล สาวสวยอาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงๆมีลูกสาวคนหนึ่งชื่อมะลิ   แต่ก็โชคร้ายที่ว่าทั้งแม่เลี้ยงและลูกสาวของเธอนั้นเป็นคนใจร้าย ทั้งคู่จะบังคับให้พิกุลทำงานหนักทุกวัน วันหนึ่ง หลังจากตำข้าวเสร็จ พิกุลก็ออกไปตักน้ำที่ลำธาร และมีหญิงชราคนหนึ่งขอน้ำเธอดื่ม แล้วให้พรวิเศษกับเธอ เมื่อใดก็ตามที่เธอรู้สึกสงสารใครหรือสิ่งใดก็ขอให้ดอกพิกุลทองคำร่วงออกมาจากปาก ทันทีที่กลับถึงบ้านช้า เธอก็ถูกแม่เลี้ยงดุด่าพิกุลจึงเล่าเรื่องทั้งหมด ให้ผู้เป็นแม่เลี้ยงฟังพร้อมกับร้องไห้ ขณะเล่าจึงทำให้ดอกพิกุลทองคำร่วงออกมาจากปากของเธอด้วย แม่เลี้ยงจอมละโมบก็เปลี่ยนอารมณ์จากโกรธเป็นละโมบในขณะที่ปากก็สั่งให้พิกุลพูดต่อไปเรื่อย พร้อมกับตะครุบดอกพิกุลทองทั้งหมดไว้ นับจากวันนั้น แม่เลี้ยงบังคับให้พิกุลพูดทั้งวันเพื่อให้ดอกพิกุลทองคำออกมาจากปากของเธอมากๆ นั่นเอง จนพิกุลไม่มีเสียงพูดทำให้แม่เลี้ยงโมโหจึงลงมือตบตี

ในที่สุดแม่เลี้ยงได้ให้ มะลิทำแบบอย่างพิกุลบ้าง แต่มะลิกลับพบหญิงสาวแสนสวยสวมเสื้อผ้างดงามและได้ขอน้ำดื่มเช่นกัน มะลิไม่ได้ทำตามแต่ด่าทอด้วยคำหยาบคาย  นางฟ้าจึงสาปให้มีหนอนออกจากปากเวลาพุด  แม่เลี้ยงโกรธพิกุลที่เป็นต้นเหตุจึงไล่ออกจากบ้าน  ทำให้ได้พบกับเจ้าชาย และครองรักกันอย่างมีความสุข



แก้วหน้าม้า
  แก้วหญิงชาวบ้าน หน้าตาเหมือนม้า  จึงถูกเรียกว่าแก้วหน้าม้า วันหนึ่งได้เก็บว่าวของพระปิ่นทองได้ และมีข้อแลกเปลี่ยนให้รับนางเป็นมเหสีเข้าวังหากต้องการว่าวคืน พระปิ่นทองรับปากแบบขอไปที  ล่วงมาหลายวัน แก้วจึงให้พ่อแม่ไปทวงสัญญาโดยต้องมีวอทองมารับเข้าวัง   ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองหาทางกำจัด นางแก้วโดย ให้นางยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในเมืองภายใน 7 วัน   แก้วเดินทางเข้าป่าจนพบฤาษีๆ ช่วยถอดหน้าม้าให้กลายเป็นหญิงงาม และเสกหนังเสือให้เป็นเรือเหาะพร้อมให้อีโต้วิเศษ นำเขาพระสุเมรุมาวางได้สำเร็จ ท้าวภูวดลสั่งให้พระปิ่นทอง เดินทางไปอภิเษกกับเจ้าหญิงทัศมาลี นางแก้วได้นั่งเรือเหาะตามไป แล้วถอดหน้าม้าออก ในที่สุดพระปิ่นทองก็ได้พบนางแก้วที่บ้านตายายและได้นางแก้วเป็นเมียแล้วมอบแหวนเป็นสัญญารัก นางแก้วได้ลูกชายชื่อปิ่นแก้ว นางพาลูกไปหาฤาษีแล้วฝากลูกไว้  นางแปลงเป็นชายไปช่วยพระปิ่นทองรบกับยักษ์จนชนะและได้ขอธิดาพญายักษ์ทั้งสองมาเป็นชายาต่อมาทั้งสองรู้ความจริงนางแก้วขอให้ปิดเป็นความลับ และยกธิดาทั้งสองให้กับพระปิ่นทองกลับเมือง ส่วนพระปิ่นทองไม่เชื่อว่าปิ่นแก้วเป็นลุก  กล่าวถึงเจ้าหญิงทัศมาลีมีโอรสกับพระปิ่นทองชื่อเจ้าชายปิ่นศิลป์ไชย   นางแก้วมณีได้ต่อสู้กับข้าศึกที่มาประชิดเมือง  โดยแปลงร่างเป็นชายจนได้ชัยชนะ   ส่วนธิดาพญายักษ์ทั้งสองได้บอกความจริงเรื่องแก้วมณีกับพระปิ่นทองจนทั้งสองเข้าใจกัน แก้วมณีไปรับพ่อแม่มาอยู่ในวัง นางมีชื่อใหม่ว่า มณีรัตนา  และครองรักกับพระปิ่นทองอย่างมีความสุข



เนื้อเรื่อง ไกรทอง

      ณ เมืองพิจิตรมีลูกเศรษฐีสองพี่น้องชื่อตะเภาแก้วและตะเภาทอง  ขณะเล่นน้ำอยู่ที่ท่าหน้าบ้าน  ตะเภาทองถูกพญาชาละวันซึ่งเป็นจระเข้ที่มีนิสัยดุร้ายอันธพาล  คาบดิ่งไปไว้ที่ถ้ำบาดาล ชาละวันได้แปลงร่างเป็นชายรูปงาม แล้วสะกดด้วยเวทมนตร์ให้ตะเภาทองยอมเป็นเมีย ทำให้นางจระเข้ คือวิมาลาและเลื่อมลายวรรณเกิดความหึงหวง  กล่าวฝ่ายไกรทองนักปราบจรเข้ชื่อดังได้อาสาปราบชาละวันตามที่เศรษฐีต้องการ  โดยใช้เวทมนตร์เรียกให้ชาละวันออกมาจากถ้ำแล้วแทงด้วยหอกสัตตโลหะ จนชาละวันหนีเข้าถ้ำไป ไกรทองใช้เทียนระเบิดน้ำเบิกทางระหว่างนั้นพบกับนางวิมาลาและได้นางจรเข้เป็นเมีย จากนั้นเข้าไปฆ่าชาละวันตาย  เศรษฐีได้จัดพิธีแต่งงานให้ตะเภาแก้วแบไกรทองแถมตะเภาทองอีกคน  แต่ไกรทองยังคะนึงถึงนางวิมาลา จึงไปมาหาสู่แต่ตะเภาแก้วตะเภาทองไม่ยอม  เกิดความหึงหวงกัน  ต่อมาทั้งมนุษย์และจระเข้ก็ปรับความเข้าใจกันได้และอยู่กันอย่างสันติสุข 

    กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวพันตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ   วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้
ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง

        เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..
        ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำได้
..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดอาการร้อนลุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที

แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนเจ้าชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน
ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ 

  
จำปาสี่ต้นหรือสี่กุมาร  ( ดิน น้ำ ลม ไฟ )
      กล่าวถึงเมืองจักขิน ถูกพญาฮุ้งหรือพญาเหยี่ยวถล่มจนกลายเป็นเมืองร้าง  เจ้าเมืองเอา นางปทุมมาธิดา ใส่ไว้ในกลอง  กระทั่งท้าวจุลละนีแห่งปัญจานครได้ช่วยนางออกมาจากกลอง เมื่อฆ่าพญาเหยี่ยวตาย จึงรับนางปทุมมาเป็นชายา ทั้งนี้ท้าวจุลละนีมีมเหสีอยู่แล้วชื่อนางอัคคี จนกระทั่งนางปทุมมาตั้งครรภ์และฝันว่าพระอินทร์เอาแก้วมาให้สี่ดวง  แต่ต่อมานางอัคคีได้กลั่นแกล้งเอาลูกสุนัขมาแทนแล้วเอากุมารทั้ง 4 ลอยแพ แพไปติดบ้านตายายๆได้รับเลี้ยงสี่กุมาร ฝ่ายนางอัคคีรู้ว่ากุมารทั้งหมดยังไม่ตายจึงให้คนมาวางยาพิษจนตายทั้งหมด  ตากับยายนำทั้งสี่ไปฝังปรากฏเป็นต้นจำปา 4 ต้น นางอัคคีก็มาทำลายทิ้งลงน้ำ  ต้นจำปาลอยไปติดที่อาศรมฤาษีๆ จึงเสกให้เป็นคน   คนเล็กสุดต่อนิ้วเพชรมีอิทธิฤทธิ์ ชี้ตายชี้เป็นพระฤาษีสอนวิชาอาคมต่างๆ แก่กุมารทั้งสี่ และตั้งชื่อว่า จำปาทอง จำปาเงิน จำปานิล และคนเล็กชื่อเจ้านล   พระอินทร์ปลอมเป็นชีปะขาวมาบอกสี่กุมารว่ามารดาประสบความลำบาก สี่กุมารจึงออกตามหาจนถึงเมืองยักษ์ เจ้านลใช้นิ้วเพชรปราบยักษ์แล้วชุบชีวิตใหม่ยักษ์มอบธิดาให้ แต่เจ้านล ยกให้พี่ๆทั้งสามครบ 3 เมืองที่ผ่านมา   ในที่สุดเจ้านลก็ตามหามารดาจนพบกันและรับเข้าวังเจ้านลได้ชำระหนี้แค้น จับนางอัคคีและทาสี ลอยแพตามยะถากรรม แล้วขึ้นครองเมืองปัญจานครแทนบิดาสืบไป  


หลวิชัย-คาวี
มีเสือแม่ลูกอ่อนออกไปหากินในป่าเพลินจนลืมลูกเสือที่อยู่ในถ้ำ ลูกเสือหิวมากออก
เดินตามหาแม่แต่ก็ไม่พบ ลูกเสือเจอแม่วัวจึกขอนมแม่วัวกิน แม่วัวสงสารให้กินนม
แล้วพาไปที่อยู่ เลี้ยงลูกเสือคู่กับลูกวัวของตน ลูกเสือกับลูกวัวก็รักกันเหมือนพี่น้อง

         วันหนึ่งแม่เสือกลับมาตามหาลูก พบลูกเสืออยู่กับแม่วัว ลูกเสือชวนแม่อยู่ด้วย
กันกับแม่วัว แม่เสือแสร้งทำเป็นใจดีอยู่กับแม่วัว แต่เวลาออกไปหากินจะไปกันคนละ
ทิศ   วันหนึ่งแม่เสือแอบไปดักกินแม่วัว ลูกวัวไม่เห็นแม่กลับมาก็ออกตามหา ลูกเสือก็
ตามลูกวัามา แม่เสือเห็นลูกวัวก็ตรงเข้ากัดกิน ลูกเสือโกรธมากที่แม่จะกินลูกวัว จึงโดด
เข้าไปกัดแม่เสือจนแม่เสือตาย

          ลูกเสือกับลูกวัวจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปในป่า วันหนึ่งไปถึงอาศรมฤษี ฤษีแปลก
ใจมากที่สัตว์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน จึงมีจิตเมตตาชุบชีวิตลูกเสือลูกวัวให้เป็นคน และตั้ง
ชื่อลูกเสือว่าหลวิชัย ลูกวัวชื่อคาวี หลวิชัยกับคาวีก็เรียนศิลปวิทยากับฤษีจนเติบโต เมื่อมี
อายุพอสมควรแล้ว หลวิชัยกับคาวีก็ขอลาพระฤษีไปเผชิญโชค ฤษีให้พระขรรค์วิเศษที่
บรรจุหัวใจของหลวิชัยกับคาวี

          หลวิชัย คาวี เดินทางไปได้พักหนึ่งถึงทางแยก หลวิชัยจึงบอกกับคาวีว่า " เราแยก
ทางกันตรงนี้ เจ้าไปทิศเหนือ พี่ไปทิศใต้ แล้วอีกสามเดือนเรามาพบกันที่นี่ "

          คาวีเดินทางไปถึงเมืองร้างแห่งหนึ่ง ร้านรวงต่าง ๆ ยังมีข้าวของแต่ไม่มีผู้คน คาวี
เข้าไปในพระราชวังก็ไม่เห็นคนสักคนเดียว จึงเข้าไปในครัวแล้วก่อไฟขึ้นเพื่อจะหุงหา
อาหาร ทันใดนั้นมีกลุ่มนกอินทรียักษ์บินมาจนท้องฟ้ามืดมิด กลุ่มนกอินทรีบินจะมาจิกกิน
คาวี คาวีใช้พระขรรค์ต่อสู้และฆ่านกอินทรียักษ์ตายเกือบหมด นกที่เหลือก็บินหนีไป
คาวีจึงเดินสำรวจพระราชวัง เห็นกลองใบใหญ่ พอเดินเข้าไปใกล้ได้ยินเสียงหญิงสาว
ร้องว่า " ช่วยเราด้วย ช่วยเราด้วย " คาวีใช้พระขรรค์กรีดหนังกลองก็พบพระราชธิดาชื่อ
พระนางจันทร์สุดา คาวีจึงอภิเษกกับนางจันทร์สุดา ผู้คนที่หลบหนีไปเพราะกลัวนกก็อพยพ
กลับมาอยู่ที่เมือง บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม 
วันหนึ่งพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำ ผมของนางซึ่งมีกลิ่นหอมร่วง พระนางจึงใส่ผอบ 
ลอยน้ำไป ต่อมามีคนนำผอบผมหอมไปถวายท้าวสัณนุราช ท้าวสัณนุราชก็อยากทราบว่าผม
นี้เป็นของผู้ใด จึงมีประกาศป่าวร้องว่าถ้าใครรู้จักจะให้รางวัล ยายเฒ่าทัดประสาด ซึ่งเคย
เป็นพี่เลี้ยงของนางจันทร์สุดาก็รีบไปเข้าเฝ้าท้าวสัณนุราช แล้วบอกว่าเป็นเส้นผมของพระ
นางจันทร์สุดา ท้าวสัณนุราชจึงบอกให้ยายเฒ่าทัดประสาดหาทางนำนางมา แล้วก็ให้เงินทอง
แก่ยายเฒ่าเป็นอันมาก ยายเฒ่ารีบกลับไปที่เมือง แล้วทำทีเป็นขออยู่กับพระนางจันทร์สุดา
แล้วก็ยุยงพระนางว่าคาวีคงมิได้ไว้ใจพระนางจันทร์สุดาจึงได้พกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา
พระนางจันทร์สุดาก็มีจิตใจไหวหวั่นหลงเชื่อ จึงถามคาวีว่าทำไมคาวีจึงต้องพกพระขรรค์ติดตัว
ตลอดเวลา
คาวีจึงบอกความลับว่า เพราะหัวใจคาวีอยู่ที่พระขรรค์ ถ้าใครนำพระขรรค์ไปเผา
ไฟ คาวีก็จะตาย ด้วยเหตุนี้จึงต้องพกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา พระนางจันทร์สุดาเมื่อได้
ทราบเช่นนั้นก็หายแคลงใจ และได้นำความไปเล่าให้ยายเฒ่าฟัง ลืมไปว่าเรื่องนี้เป็นความ
ลับยิ่ง ยายเฒ่าได้ฟังจึงเกิดความคิด และชวนให้คาวีกับพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำที่ชาย
ทะเล คาวีและพระนางจันทร์สุดาถอดเครื่องทรงรวมทั้งพระขรรค์ให้ยายเฒ่าเก็บรักษา
ยายเฒ่าได้ทีนำพระขรรค์ไปเผาไฟ คาวีกำลังว่ายน้ำเล่นก็รู้สึกร้อนจึงรีบชวนนางจันทร์
สุดาว่ายกลับเข้าฝั่ง พอถึงชายหาดคาวีเห็นยายเฒ่ากำลังเผาพระขรรค์อยู่ ก็นึกโกรธที่
พระนางจันทร์สุดาไม่รักษาความลับ แต่ยังไม่ทันพูดคาวีก็ล้มลงสิ้นสติ พระนางจันทร์สุดา
ตกพระทัยมากได้แต่ร่ำไห้กอดร่างคาวี ยายเฒ่าจึงรีบให้ทหารของท้าวสัณนุราชนำพระ
นางจันทร์สุดาไปถวายท้าวสัณนุราช
          ฝ่ายหลวิชัยเมื่อครบกำหนดวันนัดก็มาพบคาวีที่ทางแยก คอยอยู่ทั้งวันไม่เห็นคาวี
มาจึงตัดสินใจเดินทางมาที่เมืองพระนางจันทร์สุดา ระหว่างทางเห็นกองไฟและพระขรรค์
ของคาวีอยู่ในกองไฟก็รีบนำพระขรรค์ออกมา และพบคาวีนอนสิ้นสติก็ช่วยแก้ไขจนฟื้น
เมื่อทราบเรื่องราวทั้งหมดหลวิชัยก็ชวนคาวีไปตามพระนางจันทร์สุดาที่เมืองท้าวสัณนุราช

          ที่เมืองท้าวสัณนุราชกำลังมีประกาศให้คนที่มีวิชาอาคมไปช่วยชุบท้าวสัณนุราชให้
เป็นหนุ่ม เพราะพระนางจันทร์สุดาไม่ยอมรับรักท้าวสัณนุราช หลวิชัยจึงแต่งกายปลอม
เป็นฤษีเข้ารับอาสาจะชุบท้าวสัณนุราชให้เป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชดีใจมาก หลวิชัยจึงสั่ง
ให้ขุดหลุมลึกแล้วกั้นม่านเจ็ดชั้น ที่หลุมนั้นสุมไฟไว้ หลวิชัยให้ท้าวสัณนุราชโดดลงไปที่
กองไฟนั้น ด้วยความที่อยากเป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชก็กระโดดลงไปในกองไฟสิ้นชีวิต
หลวิชัยก็นำคาวีออกมา ทุกคนก็เข้าใจว่าเป็นท้าวสัณนุราชชุบตัวกลายเป็นคนหนุ่มแล้ว
ก็โห่ร้องดีใจ และจัดอภิเษกท้าวสัณนุราชหรือคาวีกับพระนางจันทร์สุดา ส่วนยายเฒ่าเมื่อ
เห็นดังนั้นก็เกิดความกลัวรีบหลบหนีไป หลวิชัยเมื่อเห็นคาวีปลอดภัยแล้วก็ลาคาวีและ
พระนางจันทร์สุดาเดินทางต่อไป คาวีและพระนางจันทร์สุดาก็อยู่ครองเมืองทั้งสองด้วย
ความสุขสืบมา.


ไชยเชษฐ์

ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้านสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ให้ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และทรงให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก

ไชยเชษฐ์
     กล่าวถึงนางสุวิญชา เดิมชื่อ จำปาทอง  มีแมวคู่ใจชื่อนางวิฬา เป็นแมวพูดได้  นางเป็นลูกกษัตริย์แต่ถูกขับไล่ให้ออกจากเมือง  นางไปอยู่กับฤาษี และได้เป็นธิดาบุญธรรมของยักษ์สิงหล  ฝ่ายพระไชยเชษฐ์ มีนางสนม7 คน ได้ออกมาเที่ยวป่า เจอนางสุวิญชาๆจึงให้เฝ้าท้าวสิงหลแล้วศึกษาดูใจกัน จนข้าศึกมาประชิดเมือง  พระไชยเชษฐ์ออกรบจนชนะศึก ท้าวสิงหลจึงยกนางให้เป็นชายา  ทั้งสองพากันกลับเมืองเหมันต์  นางสนมทั้ง7 มีใจริษยาออกอุบายกลั่นแกล้งนางซึ่งใกล้คลอดโดยให้พระไชยเชษฐ์ออกไปคล้องช้างเผือกในป่า   กระทั่งนางคลอดลูกออกมามีศรกับพระขรรค์ ติดตัวมาด้วย  นางที่7นำกุมารใส่หีบไปฝังใต้ต้นไทร แต่พระไทร เทพารักษ์ได้ดูแลกุมารให้ นางทั้ง7 ทูลพระไชยเชษฐว่านางออกลูกเป็นท่อนไม้จึงถูกขับไล่ออกนอกวัง ส่วนนางแมวเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดจึงพานางไปขุดเอากุมารที่โคนต้นไทร  แล้วพาพระกุมารกลับไปเมืองสิงหล ท้าวสิงหลตั้งชื่อพระกุมารว่า "พระนารายณ์ธิเบศร์"   ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริง จึงออกติดตามนางสุวิญชาไปเมืองสิงหลและได้พบพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งกำลังประพาสป่ากับพระพี่เลี้ยง พระไชยเชษฐ์เห็นพระนารายณ์ธิเบศร์เป็นเด็กน่ารัก มีหน้าตาคล้ายพระองค์ก็มั่นใจว่าเป็นพระโอรส จึงเข้าไปขออุ้มและเอาขนมนมเนยให้ พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธว่าเป็นคนแปลกหน้า จึงไม่ให้จับต้องและไม่ยอมเสวยขนม
พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธพระไชยเชษฐ์ที่มาจับต้องตัวและจับหัวของพระพี่เลี้ยงของตนจึงใช้ศรธนูหมายจะฆ่าให้ตาย แต่ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้กระจายเติมพื้นดิน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์เกิดความประหลาดใจยิ่งนัก จึงอธิษฐานจิตว่าถ้ากุมารองค์นี้เป็นลูกของตนขอให้ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลายเป็นอาหาร ทันใดนั้นพระไชยเชษฐ์ก็แผลงศรออกไปและศรธนูที่ยิงออกไปนั้นก็กลายเป็นอาหารเต็มพื้น และเมื่อเห็นแหวน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์มั่นใจว่าเป็นบุตรของตนพระนารายณ์ธิเบศร์บอกว่านางสุวิญชาเป็นแม่และท้าวสิงหลเป็นพ่อ  พระไชยเชษฐ์จึงทรงเล่าเรื่องเดิมให้พระนารายณ์ธิเบศร์ฟัง ทั้ง 2 จึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน
พระนารายณ์ธิเบศร์ช่วยทูลนางสุวิญชาให้หายโกรธพ่อ นางสุวิญชายกโทษให้ พระไชยเชษฐ์ นางสุวิญชาและพระนารายณ์ธิเบศร์ 3 คนพ่อแม่ลูกจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

     อุณรุท
เรื่องย่อ อุณรุท
พระยายักษ์ชื่อท้าวกรุงพาณ ครองรัตนานคร ประพฤติเป็นพาล ก่อความเดือดร้อนแก่เหล่าเทวดาและนางฟ้า ครั้งหนึ่งทำอุบายลอบเข้าชมนางสุจิตรามเหสีของพระอินทร์ พระอิศวรต้องทูลเชิญพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดในเมืองณรงกา ทรงพระนามว่าพระบรมจักรกฤษณ์ มีมเหสีชื่อจันทมาลีและพระโอรสชื่อไกรสุท ต่อมาพระไกรสุทได้อภิเษกกับนางรัตนา มีโอรสชื่ออุณรุท ซึ่งได้อภิเษกกับนางศรีสุดา
นางสุจิตรามีความแค้นเคืองท้าวกรุงพาณ ปรารถนาจะจุติไปเกิดในโลกมนุษย์เพื่อแก้แค้น พระอินทร์จึงพานางไปเฝ้าขอพรจากพระอิศวร นางได้รับเทวบัญชาให้ไปเกิดในดอกบัว ฤๅษีสุธาวาสเก็บไปเลี้ยงก็ตั้งชื่อว่านางอุษา ต่อมาท้าวกรุงพาณก็ขอไปเลี้ยงดูเป็นธิดาบุญธรรม วันหนึ่งพระอุณรุทได้พานางศรีสุดาประพาสป่าล่าสัตว์ พระอินทร์ให้มาตุลีแปลงเป็นกวางทองมาล่อ นางศรีสุดาใคร่ได้กวางทองจึงของให้พระอุณรุทไล่จับ กวางทองจึงแสร้งหนีไปทางด้านที่พระอุณรุทสกัดอยู่ พระอุณรุทให้นางศรีสุดากลับเข้าเมืองไปก่อน ส่วนพระองค์จะไล่จับกวางต่อไป โดยมีราชบริพาธส่วนหนึ่งตามเสด็จ จนได้พักแรมที่ร่มไทรใหญ่
ก่อนบรรทมพระอุณรุทบวงสรวงขอพรพระไทรเทพารักษ์ พระไทรทรงเมตตาอุ้มไปสมนางอุษาและสะกดไม่ให้ทั้งสองพูดจากัน พอใกล้รุ่งก็อุ้มพระอุณรุทกลับมาที่เดิม พระอุณรุทก็คร่ำครวญถึงนางอุษา จนพระพี่เลี้ยงต้องพากลับเมือง ฝ่ายนางอุษาก็เศร้าโศกถึงพระอุณรุท นางศุภลักษณ์พรพี่เลี้ยงใคร่ทราบว่าชายใดที่นางอุษาหลงรัก จึงวาดรูปเทวดาและกษัตริย์ให้นางชี้ตัว ครั้นทราบว่าเป็นพระอุณรุทจึงเหาะมาสะกดไว้ที่พระตำหนัก ทศมุขอนุชาของนางอุษาทราบความจึงไปบอกท้าวกรุงพาณบิดา ท้าวกรุงพาณขอให้ท้าวกำพลนาค ซึ่งเป็นสหายมาร่วมรบกับพระอุณรุท ท้าวกำพลนาคจับพระอุณรุทมัดตอนหลับแล้วนำไปประจานที่ยอดปราสาท เทวดาทั้งหลายทราบข่าวก็พากันไปกราบทูลพระบรมจักรกฤษณ์ พระองค์ทรงครุฑมาช่วยพร้อมกับมอบธำมรงค์วิเศษไว้ให้
พระอุณรุทปราบท้าวกรุงพาณได้แล้วอภิเษกทศมุขขึ้นครองเมืองแทน พระอุณรุทกับนางอุษากลับไปครองเมืองณรงกา นางศรีสุดาเกิดหึงแต่ก็สามารถประนีประนอมในภายหลังได้ พระอุณรุทกลับไปคล้องช้างได้นางกินรีห้านางและปราบวิทยาธรชื่อวิรุฯเมศ ครั้นได้ช้างเผือกแล้วก็กลับมาครองเมืองเป็นสุขสืบมา
   
 มณีพิชัย หรือ ยอพระกลิ่น

มณีพิชัย (นางยอพระกลิ่น)
ท้าววรกรรณ และ พระนางบุษบง ได้จัดงานเลือกคู่พระธิดา ชื่อ เกศนี มีราชา และเจ้าชายจากต่างเมือง มาเลือกคู่มากมาย และนางกลับเลือกชายที่สติไม่เต็ม ท้าววรกรรณจึงขับไล่ออกนอกวัง ชายบ้าใบ้จึงคืนร่างกลายเป็นพระอินทร์ดังเดิม และพานางเกศนีขึ้นไปอยู่บนสวรรค์จนมีลูก แต่ทวยเทพจะมีลูกไม่ได้ผิดธรรมเนียม จึงนำลูกที่ชื่อยอพระกลิ่นมาไว้ในปล้องไผ่ จึงเสกของอำนวยความสะดวกให้แก่ยอพระกลิ่นจนโตเป็นสาว ทำให้ปล้องไผ่นั้นหอมอบอวล

มณีพิชัย โอรสท้าวพิไชยนุราช และ นางจันทร แห่งกรุงอยุธยาได้ออกมาเที่ยว ได้กลื่อนจากปล้องไผ่ จึงใช้ดาบฟันปล้องไผ่ และปรากฏร่างหญิงสาว ชื่อ ยอพระกลิ่น จึงพยรักกัน และได้พานางเข้าวัง และบอกกับเสด็จพ่อเสด็จแม่ว่า ยอพระกลิ่นเป็น ชายา(เมีย) ของตนท้าวพิไชยนุราชสุดแสนดีใจ แต่ฝ่ายแม่นั้นไซร้ เกลียดซังนางยอกพระกลิ่นอย่างยิ่ง เพราะ ลูกของตนได้หมั้นหมายกับองค์หญิงแห่งกรุงจีนไปแล้ว กลับพานางยอพระกลิ่นแล้วมาบอกว่าเป็นเมียเสียนี่
วันหนึ่งนางคิดแกล้งจึงบอกสาวใช้เอาเลือดแมวและศพแมวไปทิ้งไว้ในห้องยอพระกลิ่น รุ่งขึ้น นางจันทรจึงบอกกับท้าวพิไชยนุราชว่า นางยอพระกลิ่นเป็นกระสือ ให้ไล่ออกไป เพราะหลักฐานและพยานหนาแน่นนางยอพระกลิ่นจึงถูกขับไล่ออกจากวัง และพ่อของยอพระกลิ่น ได้ลงมาบอกให้ลูกสาวแปลงกายเป็นพราหมณ์ รอแก้แค้นอยู่ที่อาศรมริมสระน้ำนี่
วันหนึ่งนางจันทรมาอาบน้ำที่สระได้ถูกงูผิดที่แอบอยู่กับดอกบัวกัด นางเจ็บปวดแทบขาดใจกระเซอะกระเซิง เข้าวัง พราหมณ์ก็ได้ตามไปด้วยพร้อมกับบอกให้นางจันทรว่าจะรักษาพิษงูให้ หากนางยอมบอกความจริงว่ายอพระกลิ่นไม่ได้กินแมวนางรักษาให้ แต่หากไม่ยอมบอกจะปล่อยให้ตายนางจึงเล่าความจริงให้ฟัง และพอรักษาพิษงูได้ พราหมณ์ก็เอ่ยปากขอมณีพิชัยไปเป็นทาสสักระยะหนึ่งราชาก็ตกลง
มณีพิชัยอยู่รับใช้พราหมณ์ที่อาศรมเป็นเวลานานหลายเดือน ถึงแม้พราหมณ์ยอพระกลิ่นจะแปลงกายเป็นสาวสวยมาลวงล่อให้หลงรัก แต่มณีพิชัยก็ไม่ชายตาแล พราหมณ์ยอพระกลิ่นเห็นว่า ผัวของตนซื่อสัตย์กับตนเองจึงคืนมณีพิชัยให้แก่เมืองอยุธยาดังเดิม
ทางกรุงจีนเมืองปักกิ่งได้เร่งรัดให้ทางเมืองอยุธยามาแต่งงานองค์หญิงเล็กเร็วๆสักที เจ้าชายมณีพิชัยจึงต้องไปอภิเษกกลัวจะเกิดสงครามใหญ่ พราหมณ์ยอพระกลิ่นจึงขอตามไปด้วย พอไปถึงเจ้ากรุงจีนได้ทราบว่ามณีพิชัยได้มีชายาแล้วจึงแกล้งให้มณีพิชัยยกขันหมากมา 1,000 ชุด หากไม่ได้จะถูกประหาร ทั้งสองจึงหนีหลงเข้าไปในเมืองยักษ์ สลบไร้สติเพราะมนต์แห่งเมืองยักษ์ นางวาสันจึงจับมณีพิชัยไปให้นางผกาลูกสาวที่ตำหนัก จนพราหมณ์ฟื้นเห็นนางผกาอยู่กับผัวของตนที่ตำหนัก ก็พร่ำรำพันต่างๆนานา แล้วก็แปลงกายเป็นนางยอพระกลิ่นดังเดิมจนหมดสติไปอีก พระอินทร์จึงต้องมาแก้ไขเรื่องราวแล้วเหาะมาส่งที่เมืองอยุธยา ทั้งสองจึงจัดงานอภิเษกที่ยิ่งใหญ่ และครองรักกันอย่างมีความสุข ตราบฟ้าดินมลาย

ข้อคิด
- อุปสรรคใดก็ผ่านพ้นได้ หากเรามีความพยายาม 


สังข์สินไชย

“ สังข์สินไชย  ที่เป็นเรื่องที่เล่ากันสืบต่อ ๆ มา ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายทอดสู่
อนุชนรุ่นหลังด้วยมุขปาฐะ หรือเรื่องเล่า หรือตำนานที่ยึดโยงกับพุทธศาสนา เป็นปฐมบทของการศึกษา
ด้านศิลปวัฒนธรรม ในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ในดินแดนอีสานที่จะสามารถเรียนรู้อัตลักษณ์อีสาน
ผ่านแง่มุม ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ในทางสังคมวัฒนธรรมของผู้คนที่ซ่อนแฝงอยู่ในสิ่งนั้น และเนื้อหานิทานอย่างย่อ ๆ ก็มีอยู่ว่า ...

มีเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองปัญจาล ซึ่งมีท้าวกุศราชครอง มีมเหสีชื่อนางจันทาเทวี พระขนิษฐาของท้าวกุศราช
ชื่อนางสุมณฑา ถูกยักษ์ลักพาไปเป็นชายา ภายหลังจึงพาชายาทั้งเจ็ดกลับเมือง อยู่มาไม่นานพระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นโอรสทุกพระองค์ พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า " สีโห " ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลปชัย) " และมีสังข์เป็นอาวุธติดมือมาพร้อมกับประสูติ หมอหูฮา (โหรา) ทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก สามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาวมา จึงติดสินบนหมอหูฮาให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุศราช ท้าวกุศราชจึงจำยอมขับไล่นางและโอรสสินไซออกจากเมือง เพราะหมอหูฮาทูลว่าพระโอรสจะนำความวิบัติมาสู่บ้านเมือง ท้าวสีโหโอรสมเหสีจันทาเทวีขอติดตามสินไซไปด้วย

มารดาสินไซพร้อมด้วยท้าวสีโหและสินไซก็เดินป่าพเนจรไป พระอินทร์ทราบเรื่องจึงมาเนรมิตกระท่อมให้แม่ลูกอาศัยอยู่ หกกุมารเจริญวัยได้เสด็จประพาสป่ามาพบกระท่อมของสินไซและมารดา สินไซได้แสดงอภินิหารให้กุมารทั้งหกชม วันหนึ่งกุมารทั้งหกอยากอวดอิทธิฤทธิ์ให้บิดาชม จึงมาติดสินบนให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง พระบิดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าพระกุมารมีอิทธิฤทธิ์สามารถเรียกสัตว์ป่าได้จริง ๆ พระบิดาจึงสั่งให้กุมารทั้งหกไปติดตามหานางสุมณฑาที่ยักษ์ลักพาไป พระกุมารทั้งหกจึงอ้อนวอนให้สินไซช่วยเหลือไปตามพระเจ้าอา พระมารดาไม่อยากให้สินไซไป แต่สินไซได้รับรองกับพระมารดาว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์ มีทั้งสังข์ และท้าวสีโหที่จะช่วยขจัดภัยพิบัติทั้งปวง พระมารดาจึงยินยอมให้ไปกับกุมารทั้งหก

เมื่อกองโยธาไปถึงฝั่งมหาสมุทรสินไซจึงให้กองโยธาและกุมารทั้งหกตั้งทัพคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำ ตนและสีโหจะไปยังเมืองยักษ์ติดตามนางสุมณฑาเอง สินไซก็ขี่ท้าวสีโหเหาะไปจนถึงเมืองยักษ์ ได้พบนางสุมณฑาเล่าเรื่องของตนให้ฟัง นางสุมณฑาก็ยินดีแต่นางเองก็ห่วงพระธิดาชื่อนางสุดาจันทร์ ที่ตกเป็นชายาท้าววิรุณนาค เพราะยักษ์ผู้เป็นบิดาเสียพนันกับท้าววิรุณนาค เมื่อยักษ์ผู้เป็นสามีนางสุมณฑาเข้าเมืองทราบว่ามีมนุษย์อยู่ในปราสาท จึงตามหาจนพบสินไซ ทั้งสองรบกันด้วยศาสตร์ศิลป์ต่าง ๆ นานา

ในที่สุดสินไซก็ฆ่ายักษ์ได้ และไปเมืองนาคเล่นพนันเอาเมืองกับท้าววิรุณนาค ท้าววิรุณนาคแพ้ยอมยกเมืองให้ แต่ไม่ยอมให้นางสุดาจันทร์ ทั้งสองจึงรบกันสินไซชิงนางไปได้ จึงพานางสุดาจันทร์และนางสุมณฑากลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารตั้งทัพคอยอยู่ กุมารทั้งหกดีพระทัยมาก แต่ไม่รู้จะไปทูลพระบิดาอย่างไรดี จึงหาอุบายฆ่าสินไซ เมื่อได้โอกาสจึงผลักสินไซตกเหวพร้อมกับสีโห หกกุมารจึงยกทัพกลับเมืองพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์เข้าเมือง ระหว่าทางนางสุมณฑาเป็นห่วงสินไซมาก แต่ก็จนใจจึงนำผ้าสไบแขวนไว้อธิษฐานว่าหากสินไซยังมีชีวิตอยู่ ขอให้นางได้พบผ้าผืนนี้อีก หกกุมารยกทัพกลับถึงเมือง

ท้าวกุศราชบิดาทรงดีพระทัยมาก ที่หกกุมารมีอิทธิฤทธิ์ปราบยักษ์ปราบนาคได้สำเร็จ จึงจัดงานเฉลิมฉลอง
เป็นการใหญ่ ส่วนนางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์ไม่กล้าจะทูลความจริง เพราะคิดว่าสินไซคงตายแล้ว วันหนึ่งพ่อค้าสำเภาได้พบผ้าสไบซึ่งเป็นผ้ากษัตริย์ จึงนำมาถวายท้าวกุศราช นางสุมณฑาเห็นผ้าของตนที่อธิฐานไว้ จึงทราบว่าพระสินไซยังมีชีวิตอยู่ จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุศราชฟัง ท้าวกุศราชจึงจัดงานฉลองพระนครเจ็ดวันเจ็ดคืน เพื่ออุบายให้ท้าวสินไซมาเที่ยวงานเฉลิมฉลอง และให้นางสุมณฑาคอยติดตามดูคนมาเที่ยวงานเพื่อตามหาสินไซ ฝ่ายสินไซเมื่อถูกผลักตกเหวร้อนถึงพระอินทร์ ๆ มาช่วยชุบชีวิตแล้วให้กลับไปอยู่กับมารดาตามเดิม

เมื่อมีงานฉลองพระนครก็ไปเดินเที่ยว นางสุมณฑาพบเข้าจึงให้เข้าเฝ้าท้าวกุศราช ๆ สอบถามความจริงจึงสั่งให้ประหารหมอหูฮา และขับไล่พระกุมารทั้งหกและพระชายาทั้งหกไปอยู่เมืองจำปา ท้าวกุศราชก็แต่งราชรถไปรับพระชายาและสินไซเข้าเมือง ส่วนนางสุดาจันทร์ท้าวิรุณนาคมาขอไปเป็นชายาเหมือนเดิม ท้าวสินไซก็ได้ครองราชย์ปกครองราษฎรอยู่ในทศพิธิราชธรรมสืบมา

  กษัตริย์นครโรมวิสัยมีพระราชธิดาที่สวยงามมาก พระราชธิดานี้เมื่อประสูติมีเรื่อนไม้เล็กๆติดมือออกมาด้วย เรือนนี้เมื่อพระธิดาเจริญวัยขึ้น เรือนไม้นี้ก็โตขึ้นด้วยและกลายเป็นของเล่นของพระราชธิดา พระบิดาจึงตั้งชื่อพระราชธิดาว่า โสนน้อยเรือนงาม เมื่อโสนน้อยเรือนงามมีพระชนม์พรรษาได้สิบห้าพรรษา โหรทูลพระบิดาว่าโสนน้อยเรือนงามกำลังมีเคราะห์ ควรให้ออกไปจากเมืองเสีย เพราะจะต้องอภิเษกกับคนที่ตายแล้ว พระบิดาและพระมารดาก็จำใจให้โสนน้อยเรือนงามออกไปจากเมืองแต่ผู้เดียว โสนน้อยเรือนงามปลอมตัวเป็นชาวบ้านและเอาเครี่องทรงพระราชธิดาห่อไว้ พระอินทร์สงสารนางจึงแปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ โสนน้อยเรือนงามเดินทางเข้าไปในป่าพบนางกุลาหญิงใจร้ายนอนตายเพราะถูกงูกัด โสนน้อยเรือนงามจึงนำยาของชีปะขาวมารักษา นางกุลาก็ฟื้น นางจึงขอเป็นทาสติดตามโสนน้อยเรือนงาม
        ที่นครนพรัตน์เมืองใกล้เคียงโรมวิสัยมีกษัตริย์ครองอยู่ มีพระราชโอรสนามว่า พระวิจิตรจินดา ซึ่งเป็นชายหนุมรูปงามและมีความสามารถ แต่วันหนึ่งพระวิจิตรจินดาถูกงูพิษกัดสิ้นพระชนม์ พระบิดาและ
พระมารดาเศร้าโศรกเสียใจมาก แต่โหรทูลว่า พระวิจิตรจินดาจะสิ้นพระชนม์ไปเจ็ดปีแล้วจะมีพระราชธิดาของเมื่องอื่นมารักษาได้ พระบิดาและพระมารดาจึงเก็บพระศพของพระวิจิตรจินดาไว้ และมีประกาศให้คนมารักษาให้ฟื้น
       
โสนน้อยเรือนงาม

กษัตริย์นครโรมวิสัยมีพระราชธิดาที่สวยงามมาก พระราชธิดานี้เมื่อประสูติมีเรื่อนไม้เล็กๆ
ติดมือออกมาด้วย เรือนนี้เมื่อพระธิดาเจริญวัยขึ้น เรือนไม้นี้ก็โตขึ้นด้วยและกลายเป็นของเล่นของพระราชธิดา พระบิดาจึงตั้งชื่อพระราชธิดาว่า โสนน้อยเรือนงาม เมื่อโสนน้อยเรือนงามมีพระชนม์พรรษาได้สิบห้าพรรษา โหรทูลพระบิดาว่าโสนน้อยเรือนงามกำลังมีเคราะห์ ควรให้ออกไปจากเมืองเสีย เพราะจะต้องอภิเษกกับคนที่ตายแล้ว พระบิดาและพระมารดาก็จำใจให้โสนน้อยเรือนงามออกไปจากเมืองแต่ผู้เดียว โสนน้อยเรือนงามปลอมตัวเป็นชาวบ้านและเอาเครี่องทรงพระราชธิดาห่อไว้ พระอินทร์สงสารนางจึงแปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ โสนน้อยเรือนงามเดินทางเข้าไปในป่าพบนางกุลาหญิงใจร้ายนอนตายเพราะถูกงูกัด โสนน้อยเรือนงามจึงนำยาของชีปะขาวมารักษา นางกุลาก็ฟื้น นางจึงขอเป็นทาสติดตามโสนน้อยเรือนงาม.
ที่นครนพรัตน์เมืองใกล้เคียงโรมวิสัยมีกษัตริย์ครองอยู่ มีพระราชโอรสนามว่า พระวิจิตรจินดา ซึ่งเป็นชายหนุมรูปงามและมีความสามารถ แต่วันหนึ่งพระวิจิตรจินดาถูกงูพิษกัดสิ้นพระชนม์ พระบิดาและพระมารดาเศร้าโศรกเสียใจมาก แต่โหรทูลว่า พระวิจิตรจินดาจะสิ้นพระชนม์ไปเจ็ดปีแล้วจะมีพระราชธิดาของเมื่องอื่นมารักษาได้ พระบิดาและพระมารดาจึงเก็บพระศพของพระวิจิตรจินดาไว้ และมีประกาศให้คนมารักษาให้ฟื้น.
โสนน้อยเรือนงามและนางกุลาเดินทางมาถึงเมืองนพรัตน์ได้ทราบจากประกาศ จึงเข้าไปในวังและอาสาทำการรักษา โดยขอให้กั้นม่านเจ็ดชั้น ไม่ให้ใครเห็นเวลารักษา โสนน้อยเรือนงามแต่งเครื่องทรงพระราชธิดาทำการรักษา โดยนางกุลาติดตามเฝ้าดู เมื่อโสนน้อยเรือนงามทายาให้พระวิจิตรจินดา พิษของนาคราชเป็นไอร้อนออกมาทำให้นางรู้สึกร้อนมาก จึงถอดเครื่องทรงพระราชธิดาออกแล้วเสด็จไปสรงน้ำ ระหว่างนั้นนางกุลาก็นำเครื่องทรงพระราชธิดาของโสนน้อยเรือนงามามแต่ง พอดีพระวิจิตรจินดาฟื้น ทุกคนก็คิดว่านางกุลาเป็นพระราชธิดาที่รักษาจึงเตรียมจะให้อภิเษก ส่วนโสนน้อยเรือนงามต้องกลายเป็นข้าทาสของนางกุลาไป พระวิจิตรจินดาและพระบิดาและพระมารดาก็ยังมีความสงสัยในนางกุลา จึงให้นางเย็บกระทงใบตองถวาย นางกุลาทำไม่ได้โยนใบตองทิ้งไป โสนน้อยเรือนงามเก็บใบตองมาเย็บเป็นกระทงสวยงาม นางกุลาก็แย้งไปถวายพระราชบิดามารดาของพระวิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดาไม่อยากอภิเษกกับนางกุลาจึงขอลาพระบิดาพระมารดาไปเที่ยวทางทะเล พระบิดาพระมารดาให้นางกุลาย้อมผ้าผูกเรือ นางกุลาก็ทำไม่เป็น โยนผ้าและสีทิ้ง โสนน้อยเรือนงามเก็บผ้าและสีไปย้อมได้สีงดงาม นางกุลาก็แย้งนำไปถวายพระบิดาพระมารดาอีก.
เมื่อพระวิจิตรจินดาจะออกเรือก็ปรากฎว่าเรือไม่เคลื่อนที่พระวิจิตรจินดาทรงคิดว่าคงมีผู้มีบุญในวังต้องการฝากซื้อของ เรือจึงไม่เคลื่อนที่จึงให้ทหารมาถามรายการของที่คนในวังจะฝากซื้อ ทุกคนก็ได้มีโอกาสฝากซื้อ แต่โสนน้อยเรือนงามอยู่ใต้ถุนถึงไม่มีใครไปถาม เรือก็ยังไม่เคลื่อนที่ พระวิจิตรจินดาจึงให้ทหารกลับไปค้นหาคนในวังที่ยังไม่ได้ฝากซื้อของ ทหารจึงได้ไปค้นหานางโสนน้อยเรือนงามได้ นางจึงฝากซื้อ ” โสนน้อยเรือนงาม ” เมือพระวิจิตรจินดาเดินทางไป ลมก็บันดาลให้พัดไปยังเมืองโรมวิสัยของพระบิดาของโสนน้อยเรือนงาม พระวิจิตรจินดาซื้อของฝากได้จนครบทุกคน ยกเว้นโสนน้อยเรื่อนงาม พระวิจิตรจินดาจึงสอบถามจากชาวเมือง ชาวเมืองบอกว่าโสนน้อยเรือนงามมีอยู่แต่ในวังเท่านั้น พระวิจิตรจินดาจึงเข้าไปในวังและทูลขอซื้อโสนน้อยเรือนงามไปให้นางข้าทาส พระบิดาของโสนน้อยเรือนงามทรงถามถึงรูปร่างหน้าตาของนางทาส ก็ทรงทราบว่าเป็นพระธิดา จึงมอบโสนน้อนเรือนงามให้พระวิจิตรจินดาและให้ทหารตามมาสองคน.
เมื่อพระวิจิตรจินดากลับถึงบ้านเมือง ทหารสองคนก็ไปทำความเคารพนางโสนน้อยเรือนงาม และเรือนวิเศษก็ขยายเป็นเรือนใหญ่มีข้าวของเครื่องใช้พระธิดาครบถ้วน โสนน้อยเรือนงามก็เข้าไปอยู่ในเรือนนั้น พระวิจิตรจินดาจึงแน่ใจว่าโสนน้อยเรือนงามเป็นพระราชธิดาที่รักษาตน จึงจะฆ่านางกุลาแต่โสนน้อยเรือนงามขอชีวิตไว้ พระวิจิตรจินดาก็ได้อภิเษกกับนางโสนน้อยเรือนงามและอยู่ด้วยกันมีความสุขสืบไปAdvertisements
Report this 

  






                                               
                                               ตัวอย่างการตั้งซุ้ม  ตอนจบในการแสดง 
...................................................................................... 

คำชี้แจง ** ให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อทดสอบตนเองก่อนเรียน โดยเขียนคำถาม-คำตอบที่เลือกลงในสมุดเพียงคำตอบเดียว รวม 40 ข้อ และให้เฉลยมาให้เสร็จสิ้น (ดูด้านล่างต่อจากโขน)
                     


































 ติวข้อสอบ                                

 ละครไทยเกิดขึ้นครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา
 ละครชาตรี  คือละครที่เกิดขึ้นครั้งแรก มีตัวละครคือ พระเอกหรือนายโรง นางเอกและตัวตลก ชายแสดงล้วน
ละครที่นิยมเล่นแก้บนคือละครชาตรี
ละครนอก   เป็นละครที่เล่นนอกวังวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี  ผู้ชายแสดงล้วน เป็นละครของชาวบ้านมุ่งแสดงตลกแบบหยาบโลน ไม่เคร่งครัดแบบแผนกษัตริย์สามารถเล่นตลกได้ นิยมเล่นเรื่องสังข์ทอง  โดยเฉพาะตอนรจนาเสี่ยงพวงมาลัย ละครนอกวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี
-บทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่2  มี 6 เรื่อง สังข์ทอง  ไกรทอง  คาวี  มณีพิไชย  สังข์สินไชย  ไชยเชษฐ์   ส่วนละครอื่นๆเช่น จันทโครพ   ยอพระกลิ่น  แก้วหน้าม้า  ปลาบู่ทอง   เป็นเรื่องที่มีแต่สมัยอยุธยา
ละครใน  ใช้ผู้หญิงหรือนางในของกษัตริย์แสดงล้วน       ห้ามใครทำเทียมกบัตริย์  ละครในมีความประณีตเน้นท่ารำ  ท่ารำต้องงดงามเคร่งครัดแบบแผนในการแสดง ทุกอย่างสวยงามเพราะให้กษัตริย์ดูเพลงปี่พาทย์เช่นร่ายในหมายถึงการแสดงละครใน 
ในสมัยรัชกาลที่2  ได้รับยกย่องว่าเป็นสมัยยุคทองแห่งวรรณคดีการละคร  พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาและได้รับยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครรำ
-สมัยรัชกาลที่4  ได้อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละครได้และมีการเก็บเงินค่าโรงมหรสพในการแสดงด้วย
ละครเสภา  เสภารำเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่5  ส่วนเสภาทรงเครื่องเกิดขึ้นในสมัยรัชกาล4
ละครเสภา นิยมเล่นเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง มีกรับเป็นดนตรีชินสำคัญ
ละครหลวงวิจิตรวาทการ  เป็นลักษณะปลุกใจให้รักชาติ  อิงประวัติศาสตร์
ละครดึกดำบรรพ์  มีรากฐาน จากละครใน  เป็นละครแบบใหม่ได้แบบอย่างจากโอเปร่าของยุโรป   ที่ผู้แสดงร้องเองรำเองมีฉากประกอบ  นิยมเล่นเป็นตอนๆเจ้าของโรงละครคือเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์( ม.ร.ว.หลาน  กุญชร ) ส่วนผู้ที่คิดปรับปรุงขึ้นใหม่คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ละครพันทาง  มีรากฐานจากละครนอกมีหลายเชื้อชาติ  มีการแสดงออกภาษา  เช่น ราชาธิราช ผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์  ธำรง ( เพ็ง  เพ็ญกุล )
ลักษณะเด่น    คือ ผู้แสดงจะพูดสำเนียงภาษาของชาตินั้นๆ   ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก  ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง แทรกบทเจรจา  บทพูด  ท่ารำผสมผสานระหว่างไทยกับต่างชาติ
 เรื่องที่แสดง   ราชาธิราช  สามก๊ก  พระลอ  พระอภัยมณี  ฯลฯ
การแต่งกาย    ตามลักษณะของเชื้อชาตินั้นๆ  เช่น จีน แขก ฝรั่ง ฯลฯ
องค์ประกอบของละครที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆในละครคือ    บรรยากาศในละคร 
บทละครในสมัยรัชกาลที่6ๆ  ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งละครสมัยใหม่ สมัยนี้การละครเจริญสูงสุด  เรื่องที่แสดงเองในบทละครพูดคำฉันท์คือเรื่องมัทธนะพาธา  ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
สรุปละครไทย 
       ละครไทยมี 4 ประเภท
1.       ละครรำ  ได้แก่ ละครชาตรี   ละครนอก  ละครใน  และโขน
2.       ละครแบบปรับปรุงใหม่   ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์   ละครพันทาง  ละครเสภา  และละครหลวงวิจิตรวาทการ
3.       ละครร้อง   ได้แก่ ละครร้องสลับพูด  ละครร้องล้วนๆ  ละครสังคีต
4.       ละครพูด    ได้แก่ ละครพูดล้วนๆ  ละครพูดคำฉันท์ และละครพูดสลับลำ
รายละเอียดโดยสังเขป
       1.ละครรำ  ร่ายรำเป็นหลัก  เน้นการแต่งกายงดงาม
             1.1 ละครชาตรี   ผู้แสดงเป็นชายล้วน ไม่สวมเสื้อ  มีตัวละคร3 ตัวคือ พระเอกหรือนายโรง  นางเอก และตัวตลก 
เรื่องที่แสดง  พระสุธนมโนราห์  และพระรถเสน  ( นิยมพระสุธนมโนราห์)  ต่อมาผู้หญิงแสดงจริงสวมเสื้อ
ดนตรี             ใช้วงปี่พาทย์ชาตรี   เพลงขับร้องมีชาตรีต่อท้าย เช่น ชาตรีตลุง
            1.2 ละครนอก  เล่นนอกวังผู้ชายแสดงล้วน  ไม่เคร่งครัดแบบแผน กษัตริย์เล่นตลกได้  แต่งกายยืนเครื่อง
เรื่องที่แสดง     สังข์ทอง  ไกรทอง  คาวี  มณีพิไชย  สังข์สินไชย  ไชยเชษฐ์    ลักษณาวงศ์ฯลฯ
ดนตรี             ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า
            1.3 ละครใน  เล่นในวังเป็นละครของกษัตริย์  ผู้หญิงแสดงล้วน เคร่งครัดแบบแผน  แต่งกายยืนเครื่อง  เน้นร่ายรำ
 เรื่องที่แสดง     เล่นเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์  อิเหนา และอุณรุท
ดนตรี  ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า
            1.4 โขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงที่เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ  กำเนิดมาจากหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์  และกระบี่กระบอง  ซึ่งใช้ท่าเต้น  ท่าร่ายรำ  ท่าทางการต่อสู้   การแต่งกายยืนเครื่อง  สวมศีรษะโขน
เรื่องที่แสดง     รามเกียรติ์    เพียงเรื่องเดียว
....................................................................................................................................................

ไม่ต้องจด   โขน


โขน (อังกฤษ: Khon) เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้

เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ  โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์  มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ  ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนใช้วงปี่พาทย์
             ลักษณะสำคัญในการแสดงโขนคือ  สวมศีรษะครอบหน้า
             การดำเนินเรื่อง    โขนดำเนินเรื่องด้วยการพากย์เจรจา
 ประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑. โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต 
๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีการพักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"
  โขนหน้าจอ  คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์
  โขนโรงใน  คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น มีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม


  โขนฉาก  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์            ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง
 การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์"     กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์   นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ 2   โขนรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงอุปถัมภ์ด้านโขนละคร        พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ศิลปินให้เป็นขุนนางจนมีคำเรียกโขนหลวงว่า โขนบรรดาศักดิ์
การพากย์โขน
               1. พากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา ใช้ตอนผู้แสดงออกท้องพระโรง เช่น ตอนพระรามประทับอยู่ในเมือง หรือทศกัณฐ์เสด็จออกท้องพระโรง ก็เรียกพากย์เมือง แต่ถ้าพระรามเสด็จออกประทับพลับพลา (ในช่วงที่พระรามออกเดินดง) จึงเรียกพากย์พลับพลา การพากย์เมือง ผู้พากย์สามารถใส่อารมณ์ลงในบทเพลงนั้นๆ ได้ เช่น โกรธ รัก ดีใจ
                    2.พากย์โอ้ ใช้เมื่อตัวละครแสดงความเศร้าโศก คร่ำครวญ ร้องไห้ การพากย์จะรับด้วย ปี่พาทย์เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ก่อนที่จะรับ เพ้ยท้ายคำสุดท้ายมักสอดรับด้วยเพลงโอด ตัวอย่างบทพากย์โอ้ เช่น พระช้อนเกศขึ้นวางตัก พิศพักตร์แล้วรับขวัญ ยิ่งพิศยิ่งกระสัน ยิ่งโศกเศร้าในวิญญา (……………..เพ้ย)
    3.พากย์ชมดง ใช้ในโอกาสชมนกชมไม้ เป็นการสร้างจินตนาการในการพรรณนาถึง ความงดงามของพรรณไม้และนก ด้วยบทประพันธ์ซึ่งแสดงถึงชั้นเชิงและความสามารถของ ผู้ประพันธ์ การพากย์จะแทรกด้วยการร้องทำนองชมดงใน และจึงพากย์ ดังตัวอย่างเช่น เค้าโมงจับโมงมองเมียง คู่เคล้าโมงเคียง เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยง คอยยุดฉุดโฉลง โลดไล่ในกลางลางลิง
  4.พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย เช่น เสด็จทรงรถเพชรเพชรพราย  พรายแสงแสงฉาย
5.พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำนานรัตนธนู    สุครีพ  บรรยายรำพัน สอนพาลีซึ่งเป็นน้อง ตอนพาลี สอนน้อง
6.พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร เช่น ภูวไนยกวักเรียกหนุมานมา ตรัสสั่งกิจจา       ให้แจ้ง



โขน    มีกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
 ลักษณะเด่นคือ สวมศีรษะจำลองครอบหน้าเรียกว่าหัวโขน 
 ดำเนินเรื่องโดยการพากย์และเจรจา  ตัวละครไม่ต้องพุดเองจึงดูคล้ายละครใบ้
 ลักษณะการแต่งกาย  เรียกว่ายืนเครื่องเหมื่อนเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์
ประเภทของโขนดังนี้  
             โขนกลางแปลง  เล่นกลางแจ้ง ใช้พื้นที่มาก
             โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก  มีราวพาดให้ผู้แสดงนั่ง
             โขนโรงใน  ได้แบบอย่างละครใน มุ่งสวยงามประณีต
             โขนหน้าจอ   เล่นหน้าจอหนังใหญ่
             โขนฉาก   วิจิตรสวยงามมากที่สุด เกิดในสมัยรัชกาลที่5

กำเนิดโขน  โขนมาจากการนำศิลปะการแสดง 3 แบบ มาผสมผสานกันได้แก่
                      1. ชักนาคดึกดำบรรพ์  ในพิธีอินทราภิเษก  ได้แบบการแต่งกาย

                     2. การแสดงหนังใหญ่     โขนได้นำวิธีการพากย์-เจรจา การบรรเลงเพลงปี่พาทย์  ตลอดจนท่าเต้นของผู้เชิดหนัง  ที่ต้องยกแข้งยกขา
3.กระบี่กระบอง  โดยนำเอาศิลปะการต่อสู้มาเป็นแบบอย่างในการแสดงโขน

 ลักษณะคำประพันธ์ในการแสดงโขน  ใช้กลอนแปดหรือกลอนบทละคร  ร่ายยาว  คำพากย์ใช้กาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง16  เช่นตอนพระรามคร่ำครวญถึงนางสีดา  จะใช้พากย์โอ้  พาลีต่อว่าต่อขานสุครีพ ใช้ พากย์บรรยาย
ชนิดของบทพากย์โขนแบ่งออกเป็น 6 ชนิด  ได้แก่
        1.พากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา  
        2.พากย์รถ 
        3.พากย์ชมดง 
        4.พากย์โอ้
        5.พากย์บรรยายหรือรำพัน
        6.พากย์เบ็ดเตล็ด  ใช้ในโอกาสทั่วๆไป อันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เข้าประเภทใด
               โอกาสที่แสดงโขน  


นิยมมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ เพียงเรื่องเดียว ในบทพระราชนิพันธ์ในรัชกาลที่2  เพราะเหมาะกับการแสดง  แต่รามเกียรติ์ของรัชกาลที่1   เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด  แต่เยิ่นเย้อไม่เหมาะกับการแสดง
ทั้งนี้รามยณะของอินเดียเป็นต้นกำเนิดมีบทบาทและเป็นแบบอย่างมากที่สุด
เครื่องดนตรี   ใช้วงปี่พาทย์
อาวุธของพระนารายณ์มี  ตรี  จักร  สังข์  คธา     ส่วน หนุมานมี  ตรีเพชร

















 เล่าในกาลต่อมา พระราหูได้แอบขโมยน้ำอมกฤตเพื่อดื่มกินให้ตนเองเป็นอมตะ มีอำนาจเหนือเทพยดาทั้งหลาย แต่พระอาทิตย์และพรจันทร์ซึ่งคอยระวังเรื่องนี้อยู่แล้วแอบรู้เห็นการกระทำของพระราหูเข้าจึงทูลต่อพระนารายณ์ เมื่อพระนารายณ์ทรงทราบว่าพระราหูอาจเป็นภัยต่อทั้งสามโลก จึงทรงกริ้วนัก ขว้างจักรเข้าตัดกลางกายของพระราหู แต่ดีที่ว่าพระราหูนั้นได้ดื่มกินน้ำอมกฤตเข้าไปแล้วจึงหาสิ้นใจลงไม่ แม้มีครึ่งกายก็มีอำนาจท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นท่อนล่างมีลักษณะเป็นงูนั้น ได้กลายเป็นเทพยดาขึ้นใหม่อีกพระองค์หนึ่งนามว่าพระเกตุ ทรงฤทธิ์เดชไม่แพ้กัน ถือว่าพระเกตุนี้เป็นเทพคุ้มครองดวงชะตาใครมีพระเดชกุมลักษณ์คนนั้นมักปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
     ส่วนพระราหูนั้นคิดแค้นใจในพระอาทิตย์และพระจันทร์มาเสมอที่แอบนำเรื่องที่ตนดื่มกินน้ำอมฤตไปทูลฟ้อง จนเป็นเหตุให้ตนเองต้องโดนจักรพระนารายณ์ตัดร่างขาดเป็นสองท่อนเช่นนี้ เมื่อได้โอกาสเหมาะเมื่อใดพระราหูจึงเข้าจับพระอาทิตย์พระจันทร์มากลืนกินทุกครั้ง แต่เมื่อได้ยินเสียงตีเกราะเคาะไม้ก็คายพระอาทิตย์พระจันทร์ออกมา การกลืนพระอาทิตย์พระราหูก็เรียกว่าสุริยคราส การกลืนพระจันทร์ก็เรียกว่า จันทรคราส คือปรากฏการณ์อันน่าตื่นเต้นทางดาราศาสตร์ทุกวันนี้

เฉลย   ละครไทย

1
ข.อยุธยา
2
ข.พระรถ – เมรี
3.
ก.ละครชาตรี
4
ง.ข้อ ค  ผิด
5.
ค.ละครชาตรี
6
ก.รัชกาลที่ 2
7
ง. ข้อ ก  และ  ข  ถูก
8.
ข. รัชกาลที่ 4
9
ก.    ละครใน
10
ข.   ละครชาตรี
11
ค.   ละครใน
12
ก.   เน้นปลุกใจ
13
ค.กษัตริย์เล่นตลกได้
14.
ค. ไกรทอง
15
ก.เน้นตลกสนุกบางครั้งหยาบโลน
16
ค.รัชกาลที่5
17
ง.    สังข์ทอง
18
ข.   รัชกาลที่4
19
ค.   ละครใน
20
  ก.ละครดึกดำบรรพ์
21
    ข.สังข์ทอง
22
  ค.เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
23
ค.ชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
24
ง.ไม่มีข้อผิด
25
ก.   จันทโครพ
26
ข.   ละครพันทาง
27
ข.ละครพันทาง
28
ก.   ละครเสภา
29
ข.   ละครนอก
30
ค.อารยธรรมสมัยใหม่
31
ง.บรรยากาศในละคร
32
ค.สมศรีเลือกชมละครที่มีแง่คิด
33
ค.   เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
34
ง.ฝึกควบคุมอารมณ์
35
ค.รัชกาลที่6
36
ก.   รักนี้มีทุกข์
37
ข.ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
38
ค.การแตกความสามัคคี
39
ข.   รัชกาลที่6
40
ง.การเลียนแบบ






                                 






















.......................................................................................................................................
องค์ประกอบของบทละคร
การเขียนบทละครนั้น นอกจากผู้สร้างสรรค์บทละครจะเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ และได้รับการฝึกฝน
ให้เกิดความชำนาญ นำเสนอความรู้ ความคิดจินตนาการ ตลอดจนประสบการณ์ถ่ายทอดผ่านบทละคร
ได้อย่างมีความหมายแล้ว บทละครที่ได้รับการสร้างสรรค์จะต้องมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอให้บทละคร
มีคุณค่าต่อผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าต่อชีวิตประจำวัน คุณค่าต่อจิตใจรวมทั้งคุณค่าต่อการสร้างสรรค์สังคม
แต่บทละครจะสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบของบทละคร
ซึ่งองค์ประกอบของบทละครที่สำคัญดังนี้
1. โครงเรื่อง เป็นการกำหนดให้เหตุการณ์หรือเรื่องราวดำเนินไปอย่างมีลำดับ มีเหตุมีผลมีความต่อเนื่อง
เหตุการณ์หรือเรื่องราวจะต้องสัมพันธ์กันในแต่ละฉากแต่ละตอน อาจเรียกได้ว่าหากตัดฉากใดหรือตอนใด
ออกไปอาจทำให้การดำเนินโครงเรื่องไม่สมบูรณ์ โครงเรื่องที่ดีนั้นจะต้องทำให้ผู้ชมเข้าใจว่า
ได้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับเรื่องราวในละคร อีกทั้งในการวางโครงเรื่องนั้นจะต้องตระหนักถึงส่วนประกอบ
ที่สำคัญในการกำหนดโครงเรื่อง คือ
1.1      การปูพื้น คือ การวางแนวทางว่าจะนำเสนอบทละครในแนวทางใด
1.2      การเตรียมเรื่อง คือ การลำดับว่าเหตุการณ์ใดจะนำไปสุ่เหตุการณ์ใด
1.3      จุดเริ่มเรื่อง คือ จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ท่ำให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ตามมา
1.4      เหตุการณ์กระตุ้น คือ เหตุการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งให้ตัวละครต้องตัดสินใจกระทำเหตุการณ์หนึ่ง ๆ
1.5      จุดสูงสุดของเรื่อง คือ เหตุการณ์สำคัญของเรื่องราว
1.6      จุดจบของเรื่อง คือ เรื่องราวที่เป็นบทสรุปของละคร หรือสรุปตัวละคร
2.  ลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของตัวละคร ตัวละครจะถูกกำหนดบทบาท
ให้มีบุคลิกลักษณะเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับทัศนคติของตัวละครต่อสื่อสิ่งต่าง ๆ
หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำมาสู่วิถีการดำเนินชีวิตของตัวละคร ซึ่งลักษณะนิสัย
และบุคลิกภาพของตัวละคร จะเป็นการวางบทบาทหรือกำหนดบทบาทโดย
ผู้สร้างสรรค์บทละคร โดยจำเป็นจะต้องกำหนด ชื่อ อาชีพ เพศ วัย การศึกษา
ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม รวมทั้งกิริยามารายาทต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นอุปนิสัย
ใจคอของตัวละครนั้น ๆ และตัวละครที่กำหนดบทบาทขึ้นนั้นจะต้องมีความชัดเจน
ในลักษณะภายนอก เช่น ผิวพรรณ รูปร่าง หน้าตาหรือไม่ก็จะต้องชัดเจนในเรื่องของ
ความรู้ผิดชอบ ความมีคุณธรรม และคุณความดีของตัวละครนั้น ๆ แทนการบอกลักษณะ
ภายนอกอย่างชัดเจนก็ได้
3. ลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของตัวละคร ตัวละครจะถูกกำหนดบทบาทให้มีบุคลิก
ลักษณะเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับทัศนคติของตัวละครต่อสื่อสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่นำมาสู่วิถีการดำเนินชีวิตของตัวละคร ซึ่งลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของตัวละคร จะเป็น
การวางบทบาทหรือกำหนดบทบาทโดยผู้สร้างสรรค์บทละคร โดยจำเป็นจะต้องกำหนด ชื่อ
อาชีพ เพศ วัย การศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม รวมทั้งกิริยามารายาทต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้
เห็นอุปนิสัย ใจคอของตัวละครนั้น ๆ และตัวละครที่กำหนดบทบาทขึ้นนั้นจะต้องมีความชัดเจน
ในลักษณะภายนอก เช่น ผิวพรรณ รูปร่าง หน้าตาหรือไม่ก็จะต้องชัดเจนในเรื่องของความรู้ผิดชอบ
ความมีคุณธรรม และคุณความดีของตัวละครนั้น ๆ แทนการบอกลักษณะภายนอกอย่างชัดเจนก็ได้
4. ลักษณะการใช้ภาษา การถ่ายถอดเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านการคิดจินตนาการ
และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์บทละครออกมาเป็นคำพูด ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของบทร้อยกรอง
ร้อยแล้ว โคลง กลอน หรือบทเจรจาก็ได้ การสร้างสรรค์ผลงานที่ดีจะต้องมีการใช้บทพูดหรือบทเจรจา
ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ และลักษณะนิสัยของตัวละคร การใช้บทเจรจาในละครแต่ละเรื่องจะต้องสะท้อน
ให้เห็นถึงนิสัย ความคิด รวมทั้งอารมณ์ของผู้แสดงจะต้องมีความชัดเจน มีความหมาย มีความคมคายเพื่อ
นำเสนอให้น่าสนใจ มีชีวิตชีวา และเหมาะสมกับตัวละครนั้น ๆ รวมทั้งจะต้องมีลักษณะที่เหมือนกับธรรมชาติ
ที่พูดคุยอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อความสมจริงและน่าติดตามชม
5. เพลงประกอบ เป็นการถ่ายทอดความคิด จินตนาการที่ผู้สร้างสรรค์บทละครต้องการถ่ายทอดออกมา
โดยให้ผู้แสดงขับร้อง หรือนำมาเป็นเพลงประกอบการแสดง ซึ่งแสดงต่าง ๆ จะต้องสอดคล้องกับบทละคร
มีความหมายสะท้อนให้เห็นความคิดและนิสัย รวมทั้งความรู้สึกของตัวละครแทนการเจรจา เพลงประกอบ
จะต้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ ในบทละคร เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ และมีความน่าสนใจในการนำเสนอ
ผลงานละครต่อผู้ชม
6. ลักษณะลีลาของตัวละคร หมายถึง การแสดงละครจะสะท้อนให้เห็นภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทบาท
ที่แสดงผ่านลีลา ท่าทาง ใบหน้า การเคลื่อนไหว ลักษณะต่าง ๆ ของผู้แสดง ซึ่งจะสมบูรณ์แบบได้นั้นจะต้อง
แสดงให้เกิดความสมจริง เมื่อถ่ายทอดผ่านลีลาแล้วอาจไม่ต้องใช้บทเจรจาเพราะลีลาท่าทางใบหน้า
และการเคลื่อนไหวสามารถสื่อให้เห็นภาพต่าง ๆ ความคิด จินตนาการอย่างชัดเจนแล้ว


ละครในเรื่องอิเหนา





ละครนอกเรื่องสังข์ทอง
  

ละครชาตรี



ละครพันทางเรื่องพระลอ




ละครดึกดำบรรพ์







..............................................................................................................................................................


คำชี้แจงการแสดงละครบูรณาการ 

       4.1 เขียนโครงเรื่องละครอย่างย่อ  มี 2 ฉากๆที่2 ให้แสดงท่าทางประกอบเพลงๆ ส่งตัวอย่างให้เลือกแล้ว  ( ตัวอย่าง 418 )ตัวละคร 2 กลุ่ม/1เรื่อง  ให้เลือกตัวละครดังนี้  ผู้กำกับและเขียนบท ( หัวหน้าทั้ง  4 คน )  ตัวเอก (ตัวเด่นและสำคัญ มีหลายคนได้) นักแสดงนาฏศิลป์  พระ(ถ้ามี )  ชาวบ้าน   พ่อค้าแม่ค้า (ถ้ามี)   ทุกคนต้องมีบทพูด  

       4.2 แยกซ้อมจากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่  เช่น ฉากที่1 ตัวละครที่ต้องพูดและแสดงร่วมกันมีกี่คน  แยกฝึก นักแสดงนาฏศิลป์แยกฝึกเพลงจากละคร 1 เพลง










ตัวอย่างละครไทยและละครพื้นบ้าน

 แล้วแต่โอกาสในการแสดงนั้นๆ

2. ละครแบบปรับปรุงใหม่
          2.1 ละครดึกดำบรรพ์  คำว่าดึกดำบรรพ์  คือชื่อของโรงละคร เจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์                                       (  ม.ร.ว.หลาน  กุญชร ) ส่วนผู้ที่คิดปรับปรุงขึ้นใหม่คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์    โดยนำเอาการแสดงโอเปร่าหรืออุปรากร  มาประยุกต์กับละครใน  
ลักษณะเด่น    คือ ผู้แสดงจะร้องเอง รำเอง ฉากวิจิตรตระการตา
เรื่องที่แสดง    เล่นเป็นตอนๆเช่นรามเกียรติ์ตอนศุรปนักขา  ตีสีดา   กรุงพาณชมทวีป  บุษบาชมศาล
การแต่งกาย   ยีนเครื่องอย่างละครใน
ดนตรี          ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  เน้นเรื่องดนตรีที่มีเสียงนุ่มทุ้ม


             2.2 ละครพันทาง    หมายถึงละครที่มีการผสมผสานกันหลายเชื้อชาติ หรือที่เรียกว่า 12 ภาษา
ผู้ให้กำเนิดละครคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์  ธำรง ( เพ็ง  เพ็ญกุล )
ลักษณะเด่น    คือ ผู้แสดงจะพูดสำเนียงภาษาของชาตินั้นๆ   ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก  ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง แทรกบทเจรจา  บทพูด  ท่ารำผสมผสานระหว่างไทยกับต่างชาติ
 เรื่องที่แสดง   ราชาธิราช  สามก๊ก  พระลอ  พระอภัยมณี  ฯลฯ
การแต่งกาย    ตามลักษณะของเชื้อชาตินั้นๆ  เช่น จีน แขก ฝรั่ง ฯลฯ
ดนตรี            วงปี่พาทย์ไม้นวม        

            2.3 ละครเสภา   ละครเสภามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา   โดยกำเนิดมาจากการเล่านิทานหรือเล่าแบบคำกลอน
ใช้กรับประกอบ  จึงเรียกว่า  การขับเสภา  ผู้คิดค้นหรือให้กำเนิดคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  ได้นำละครพันทางมาดำเนินเรื่องในการขับเสภา  เรียกว่า ละครเสภา  มีการใช้ฉากและเปลี่ยนประกอบ  เสภาทรงเครื่องเกิดในสมัยรัชกาลที่4    เสภารำเกิดในสมัยรัชกาลที่5
เรื่องที่แสดง   นิยมเล่น  ขุนช้างขุนแผน  ไกรทอง
การแต่งกาย    แต่งกายตามท้องเรื่อง  หรือตามลักษณธสัญชาติของตัวละคร
ดนตรี         วงปี่พาทย์  
            2.4 ละครหลวงวิจิตรวาทการ  คือละครแบบปลุกใจ    เน้นให้รักชาติ  ผู้ให้กำเนิดคือหลวงวิจิตรวาทการ            (  กิมเหลียง  วัฒนปฤดา )  โดยนำประวัติศาสตร์ชาติไทยมาปรับปรุงเป็นการแสดงละคร  เนื้อเรื่องหลากหลายอารมณ์
ตัวเอกพลีชีพเพิ่อชาติ   มีระบำ  รำ ฟ้อนแทรกในการแสดง  มีการขับร้องทั้งเพลงไทยเดิม  ไทยสากล
เรื่องที่แสดง     ศึกถลาง  อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง
การแต่งกาย    คล้ายละครพันทาง
ดนตรี               ใช้วงดนตรีไทยและดนตรีสากล

3.ละครร้อง   บางครั้งเรียกว่าละครปรีดาลัย มีกำเนิดจากละคร บังสาวัน ของมาลายู    ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นละครหลวงนฤมิตร  ผู้ให้กำเนิดคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปปพันธ์พงศ์ 
เรื่องที่แสดง     สาวเครือฟ้า   ตุ๊กตายอดรัก  ขวดแก้วเจียระไน  แต่งกายตามสมัย
            3.1 ละครร้องสลับพูด   หรือละครปรีดาลัย   ใช้ผู้หญิงแสดงเท่านั้น  ยกเว้นตัวตลก   เน้นการร้องแต่ แทรกบทพูด
            3.2 ละครร้องล้วนๆ    สาวิตรี














      ศึกษาเรื่องราวละครพื้นบ้าน


ละครในเรื่อง  อุณรุท

เนื้อเรื่องย่อ


ท้าวกรุงพาณผู้ครองกรุงรัตนากำเริบพาบริวารไปเที่ยวไล่ต้อนหมู่นางฟ้าและเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระอิศวรได้รับคำร้องทุกข์จากทวยเทพ จึงเชิญพระนารายณ์ให้อวตารไปยังโลกมนุษย์เพื่อปราบท้าวกรุงพาณ โดยประทานธำมรงค์ซึ่งเป็นเทพอาวุธแก่พระนารายณ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระบรมจักรกฤษณ์ครองกรุงณรงกา มีพระนางจันทมาลีเป็นมเหสี มีโอรสพระนามว่าไกรสุท เมื่อพระไกรสุทมีพระชนมายุ 17  ชันษา พระบรมจักรกฤษณ์มอบราชสมบัติแก่โอรส  และออกบำเพ็ญพรตในป่าหิมพานต์  ต่อมาพระไกรสุทมีโอรสพระนามว่าอุณรุท
ท้าวกรุงพาณฉวยโอกาสที่เหล่าทวยเทพเข้าเฝ้าพระอิศวรในวันนักขัตฤกษ์แปลงร่างเป็นเทวดาเจ้าของวิมานเชยชมนางฟ้าในวิมานนั้นๆ หลังจากนั้นได้แปลงร่างเป็นพระอินทร์และเข้าเชยชมนางสุจิตรา นางเสียใจที่เสียรู้จึงลาพระอินทร์ลงไปยังโลกมนุษย์  เกิดในดอกบัวเพื่อรอแก้แค้นท้าวกรุงพาณ พระฤาษีสุธาวาสมาพบเข้าและนำไปเลี้ยง  ตั้งชื่อว่านางอุษา  ต่อมาท้าวกรุงพาณมาขอนางไปเลี้ยงเป็นธิดา
เมื่อพระอุณรุทมีพระชนมายุได้ 16 ชันษา  ท้าวอุทุมราชถวายราชธิดาชื่อศรีสุดา (บางแห่งใช้สุดา)  ให้เป็นมเหสี พระอุณรุทพามเหสีศรีสุดาและบริวารประพาสป่า  พระอินทร์ให้พระมาตลีแปลงเป็นกวางทองล่อพระอุณรุทไปยังต้นไทร นางศรีสุดาเห็นกวางทองอยากได้ไปเลี้ยง  จึงขอให้พระอุณรุทจับให้  พระอุณรุทตามกวางไปถึงต้นไทรแล้วกวางก็หายไป  พระอุณรุทพักค้างคืนใต้ต้นไทร  พระไทรเทพารักษ์ได้อุ้มพระอุณรุทไปสมกับนางอุษา โดยร่ายมนตร์ไม่ให้ทั้งสองพูดกันได้  แล้วพรากทั้งสองคนก่อนสว่าง  นางศุภลักษณ์พี่เลี้ยงของนางอุษาอาสาเดินทางไปวาดรูปชายหนุ่มต่างๆ เพื่อสืบหาผู้ที่มาสมนางอุษา นางเดินทางไปวาดรูปถึง 3 ครั้งจึงได้ภาพพระอุณรุทมา  นางอุษาขอให้นางศุภลักษณ์พาพระอุณรุทมาอยู่กับนาง  โดยมอบแหวนและสไบของนางเพื่อให้นางศุภลักษณ์แสดงเป็นหลักฐานแก่พระอุณรุท  พระอุณรุทยอมให้นางศุภลักษณ์อุ้มมายังนครรัตนา
ทางนครณรงกา เมื่อทราบว่าพระอุณรุทหายไปต่างก็ออกค้นหา  ท้าวไกรสุทกริ้วพระพี่เลี้ยงทั้ง 4 คนของพระอุณรุท และสังหารพระเพียรพิไชยซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยง พระบรมจักรกฤษณ์เสด็จมาเยี่ยมโอรสและนัดดา  ทราบเรื่องจึงรับสั่งให้ท้าวไกรสุทหาทางชุบชีวิตพระเพียรพิไชย พระนารอทมาช่วยชุบชีวิตให้
ทศมุขโอรสเจ้ากรุงพาณมาเยี่ยมนางอุษาถึงปราสาทและพบพระอุณรุทอยู่กับนางอุษา จึงกราบทูลให้ท้าวกรุงพาณทราบ ท้าวกรุงพาณยกทัพมาล้อมปราสาท พระอุณรุทสู้กับบริวาณของท้าวกรุงพาณจนบริวารดังกล่าวพากันหนีไป กาลานุราชเสนาบดีจึงกราบทูลแนะนำให้ท้าวกรุงพาณเชิญสหายกำพลนาคมาช่วยจับพระอุณรุท ในที่สุดก็จับได้และมัดพระอุณรุทติดกับยอดปราสาทเพื่อประจาน เหล่าทวยเทพกราบทูลพระบรมจักรกฤษณ์ให้ทราบเรื่อง พระบรมจักรกฤษณ์ทรงครุฑมาช่วยอุณรุท ท้าวกำพลนาคซึ่งมัดพระอุณรุทอยู่ ตกใจเมื่อเห็นครุฑของพระบรมจักรกฤษณ์ก็คลายร่างออก พระบรมจักรกฤษณ์ตัดแขนท้าวกรุงพาณขาดทั้ง 20 แขน แต่ท้าวกรุงพาณร่ายเวทต่อแขนได้ ฝ่ายกาลานุราชนำทัพเข้ารบกับพระบรมจักรกฤษณ์และพระอุณรุทจนถูกพระอุณรุทสังหาร ในที่สุดท้าวกรุงพาณถอยทัพ พระบรมจักรกฤษณ์ต้องการให้นัดดาปราบท้าวกรุงพาณ จึงมอบแหวนให้ แล้วพาพระอุณรุทมาอยู่กับนางอุษาที่ปราสาทของนาง เมื่อท้าวกรุงพาณทราบก็ยกทัพมาล้อมปราสาทนางอุษาอีก พระอุณรุทท้าท้าวกรุงพาณไปรบกันที่เขาอังชัน ท้าวกรุงพาณถูกพระอุณรุทตัดร่างแต่ก็ไม่ตาย ซ้ำยังมีร่างเพิ่มถึง 1,000 ตน  
ต่อมาพระอุณรุทตัดแขนท้าวกรุงพาณ 18 แขน ท้าวกรุงพาณสั่งลานางอุษาทั้ง 10 ปากแล้วสิ้นชีวิต นางไวยกาผู้เป็นมเหสีของท้าวกรุงพาณและโอรสทศมุขได้มาเฝ้าพระอุณรุทที่เขาอังชัน หลังจากเผาศพท้าวกรุงพาณแล้ว พระอุณรุทตั้งให้ทศมุขครองกรุงรัตนา แล้วพานางอุษากลับนครณรงกา  นางศรีสุดาหึงนางอุษาวิวาทกัน พระอุณรุททรงไกล่เกลี่ย ต่อมาท้าวไกรสุทมอบราชสมบัติแก่พระอุณรุท อภิเษกนางอุษาเป็นมเหสีฝ่ายขวา  นางศรีสุดาเป็นฝ่ายซ้าย  ต่อมาพระอุณรุททราบจากพรานป่าว่าพบช้างสำคัญ จึงเสด็จออกโพนช้างพร้อมไพร่พล พบนางกินรีทั้ง 5 และได้นางเป็นชายา  หลังจากลานางกินรีแล้วได้โพนช้างและนำช้างกลับนครณรงกา




สาวเครือฟ้า
 
 
 

สาวเครือฟ้า เป็นเรื่องราวของสาวเหนือผู้งดงามและแสนจะซื่อสัตย์ แต่กลับถูกสลัดรักจากทหารหนุ่มจากเมืองกรุง จนสุดท้ายสาวเหนือถึงกับบูชารักด้วยชีวิตเรื่อราวสาวเครือฟ้าในความคิดของคนส่วนใหญ่ คิดว่าเป็นเรื่องจริงไม่อิงนิยาย แต่ในความเป็นจริงกลับอิงนิยาย กล่าวคือดัดแปลงมาจากละครอุปรากรเรื่อง “มาดามบัตเตอร์ ฟลาย” (Madame Butterfly) ผลงานของ เกียโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) คีตกวีชาวอิตาลี ซึ่งเขาเองได้เค้าโครงเรื่องมาจากนวนิยายของ จอห์น ลูเธอร์ ลอง (John Luther Long) อีกทีหนึ่ง

มาดามบัตเตอร์ฟลาย มีเนื้อเรื่องย่อว่า สาวน้อยนาม “โจโจ้ซัง” เป็นบุตรีของซามูไรข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้ทำฮาราคีรีเพื่อรักษาเกียรติยศ ขณะที่โจโจ้ซังอายุได้ ๑๐ ขวบ เมื่อสิ้นบิดาฐานะจึงยากจนลง เธอถูกส่งไปอยู่สำนักเกอิชาในเวลาต่อมา กระทั่งอายุได้ ๑๕ ปี เธออยู่สำนักเกอิชา ณ ท่าเรือนางาซากิ ความงดงามของโจโจ้ซังร่ำลือระบือไกล เป็นที่หมายปองของชายหนุ่มน้อยใหญ่ แม้กระทั่งเจ้าชาย “ยามาโดริ” มหาเศรษฐียังมาหลงรัก ความงดงาม ความสวยน่ารักและความอ่อนโยนนี้เองทำให้เธอได้สมญาว่า “ผีเสื้อ” แห่งนางาซากิ

ครั้งนั้น พิงเคอร์ตัน นายเรืออเมริกันได้เดินทางมากับเรือรบถึงท่านางาซากิ เขาได้พบกับโจโจ้ซัง โดยการชักนำของนายหน้าจัดหาคู่ที่ชื่อ “โกโร่” พิงเคอร์ตันกับโจโจ้ซังเกิดมีใจปฏิพัทธ์รักใคร่กัน ตกลงจะแต่งงานกัน แต่ “ชาร์ปเลส” กงสุลอเมริกันไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะเกิดปัญหาภายหลัง เพราะโจโจ้ซังเป็นคนซื่อสัตย์ ยึดมั่นการสมรสเป็นข้อผูกพันตลอดชีวิต แต่พิงเคอร์ตัน เจ้าชู้เจ้าสำราญหาความแน่นอนไม่ค่อยได้ แต่พิงเคอร์ตันก็แต่งงานกับโจโจ้ซังจนได้ โดยไม่ฟังคำทัดทานของชาร์ปเลส ในวันแต่งงาน โจโจ้ซังประกาศสละศาสนาและความเชื่อในบรรพบุรุษ สร้างความไม่พอใจให้กับ “บอนซ์” นักบวชผู้เป็นลุง ถึงกับด่าทอ สาปแช่งต่างๆนานา พร้อมประกาศตัดสัมพันธภาพกับเธอตั้งแต่บัดนั้น

พิงเคอร์ตันอยู่กินกับโจโจซังจนโจโจ้ซังตั้งครรภ์ พิงเคอร์ตันต้องเดินทางกลับอเมริกา ก่อนกลับเขาให้สัญญาว่าจะกลับคืนมาเมื่อนก “รอบิน” ทำรังได้ ๓ ครั้ง คือ ๓ ปีนั่นเอง แต่แล้วเมื่อครบ ๓ ปี เขายังไม่กลับ มิหนำซ้ำยังแต่งงานใหม่กับหญิงอเมริกันชื่อ “เคท” ฝ่ายโจโจ้ซังกับบุตรน้อยก็ได้แต่รอคอย โดยมี “ซูซูกิ” สาวใช้คอยปลอบประโลมให้กำลังใจ

เรือรบกลับมานางาซากิอีกครั้ง พิงเคอร์ตันและเคทมาพร้อมเรือลำนั้น การกลับมาครั้งนี้เขาไม่กล้าสู้หน้าโจโจซัง เขาได้แต่ใช้ชาร์ปเลสไปบอกโจโจ้ซังว่าตนแต่งงานใหม่แล้ว และขอเอาลูกน้อยไปเลี้ยงดู เมื่อโจโจ้ซังทราบความจริง เธอเศร้าโศกเสียใจเป็นที่สุด และแล้วเธอก็หยิบมีดที่บิดาเคยใช้ทำฮาราคีรีออกมาอ่านถ้อยคำที่จารึกบนใบมีดว่า “ควรตายด้วยเกียรติ ดีกว่าอยู่โดยไร้เกียรติ” ก่อนจะจ่อมีดแทงคอตายปิดฉากรักอันแสนเศร้า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรละครอุปรากร (โอเปร่า) เรื่องนี้ ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ และเมื่อเสด็จนิวัติพระนครแล้วทรงเล่าประทานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง กรมพระนราธิปฯ จึงทรงดัดแปลงเป็นบทละครร้องโดยเปลี่ยนเป็นนิยายรักระหว่างนายทหารชาวกรุงกับสาวงามชาวเชียงใหม่ แล้วให้ชื่อเรื่องว่า “สาวเครือฟ้า” ซึ่งมีเรื่องย่อดังนี้

สาวเครือฟ้า เป็นธิดาของคนเลี้ยงช้างเชียงใหม่ มีความงดงามซื่อใสเป็นที่รักใคร่ของคนที่ได้พบเห็น ครั้งนั้นนายทหารหนุ่มจากบางกอกชื่อ “ร้อยตรีพร้อม” ขึ้นมารับราชการที่นครเชียงใหม่ เมื่อได้พบสาวเครือฟ้าก็ผูกสมัครรักกันและได้แต่งงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จนสาวเครือฟ้าตั้งครรภ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทยเข้าร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตรมีการระดมทหารไปรบที่ยุโรป ร้อยตรีพร้อมได้อาสาไปร่วมรบ โดยให้สัญญากับเครือฟ้าว่าจะกลับมาในเวลาไม่นาน ร้อยตรีพร้อมไปร่วมรบอย่างกล้าหาญ เมื่อกลับเมืองไทยก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น “พันตรีหลวงณรงรักษ์ศักดิ์สงคราม” แต่เนื่องจากในระหว่างสนามรบ เขาได้รับบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตก สมองถูกกระทบกระเทือน ความทรงจำเลอะเลือน แต่ก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากพยาบาลสาวที่ชื่อ “จำปา” ความใกล้ชิดทำให้นายทหารหนุ่มกับพยาบาลสาวรักใคร่ชอบพอกันจนได้แต่งงานกัน ด้วยความเห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย

ส่วนเครือฟ้ากำเนิดบุตรชื่อ “เครือณรงค์” เธอตั้งใจจดจ่อรอเวลาที่ร้อยตรีพร้อมจะกลับมาเชียงใหม่ ภรรยาจะได้เห็นหน้าสามี ลูกจะได้เห็นหน้าพ่อ และกาลเวลานั้นก็มาถึง ร้อยตรีพร้อมหรือคุณหลวงพร้อมได้รับบัญชาให้นำเครื่องบินมาบินแสดงที่เชียงใหม่ เครือฟ้าดีใจเป็นที่สุด เธออุ้มลูกน้อยไปพบคุณหลวง แต่อนิจจาคุณหลวงหรือร้อยตรีพร้อมจำเธอไม่ได้ มิหนำซ้ำยังถูกจำปาขัดขวาง ขับไล่ ดูหมิ่นดูแคลนต่าง ๆ นานา

ความน้อยเนื้อต่ำใจ ความโศกสลดเสียใจสร้างความสะเทือนใจที่แสนจะหนักหน่วง เกินกว่าที่ดวงใจน้อยๆ ของสาวเครือฟ้าจะรับได้ เธอตัดสินใจหลีกทางรัก ปาดคอตายในเวลาต่อมา

นิทานพื้นบ้านของไทย เรื่อง จันทโครพ 


ประวัติ
    เรื่อง จันทโครพ เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เนื้อเรื่องกล่าวถึงการผจญภัยของเจ้าชายจันทโครพที่เดินทางไปศึกษาวิชาเพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง ในการเดินทางไปศึกษาวิชาพระองค์ได้ผจญภัยต่าง ๆ นานา ซึ่งทำให้การดำเนินเรื่องตื่นเต้นสนุกสนาน สาระของเรื่องมีทั้งความรักของหญิงชายที่มีทั้งความเห็นแก่ตัว ความมั่นคงต่อความรัก ตลอดจนความรักบิดามารดาที่มีต่อบุตร ทั้งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการแสวงหาความรู้ การศึกษาเล่าเรียนในสมัยโบราณที่ศิษย์มีความวิริยะอุตสาหะเป็นอันมาก ตัวละคร คือ จันทโครพ ได้แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติข้อนี้ได้อย่างเด่นชัด อีกทั้งผู้อ่านรุ่นหลังได้ทราบที่มาของสำนวนไทยที่ว่า "ไม่มีสัจจะในหมู่โจร" จากวรรณกรรมเรื่องนี้ 
    เรื่องจันทโครพนี้ บางครั้งก็เรียกว่า “เรื่องโมรา” เพราะว่าโมรามักจะถูกมองว่าเป็นหญิงชั่วร้ายที่ฆ่าได้แม้กระทั่งสามีตนเอง โดยส่งพระขรรค์ให้โจรป่าฆ่าสามีตนเอง
เรื่องย่อ 
    จันทโครพ เป็นเจ้าชายแห่งเมืองพาราณสี ได้ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อรำเรียนวิชา แล้วได้เจอกับพระฤๅษี ได้ร่ำเรียนวิชาจากท่านจนสำเร็จ จึงได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน  ก่อนที่จะออกเดินทางฤๅษีได้มอบผอบแก้วให้ แล้วสั่งกำชับว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงบ้านเมือง แต่จันทโครพได้เสียสัตย์แอบเปิดผอบนั้นเสียก่อน 
ซึ่งในผอบมีนางโมราได้ปรากฏตัวออกมา จันทโครพก็ได้พานางโมราเดินทางต่อไปแต่ ระหว่างทางได้พบกับโจรป่า ซึ่งเห็นนางโมราเข้าจึงคิดแย่งชิง จันทโครพก็ถูกโจรป่าฆ่าตาย (นางโมราเห็นจันทโครพตาย ก็ย่อมไม่ได้ตำแหน่งอัครมเหสีจึงไปอยู่กับโจรป่า เพราะจันทโครพสัญญาว่าจะมอบตำแหน่งอัครมเหสีให้) แต่จันทโครพยังไม่ถึงความตาย พระอินทร์จึงมาชุบชีวิตให้จันทโครพ แล้วบอกว่าเนื้อคู่ที่แท้จริงอยู่ทางทิศเหนือ แล้วพระอินทร์ก็สาปนางโมราให้เป็นชะนี (โจรป่าคิดว่าวันหนึ่งถ้านางโมราได้เจอคนอื่นที่ดีกว่าตน จะต้องทิ้งตนไปแน่ เพราะขนาดจันทโครพผู้ที่เป็นถึงองค์ชายนางยังทิ้งได้ ดังนั้นโจรป่าจึงหนีไป นางโมราจึงออกตามหาโจรป่า)  จันทโครพได้เดินทางไปทางที่พระอินทร์บอก ก็พบถำหนึ่งที่มียักษ์คอยเฝ้าอยู่ จันทโครพจึงคิดว่าในถ้ำนั้นมีเนื้อคู่ของตนอยู่จึงฆ่ายักษ์ตนนั้น แล้วเดินเข้าไปก็พบผู้หญิงคนหนึ่งชื่อนาง มุจลินทร์จึงอยู่กินกัน  แล้วจันทโครพคิดถึงพ่อแม่จึงพานางมุจลินทร์หนี (ตอนนั้นนางมุจลินทร์ท้องอ่อนๆ ด้วย) แล้วเดินไปสักพักก็เหนี่อยแล้วเผลอหลับไปทั้งคู่  นางยักษ์จึงนำตัวนางมุจลินทร์ไปฟาดกับต้นไม้ แล้วเหวี่ยงไปสุดแรง จากนั้นก็ปลอมตัวเป็นนางมุจลินทร์ไปนอนข้างจันทโครพ เมื่อจันโครพเดินทางมาถึงเมืองก็ขอนอนพักผ่อน พอตอนกลางคืนนางยักษ์ก็ไปกินวัวของชาวบ้าน โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าของวัวดูอยู่เจ้าของวัวจึงไปบอกพระราชา (พ่อของจันทโครพ) นางยักษ์ได้นำเสื้อผ้าที่เลอะเลือดไปซ่อนไว้ แต่ตอนนั้นดึกมากแล้วจึงพูดกันพรุ่งนี้เช้า  เมื่อถึงเวลาเช้าแล้วจันทโครพได้ปลุกนางมุจลินทร์ปลอม โดยไม่บอกเรื่องคดีแปลกประหลาด แต่นางยักษ์ไม่ได้นอนมาทั้งคืนเลยแสร้งบอกว่าไม่สบาย จันทโครออกมาเข้าเฝ้าคนเดียว แล้วพระโหราธิบดีก็ตรวจดูดวงให้จันทโครพ แล้วบอกว่าพรุ่งนี้ให้จันทโครพพานางมุจลินทร์มาด้วย  พอวันรุ่งขึ้นพระโหราธิบดีถามนางมุจลินทร์เกี่ยวกับเวลาที่เกิด แต่นางยักษ์ไม่รู้จึงบอกวันผิดๆ ไปพระโหราจึงบอกว่า บัดนี้ความจริงเปิดเผยแล้วเจ้าไม่ใช่คนแต่เจ้าเป็นนางยักษ์ นางยักษ์หน้าถอดสี จันทโครพจึงฆ่านางยักษ์ตายแล้วออกตามหานางมุจลินทร์จนพบ และตอนนั้นนางมุจลินทร์ได้คลอดบุตรชายชื่อจันทวงศ์ ทั้งสามจึงอยู่กันอย่างมีความสุข
แง่คิด : อย่าลบหลู่คำสอนของครูบาอาจารย์เพราะท่านอาบน้ำร้อนมาก่อนย่อมรู้ดีว่าอะไรควรและอะไรไม่ควร
...อ้างอิง http://sz4m.com/b2856036

เรื่องไกรทอง
กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวแสนตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้ายต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้
ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..
ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำได้
..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดอาการร้อนลุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที
แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนเจ้าชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน

ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ
เรื่อง  rvipas.jpg (691 bytes) หลวิชัย-คาวี rvipas.jpg (691 bytes)
          มีเสือแม่ลูกอ่อนออกไปหากินในป่าเพลินจนลืมลูกเสือที่อยู่ในถ้ำ ลูกเสือหิวมากออกเดินตามหาแม่แต่ก็ไม่พบ ลูกเสือเจอแม่วัวจึกขอนมแม่วัวกิน แม่วัวสงสารให้กินนมแล้วพาไปที่อยู่ เลี้ยงลูกเสือคู่กับลูกวัวของตน ลูกเสือกับลูกวัวก็รักกันเหมือนพี่น้อง
          วันหนึ่งแม่เสือกลับมาตามหาลูก พบลูกเสืออยู่กับแม่วัว ลูกเสือชวนแม่อยู่ด้วยกันกับแม่วัว แม่เสือแสร้งทำเป็นใจดีอยู่กับแม่วัว แต่เวลาออกไปหากินจะไปกันคนละทิศ   วันหนึ่งแม่เสือแอบไปดักกินแม่วัว ลูกวัวไม่เห็นแม่กลับมาก็ออกตามหา ลูกเสือก็ตามลูกวัามา แม่เสือเห็นลูกวัวก็ตรงเข้ากัดกิน ลูกเสือโกรธมากที่แม่จะกินลูกวัว จึงโดดเข้าไปกัดแม่เสือจนแม่เสือตาย
          ลูกเสือกับลูกวัวจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปในป่า วันหนึ่งไปถึงอาศรมฤษี ฤษีแปลกใจมากที่สัตว์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน จึงมีจิตเมตตาชุบชีวิตลูกเสือลูกวัวให้เป็นคน และตั้งชื่อลูกเสือว่าหลวิชัย ลูกวัวชื่อคาวี หลวิชัยกับคาวีก็เรียนศิลปวิทยากับฤษีจนเติบโต เมื่อมีอายูพอสมควรแล้ว หลวิชัยกับคาวีก็ขอลาพระฤษีไปเผชิญโชค ฤษีให้พระขรรค์วิเศษที่บรรจุหัวใจของหลวิชัยกับคาวี
          หลวิชัย คาวี เดินทางไปได้พักหนึ่งถึงทางแยก หลวิชัยจึงบอกกับคาวีว่า " เราแยกทางกันตรงนี้ เจ้าไปทิศเหนือ พี่ไปทิศใต้ แล้วอีกสามเดือนเรามาพบกันที่นี่ "
          คาวีเดินทางไปถึงเมืองร้างแห่งหนึ่ง ร้านรวงต่าง ๆ ยังมีข้าวของแต่ไม่มีผู้คน คาวีเข้าไปในพระราชวังก็ไม่เห็นคนสักคนเดียว จึงเข้าไปในครัวแล้วก่อไฟขึ้นเพื่อจะหุงหาอาหาร ทันใดนั้นมีกลุ่มนกอินทรียักษ์บินมาจนท้องฟ้ามืดมิด กลุ่มนกอินทรีบินจะมาจิกกินคาวี คาวีใช้พระขรรค์ต่อสู้และฆ่านกอินทรียักษ์ตายเกือบหมด นกที่เหลือก็บินหนีไป คาวีจึกเดินสำรวจพระราชวัง เห็นกลองใบใหญ่ พอเดินเข้าไปใกล้ได้ยินเสียงหญิงสาวร้องว่า " ช่วยเราด้วย ช่วยเราด้วย " คาวีใช้พระขรรค์กรีดหนังกลองก็พบพระราชธิดาชื่อพระนางจันทร์สุดา คาวีจึงอภิเษกกับนางจันทร์สุดา ผู้คนที่หลบหนีไปเพราะกลัวนกก็อพยพกลับมาอยู่ที่เมือง บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม
          วันหนึ่งพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำ ผมของนางซึ่งมีกลิ่นหอมร่วง พระนางจึงใส่ผอบลอยน้ำไป ต่อมามีคนนำผอบผมหอมไปถวายท้าวสัณนุราช ท้าวสัณนุราชก็อยากทราบว่าผมนี้เป็นของผู้ใด จึงมีประกาศป่าวร้องว่าถ้าใครรู้จักจะให้รางวัล ยายเฒ่าทัดประสาด ซึ่งเคยเป็นพี่เลี้ยงของนางจันทร์สุดาก็รีบไปเข้าเฝ้าท้าวสัณนุราช แล้วบอกว่าเป็นเส้นผมของพระนางจันทร์สุดา ท้าวสัณนุราชจึงบอกให้ยายเฒ่าทัดประสาดหาทางนำนางมา แล้วก็ให้เงินทองแก่ยายเฒ่าเป็นอันมาก ยายเฒ่ารีบกลับไปที่เมือง แล้วทำทีเป็นขออยู่กับพระนางจันทร์สุดา แล้วก็ยุยงพระนางว่าคาวีคงมิได้ไว้ใจพระนางจันทร์สุดาจึงได้พกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา พระนางจันทร์สุดาก็มีจิตใจไหวหวั่นหลงเชื่อ จึงถามคาวีว่าทำไมคาวีจึงต้องพกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา ควีจึงบอกความลับว่า เพราะหัวใจคาวีอยู่ที่พระขรรค์ ถ้าใครนำพระขรรค์ไปเผาไฟ คาวีก็จะตาย ด้วยเหตุนี้จึงต้องพกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา พระนางจันทร์สุดาเมื่อได้ทราบเช่นนั้นก็หายแคลงใจ และได้นำความไปเล่าให้ยายเฒ่าฟัง ลืมไปว่าเรื่องนี้เป็นความลับยิ่ง ยายเฒ่าได้ฟังจึงเกิดความคิด และชวนให้คาวีกับพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำที่ชายทะเล คาวีและพระนางจันทร์สุดาถอดเครื่องทรงรวมทั้งพระขรรค์ให้ยายเฒ่าเก็บรักษา ยายเฒ่าได้ทีนำพระขรรค์ไปเผาไฟ คาวีกำลังว่ายน้ำเล่นก็รู้สึกร้อนจึงรีบชวนนางจันทร์สุดาว่ายกลับเข้าฝั่ง พอถึงชายหาดคาวีเห็นยายเฒ่ากำลังเผาพระขรรค์อยู่ ก็นึกโกรธที่พระนางจันทร์สุดาไม่รักษาความลับ แต่ยังไม่ทันพูดคาวีก็ล้มลงสิ้นสติ พระนางจันทร์สุดาตกพระทัยมากได้แต่ร่ำไห้กอดร่างคาวี ยายเฒ่าจึงรีบให้ทหารของท้าวสัณนุราชนำพระนางจันทร์สุดาไปถวายท้าวสัณนุราช
          ฝ่ายหลวิชัยเมื่อครบกำหนดวันนัดก็มาพบคาวีที่ทางแยก คอยอยู่ทั้งวันไม่เห็นคาวีมาจึงตัดสินใจเดินทางมาที่เมืองพระนางจันทร์สุดา ระหว่างทางเห็นกองไฟและพระขรรค์ของคาวีอยู่ในกองไฟก็รีบนำพระขรรค์ออกมา และพบคาวีนอนสิ้นสติก็ช่วยแก้ไขจนฟื้น เมื่อทราบเรื่องราวทั้งหมดหลวิชัยก็ชวนคาวีไปตามพระนางจันทร์สุดาที่เมืองท้าวสัณนุราช
          ที่เมืองท้าวสัณนุราชกำลังมีประกาศให้คนที่มีวิชาอาคมไปช่วยชุบท้าวสัณนุราชให้เป็นหนุ่ม เพราะพระนางจันทร์สุดาไม่ยอมรับรักท้าวสัณนุราช หลวิชัยจึงแต่งกายปลอมเป็นฤษีเข้ารับอาสาจะชุบท้าวสัณนุราชให้เป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชดีใจมาก หลวิชัยจึงสั่งให้ขุดหลุมลึกแล้วกั้นม่านเจ็ดชั้น ที่หลุมนั้นสุมไฟไว้ หลวิชัยให้ท้าวสัณนุราชโดดลงไปที่กองไฟนั้น ด้วยความที่อยากเป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชก็กระโดดลงไปในกองไฟสิ้นชีวิต หลวิชัยก็นำคาวีออกมา ทุกคนก็เข้าใจว่าเป็นท้าวสัณนุราชชุบตัวกลายเป็นคนหนุ่มแล้วก็โห่ร้องดีใจ และจัดอภิเษกท้าวสัณนุราชหรือคาวีกับพระนางจันทร์สุดา ส่วนยายเฒ่าเมื่อเห็นดังนั้นก็เกิดความกลัวรีบหลบหนีไป หลวิชัยเมื่อเห็นคาวีปลอดภัยแล้วก็ลาคาวีและพระนางจันทร์สุดาเดินทางต่อไป คาวีและพระนางจันทร์สุดาก็อยู่ครองเมืองทั้งสองด้วยความสุขสืบมา.

ไชยเชษฐ์
ท้าวอภัยนุราช เจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า นางจำปาทองเพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นนางจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้าจากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคืองจึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี นางแมว ซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปางทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า ไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ นนทยักษ์ ซึ่งกำลังจะไปเฝ้า ท้าวสิงหล นางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปพบพระฤๅษี พระฤๅษีช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น
ท้าวสิงหลเป็นยักษ์ครองเมืองสิงหล ไม่มีโอรสและธิดา คืนหนึ่งท้าวสิงหลบรรเทาหลับและทรงพระสุบินว่า มียักษ์ตนหนึ่งมาจากป่านำดอกจำปามาถวาย ดอกจำปามีสีเหลือเหมือนทองคำงามยิ่งนัก ท้าวสิงหลจึงทรงให้โหรทำนายพระสุบิน โหรทำนายว่าท้าวสิงหลจะได้พระธิดา วันนั้นนนทยักษ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหลและทูลว่าพบหญิงสาวอาศัยอยู่กับพระฤๅษีที่ในป่า ท้าวสิงหลจึงเสด็จไปหาพระฤๅษี และขอนางจำปาทองมาเป็นธิดา ประทานนามว่า นางสุวิญชา
ฝ่ายพระไชยเชษฐ์เป็นโอรสเจ้าเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์มีพระสนมอยู่ 7 คน วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสป่า และหลงทางเข้าไปในสวนเมืองสิงหล นางสุวิญชา มาเที่ยวชมสวนพบพระไชยเชษฐ์จึงนำความทูลให้ท้าวสิงหลทราบ ท้าวสิงหลให้พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้า พระไชยเชษฐ์จึงทูลขอรับราชการในเมืองสิงหล ต่อมามีข้าศึกยกทัพมาตีเมืองสิงหล พระไชยเชษฐ์อาสาสู้ศึกจนชนะ ท้าวสิงหลจึงทรงยกนางสุวิญชาให้เป็นชายาพระไชยเชษฐ์ พระไชยเชษฐ์จึงพานางสุวิญชากลับเมืองเหมันต์
ฝ่ายนางสนมทั้ง 7 คนริษยานางสุวิญชาที่พระไชยเชษฐ์รักนางสุวิญชามากกว่า ครั้นนางสุวิญชาทรงครรภ์จวนจะถึงกำหนดคลอดนางสนมทั้ง 7 คน ก็ออกอุบายว่ามีช้างเผือกอยู่ในป่า พระไชยเชษฐ์จึงออกไปคล้องช้างเผือก ฝ่ายนางสุวิญชาคลอดลูกเป็นกุมารมีศรกับพระขรรค์ติดดัวมาด้วย นางสนมทั้ง 7 คน นำพระกุมารใส่หีบไปฝังที่ใต้ต้นไทรในป่า เทวดาประจำต้นไม้ช่วยชีวิตพระกุมารไว้ เมื่อพระไชยเชษฐ์เสด็จกลับจากคล้องช้างเผือก นางสนมทั้ง 7 คน ทูลว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์จึงขับไล่นางสุวิญชาออกจากเมือง ขณะที่นางสุวิญชาคลอดกุมารนั้น นางแมวแอบเห็นการกระทำของนางสนมทั้ง 7 คน จึงพานางสุวิญชาไปขุดหีบที่ใต้ต้นไทร แล้วพาพระกุมารกลับไปเมืองสิงหล ท้าวสิงหลตั้งชื่อพระกุมารว่า พระนารายณ์ธิเบศร์
ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริงว่านางสุวิญชาถูกใส่ร้าย จึงออกติดตามนางสุวิญชาไปเมืองสิงหลและได้พบพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งกำลังประพาศป่ากับพระพี่เลี้ยง พระไชยเชษฐ์เห็นพระนารายณ์ธิเบศร์เป็นเด็กน่ารัก มีหน้าตาคล้ายพระองค์ก็มั่นใจว่าเป็นพระโอรส จึงเข้าไปขออุ้มและเอาขนมนมเนยให้ พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธว่าเป็นคนแปลกหน้า จึงไม่ให้จับต้องและไม่ยอมเสวยขนม
พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธพระไชยเชษฐ์ที่มาจับต้องตัวและจับหัวของพระพี่เลี้ยงของตนจึงใช้ศรธนูหมายจะฆ่าให้ตายแต่ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้กระจายเติมพื้นดิน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์เกิดความประหลายใจยิ่งนัก จึงอธิษฐานจิตว่าถ้ากุมารองค์นี้เป็นลูกของตนที่เกิดกับนางสุวิญชาขอให้ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลายเป็นอาหาร ทันใดนั้นพระไชยเชษฐ์ก็แผลงศรออกไป และศรธนุที่ยิงออกไปนั้นก็กลายเป็นอาหารมากมายเต็มพื้น จึงทำให้พระไชยเชษฐ์มั่นใจเป็นแน่แท้ว่าเป็นบุตรของตนจริง
พระไชยเชษฐ์ทรงไต่ถามพระนารายณ์ธิเบศร์เกี่ยวกับมารดา เพราะทรงจำแหวนที่พระนารายณ์ธิเบศร์สวมได้ พระนารายณ์ธิเบศร์บอกว่านางสุวิญชาเป็นแม่และท้าวสิงหลเป็นพ่อ พระไชยเชษฐ์จึงทรงเล่าเรื่องเดิมให้พระนารายณ์ธิเบศร์ฟัง ทั้งสองจึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน พระนารายณ์ธิเบศร์พาพระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล พระไชยเชษฐ์ขอโทษนางสุวิญชา พระนารายณ์ธิเบศร์ช่วยทูลนางสุวิญชาให้หายโกรธพ่อ นางสุวิญชายกโทษให้ พระไชยเชษฐ์ นางสุวิญชา และพระนารายณ์ธิเบศร์ สามคนพ่อแม่ลูกจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

อุทัยเทวี  เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย   ทางอีสานเรียกว่า นางพญาขี้คันคาก
นางอุทัยเทวี

   อุทัยเทวีเป็นธิดาของรุกขเทวดาและนางนาค นางต้องพลัดมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงปกป้องตนเองด้วยการอาศัยอยู่ในร่างของคางคก ต่อมาตายายได้มาพบ นางจึงขอไปอาศัยอยู่ด้วย อุทัยเทวีช่วยเหลือตอบแทนตายายที่เลี้ยงดูตนเองโดยออกมาจากร่างคางคก และทำงานต่างๆ ในบ้าน จนบ้านเรือนสะอาดเรียบร้อย อุทัยเทวีเติบโตเป็นสาวสวยงาม เจ้าชายสุทราชกุมารได้พบกับนางก็หลงรัก และให้พระราชบิดามาสู่ขอ ตายายได้ขอให้สร้างสะพานทองจากพระราชวังมาถึงบ้าน ทำให้พระราชากริ้วมากและตรัสให้ตายายสร้างปราสาทหลังใหญ่ให้เสร็จภายใน7 วัน เช่นกัน อุทัยเทวีได้เนรมิตปราสาทและเจ้าชายได้ตั้งจิตอธิษฐานขอสะพานทองจากเทวดา ในที่สุดทุกอย่างก็จบลงด้วยความสุข

   
 *คติเตือนใจคือ* การประพฤติตนเป็นคนดี ขยัน กตัญญู ส่งผลให้ได้รับผลบุญที่ดี
...................................................

         แบบทดสอบก่อนเรียน ละครไทยและละครพื้นบ้าน

1.ยุคทองแห่งวรรณคดีการละครตรงกับรัชกาลใด
                ก. รัชกาลที่ 2
                ข. รัชกาลที่ 4
                 ค. รัชกาลที่ 5
                 ง. รัชกาลที่ 6
2.ละครที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกคือละครชนิดใด
           ก. ละครชาตรี
           ข. ละครชาวบ้าน
           ค. ละครนอก
           ง. ละครใน
. 3.ละครชนิดใดที่ผู้ชายแสดงล้วน
               ก. ละครชาตรี
               ข. ละครนอก
                ค. ละครแก้บน
                ง. ถูกทุกข้อ
4. .นายโรงในที่นี้หมายถึงอะไร
           ก. พระเอก
           ข. เจ้าของโรงละคร
           ค. หัวหน้าหมู่บ้าน
           ง. ข้อ ก และ ข ถูก

5.รัชกาลใดที่อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละครได้
            ก. รัชกาลที่ 2
                  ข. รัชกาลที่ 4
                  ค. รัชกาลที่ 5
                  ง. รัชกาลที่  6

6.การเล่นแก้บนควรใช้ละครชนิดใด
           ก. ละครนอก
           ข. ละครชาวบ้าน
           ค. ละครชาตรี
           ง. ละครผู้หญิง
7.รากฐานของละครไทยมีมาแต่สมัยใด
          ก. สุโขทัย
          ข.  อยุธยา
          ค. รัตนโกสินทร์
          ง. ไม่ปรากฏหลักฐาน    

8.ฤาษีแปลงสารอยู่ในละครเรื่องใด
              ก. พระสุธน - มโนราห์
              ข.  พระรถ - เมรี
              ค.  พระรถโยนสาร
              ง.   ถูกทุกข้อ

9. รจนาเสี่ยงพวงมาลัย สัมพันธ์กับข้อใด
           ก. จันทโครพ
           ข. อุณรุท
           ค. ไกรทอง
           ง. สังข์ทอง
10.โอเปร่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับละครชนิดใด
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
               ค. ละครเสภา
               ง. ละครเวที        
11. ร่ายใน เป็นทำนองเพลงที่ใช้ในละครชนิดใด
             ก. ละครนอก
            ข. ละครเสภา
            ค. ละครชาตรี
            ง. ละครใน
12.เสภาทรงเครื่องเกิดขึ้นในรัชกาลใด
             ก. รัชกาลที่ 2
             ข. รัชกาลที่ 4
              ค. รัชกาลที่ 5
              ง. รัชกาลที่  6
13.  ไม่เคร่งครัดแบบแผน หมายถึงอะไร
           ก. ด้านการแต่งกาย
           ข. ด้านการร่ายรำ
           ค. กษัตริย์เล่นตลกได้
           ง. กษัตริย์เล่นตลกไม่ได้
14. เสภารำเกิดในสมัยรัชกาลใด
             ก. รัชกาลที่ 2
             ข. รัชกาลที่ 4
              ค. รัชกาลที่ 5
              ง. รัชกาลที่  6
15.ข้อใดสัมพันธ์กับละครนอก
           ก. เน้นตลกสนุกบางครั้งหยาบโลน
           ข. เน้นร่ายรำไม่เคร่งครัดแบบแผน
           ค. ผู้แสดงเป็นหญิงหรือชายก็ได้
           ง. ไม่เน้นร่ายรำแต่เคร่งครัดแบบแผน
16. เรื่องใดนิยมเล่นละครเสภา
           ก.  จันทโครพ
           ข.  พิกุลทอง
           ค. ไกรทอง
           ง.  สังข์ทอง
17.ละครผู้หญิงหมายถึงอะไร
            ก. ละครใน      
            ข. ละครนอก
            ค. ละครชาวบ้าน 
           ง. ละครนอกวัง
18. . ละครนอกวิวัฒนาการมาจากละครชนิดใด
              ก. ละครเสภา        
              ข. เพลงบอก
               ค. ละครชาตรี     
               ง. ละครนอกวัง
19.ละครชนิดใดที่มีความประณีตในการใช้ถ้อยคำ
             ก. ละครนอก
            ข. ละครชาวบ้าน
            ค. ละครชาตรี
            ง. ละครใน
20.ละครหลวงวิจิตรวาทการมีลักษณะอย่างไร
             ก. เน้นปลุกใจ
             ข. เน้นร่ายรำ
             ค. เน้นตลก
             ง. ถูกทุกข้อ
21. . ราชาธิราช  เป็นละครชนิดใด
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
              ค. ละครเสภา
              ง. ละครพูดคำฉันท์       
22. . เรื่องใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับละครดึกดำบรรพ์
               ก. จันทกินรี
               ข. จันทโครพ
               ค. คาวี
               ง. รามเกียรติ์
23.ลักษณะเด่นของละครดึกดำบรรพ์คืออะไร
           ก.รำงาม  กลอนไพเราะ
          ข. ตัวละครร้องเองรำเอง
          ค. ฉากวิจิตรตระการตา
          ง. ไม่มีข้อผิด
24.ละครนอกที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเรื่องใด
           ก. จันทโครพ
           ข. สังข์ทอง*
           ค. ไกรทอง
           ง. อุณรุท
25.กรับ  เป็นเครื่องดนตรีประกอบของละครแบบใด
              ก. ละครเสภา
              ข. ละครพูด       
              ค. ละครดึกดำบรรพ์
              ง. ละครพันทาง
26.ข้อใดหมายถึงละครที่มีหลายเชื้อชาติ (12 ภาษา)
              ก. ละครดึกดำบรรพ์
              ข. ละครพันทาง
              ค. ละครเสภา
              ง. ละครนอก
27.  เรื่องใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับละครดึกดำบรรพ์
               ก. จันทกินรี
               ข. จันทโครพ
               ค. คาวี
               ง. รามเกียรติ์
28.ผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือใคร
              ก. เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
              ข. เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
              ค. เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง*
              ง. พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
29.  รากฐานของละครพันทางมาจากละครชนิดใด
              ก. ละครชาตรี
              ข. ละครใน
              ค. ละครนอก

              ง.  การเล่านิทาน
30.ละครดึกดำบรรพ์คืออะไร
              ก. ละครที่มีมาแต่โบราณ
              ข. ละครที่รับแบบอย่างจากอินเดีย
              ค. ชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ
              ง.ชื่อโรงละครของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ

31.บุคคลใดเลือกชมละครได้เหมาะสม
                ก. สาธิตเลือกชมละครแนวอนาจาร
                ข. วสันต์เลือกชมละครเสียดสีสังคม
                ค. สมศรีเลือกชมละครที่มีแง่คิด
                ง.วิชัยเลือกชมละครที่เน้นความรุนแรง
32.ประโยชน์ของละครที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันตรงกับข้อใด?
              ก.ฝึกการเคลื่อนไหว
              ข. ฝึกการพูด
              ค. ฝึกการสังเกต
              ง. ฝึกควบคุมอารมณ์ 
33.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญของละคร
              ก.แนวคิดที่ได้จากละคร
             ข. ความยาวของบทละคร
              ค. ลักษณะของตัวละคร
              ง. บรรยากาศในละคร
34.เหตุใดผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายละครจึงต้องประสานสัมพันธ์กับทีมงานละคร
             ก.เพื่อให้การแสดงละครตระการตา
             ข. เพื่อความสำเร็จของการสร้างงานละคร
             . เพื่อสร้างงานละครให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
             ง. เพื่อให้ผู้ชมละครสนุกสนาน ชื่นชอบการแสดงละคร
35.เหตุการณ์บ้านเมืองที่คล้ายคลึงบทละครเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตรงกับข้อใด
                ก. ภาวะโลกร้อน
                ข. ภัยพิบัติ
                 ค.การแตกความสามัคคี
                 ง. พลังไทยเข้มแข็ง
36.มัทธนะพาธา เกี่ยวข้องกับผู้ใด
              ก. รัชกาลที่2
              ข.  รัชกาลที่ 5
              ค. รัชกาลที่ 6
              ง. เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
37.บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าให้คติสอนใจในเรื่องใด
                ก.  รักนี้มีทุกข์
                ข.   ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
                 ค.  น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
                 ง.   น้ำขึ้นให้รีบตัก
38.นักเรียนไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างจันทโครพในเรื่องใด
             ก. ว่านอนสอนง่าย
             ข. ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
              ค.  เคร่งครัดเกินไป
              ง. รักระแวง
39.ละครโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อเยาวชนด้านใดมากที่สุด
                  ก. แฟชั่น
                   ข.ความรัก
                   ค.การเงิน
                   ง. การเลียนแบบ
40.รัชกาลใดที่ละครสมัยใหม่เจริญสูงสุด
            ก. รัชกาลที่ 5
             ข.  รัชกาลที่ 9
             ค. รัชกาลที่ 6
             ง. รัชกาลที่ 7


จงตอบคำถามเกี่ยวกับละครพื้นบ้านจำนวน 10 ข้อ
                                                                         
       1.เรื่องใดที่เกี่ยวพันกับจระเข้      ตอบ............                                                                              
2. นางโมรา    อยู่ในนิทานพื้นบ้านเรื่องใด     ตอบ......                                                                
  3. นางเอกมีอีโต้วิเศษ        ตอบ......                                                                                          
 4.  ดาบฟ้าฟื้น  ม้าสีหมอกและกุมารทอง อยู่ในเรื่องใด      ตอบ...........                                           
5.  นางเอกอยู่ในร่างคางคก       ตอบ............                                                                               6.นางเอกผมหอม แอบนกยักษ์อยู่ในกลอง   ตอบ..........                                                              
 7. นางเอกร้องไห้มีดอกพิกุลทองร่วงลงมา     ตอบ...                                                                     8.นางเอกมีกลิ่นกายหอมมาก                ตอบ................                                                               9.พระเอกถือไม้เท้าวิเศษแล้วไปชุบตัวในบ่อเงินบ่อทอง  ตอบ......                                                  10.นางเอกมีนางวิฬาร์แมวพูดได้เป็นผู้ช่วยเหลือตลอดมา         ตอบ..........

..................................................................................................................
หน่วยที่3  เรื่องละครไทยและละครพื้นบ้าน  หน้า 142

       ละครพื้นบ้าน    เป็นการแสดงละคร ที่มาจากนิทานชาดกหือนิทานท้องถิ่น   ซึ่งสอดแทรกข้อคิดต่างๆไว้มากมาย เช่นความกตัญญู  ความซื่อสัตย์  ความเมตตาฯลฯ  สะท้อนให้เห็นขนบประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในสังคม รวมถึงการปกครองและการละเล่นของไทย  รูปแบบจะคล้ายละครนอกและละครชาตรี  มีการใช้เวทมนตร์คาถาและอำนาจศักดิ์สิทธิ์  ปัจจุบันได้วิวัฒนาการให้ทันสมัยด้วยเทคโนโยยี แต่เนื้อหายังมีเค้าโครงเดิม  เช่น เรื่อง พระสุธน – มโนราห์ ปลาบู่ทอง  นางสิบสอง  สังข์ทอง  จำปาสี่ต้น  อุทัยเทวี  พิกุลทอง  ไกรทอง  แก้วหน้าม้า  ไชยเชษฐ์  ขุนช้างขุนแผน สิงหไตรภพ  โสนน้อยเรือนงาม              ตาม่องล่าย  นางเลือดขาว ตำนานผาแดงนางไอ่นางจามเทวี             นางโภควดี  พระธาตุดอยตุง ตำนานหลวงพ่อทวด  แม่นากพระโขนง  ศรีธนญชัย เจ้าหลวงคำแดง       เจ้าแม่สองนาง วันคาร  อุรังคธาตุ   พระร่วง ฯลฯ

        ทั้งละครไทยและละครพื้นบ้านถือเป็นมรดกของชาติ ที่สร้างความสุขความเพลิดเพลินให้ข้อคิด  สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้



ละครรำในสมัยกรุงศรีอยุธยามีต้นกำเนิดมาจากการเล่นโนราและละครชาตรีที่นิยมกันในภาคใต้ของประเทศไทย  ขุนศรีศรัทธาเป็นผู้ให้กำเนิดละครชาตรีที่ปักษ์ใต้และเป็นต้นกำเนิดละครรำในกรุงศรีอยุธยา   ละครรำสมัยกรุงศรีอยุธยามี ๓ อย่าง คือ  ละครชาตรี  ละครนอก  และละครใน    สรุปว่ารากฐานละครไทยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
ในสมัยรัชกาลที่ 1 เกิดรามเกียรติฉบับสมบูรณ์ที่สุด แต่ไม่เหมาะกับการแสดงละคร และฉบับที่เหมาะกับการแสดงละคร คือสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งบทละครมีความกระชับไม่เยิ่นเย้อ  ในสมัยนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีการละคร  เช่นเรื่องอิเหนา  เป็นยอดปห่งบทละครรำเป็นต้น  ครั้นในสมัยรัชกาลที่6   พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการละครสมัยใหม่  หรือ บิดาแห่งละครพูดเช่น เรื่องศกุนตลา ท้าวแสนปมฯลฯสมัยนี้วิทยาการต่างๆด้านการละครมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด 
 สมัยรัชกาลที่ ๗ มีละครแบบใหม่เกิดขึ้นคือละครหลวงวิจิตรวาทการ  ซึ่งเนื้อหาจะนำมาจากประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง บทละครของท่านจะมีทั้งรัก รบ อารมณ์สะเทือนใจ  เน้น
ความรักชาติ เป็นละครที่มีผู้นิยมมาก 
สรุป ความเป็นมาของละครแบบดั้งเดิม
         
         ละครชาตรีหรือโนราห์ชาตรี   มีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา    มีผู้แสดงเป็นหลัก ๓ คน คือ ตัวนายโรง ตัวนาง และตัวตลก  เ ป็นละครประเภทเร่ร่อนไปตามหัวเมืองต่างๆ จึงจำกัดตัวผู้แสดง เพื่อความสะดวกในการเดินทาง นิยมเล่นแก้บน เรื่องที่แสดง  พระสุธนมโนราห์    ตัวตลก คือ พรานบุญ และ้เรื่อง รถเสน หรือพระรถเมรี    ตัวตลก คือ ม้า
          ละครนอก  เล่นนอกวัง มุ่งตลก สนุก แบบหยาบโลนกษัตริย์สามารถเล่นตลกกับเสนาหรือผู้อื่นได้ เรียกว่าไม่เคร่งครัดแบบแผน  ผู้ชายแสดงล้วน  ครั้นสมัยรัชกาลที่4  อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละครได้  เรื่องที่แสดง มีมากมายตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 

             











)





เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนละครไทย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40

 เฉลยเติมคำนิทานไทย
1
ไกรทอง
2
จันทโครพ
3
แก้วหน้าม้า
4
ขุนช้างขุนแผน
5
อุทัยเทวี
6
หลวิชัยคาวี
7
พิกุลทอง
8
ยอพระกลิ่น
9
สังข์ทอง
10
ไชยเชษฐ์



แบบสำรวจความพึงพอใจในการเรียนวิชาศิลปะ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ     ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2557      ณ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
                                                                                          ( ครูพัชนีภรณ์  สิงหบุญ )


กลุ่มที่...............
ชื่อ สกุล



มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยมาก

ระดับความพึงพอใจในการเรียนวิชาศิลปะ3
......................................................................................


ระดับความรู้ด้านทัศนศิลป์ (วาดภาพ)
.......................................................................................


ระดับความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้ Web Blog
ของ  kru Pat
.........................................................................................
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องละครไทย
.............................................................................................

ระดับความรู้ด้าน Web Blog ของนักเรียนหลังการเรียนวิชานี้
...........................................................................................

ระดับความรู้ด้าน การแสดงละครหลังการปฏิบัติจริง
.........................................................................................


ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการเรียนแบบใช้ICT
..........................................................................................


นักเรียนคิดว่าสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชานี้ไปใช้กับวิชาอื่นๆได้
..........................................................................................

เพลงและดนตรีช่วยนักเรียนคลายเครียดได้
...........................................................................................

ระดับความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบกลุ่ม

.....................................................................................................................................................................


 บทบาทสมมุติ (Role-plays) หรือ การแสดงละคร (Dramatics)
            ละคร (Drama) หมายถึง  การแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราว  มีเนื้อหาและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นการแสดงที่สะท้อนถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจริง  และเป็นสิ่งที่เกิดจากจินตนาการของผู้เขียนเนื้อเรื่อง  สร้างความบันเทิงสนุกสนาน  และให้ข้อคิดแก่ผู้รับชม

องค์ประกอบของละคร (Elements of the theater)
1.โครงเรื่อง ( Plot)  หมายถึงโครงสร้างของละครทั้งเรื่อง  โครงเรื่องหรือบทประพันธ์เป็น
ตัวกำหนดให้นักแสดงดำเนินตาม ซึ่งผู้ประพันธ์ต้องมีความสามารถในการบรรยายบุคลิกลักษณะ
นิสัยของตัวละครได้อย่างชัดเจน
2. ตัวละคร (Character)  บทบาทตัวละคร  ( Role)  และ การสร้างตัวละคร                                           
Characterization)  ตัวละครเป็นผู้สร้างและดำเนินเหตุการณ์ไปตามโครงเรื่องโดยใช้บทเจรจาการกระทำและพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับบุคคลิกลักษณะของตัวละครแต่ละตัว
3. แนวคิดที่เป็นแก่นของเรื่อง (Theme)  เพื่อให้เนื้อเรื่องน่าสนใจ  ดำเนินสุ่จุดหมายอย่างไร
แนวคิดของละครมีหลายแบบเช่น  เพื่อความบันเทิง  สะท้อนปัญหาชีวิต  ปัญหาสังคมเป็นต้น

4. ภาพที่เห็น (Spectacle)  หมายถึง ฉาก  การแสดงและทัศนองค์ประกอบต่างๆ     

ต้องสอดคล้องกับตัวละคร  สร้างบรรยากาศและอารมณ์ที่เหมาะสม  ช่วยเสริมให้การดำเนินเรื่องน่าสนใจ บทบาทของตัวละครสมจริง เช่น นาฏการของผู้แสดง
Movement or Action)  ฉากและอุปกรณ์(Scene and Props)  เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า (Costume and Make up)  แสงสี(lighting) และเทคนิคพิเศษ (Special Effect)    
          สรุป  บทบาทสมมุติ หรือ การแสดงละคร มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
โครงเรื่อง( Plot)  ตัวละคร (Character)  แนวคิดที่เป็นแก่นของเรื่อง (Theme)  และภาพที่เห็น(Spectacle) 
              องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ทำให้บาทบาทสมมุติหรือละครมีความสมจริงและน่าประทับใจแก่ผู้ชมมากยิ่งขึ้น 

......................................................................................................................................................................
ตัวอย่าง    ละครบูรณาการเรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง     
ฉากที่1   เมืองสุโขทัยท้องพระโรงพ่อขุนรามคำแหง
ตัวละคร   พ่อขุนรามฯ มเหสี  นางข้าหลวง 2 คน  มหาดเล็ก 2 คน  ทหารเฝ้าประตูวัง 2 คน
บทบรรยาย(โครงเรื่อง)  สุโขทัยบ้านเมืองนี้มีสุข ตัวอย่างความเป็นอยู่แบบพอเพียง  อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหารในน้ำมีปลาในนามีข้าว    ราษฏร..................................
เปิดฉาก      
พ่อขุนรามฯ :  เออ แม่หญิง วันนี้ข้ารู้สึกปลอดโปร่งใจยิ่งนัก  เราน่าจะออกนอกวังไปเที่ยวชมบ้านเมืองและราษฏรกันสักครา
มเหสี :            ดีเลยเพค่ะ   หม่อมฉันอยากออกไปตลาดอยู่พอดี  ใช่มั้ย   นัง เม้ย
นางข้าหลวง 1:       เพค่ะ    หม่อมชั้นอยากไปเอาผ้านุ่งไปแลกซื้อเครื่องประทินผิวพอดีเพค่ะ
พ่อขุนรามฯ : อ้าว  มหาดเล็กท่านมีอะไรจะบอกข้าบ้าง
มหาดเล็ก 1 :    มีพะยะค่ะ  คือตอนนี้ในตลาดเปิดท้ายมีการแสดงคอนเสริตกับพ่อค้าต่างเมืองเอาของมาแลกมากมาย  อยากให้พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรพะย่ะค่ะ
มเหสี :   นังแป้งร่ำ  เจ้าอยากไปกับข้ามั้ย
นางข้าหลวง 2 :     อยากที่สุดในโลกเลยเพค่ะ   เผื่อหม่อมชั้นจะได้เปิดหูเปิดตากับเค้าบ้าง 
พ่อขุนรามฯ : เอาละๆ.........................................................
มหาดเล็ก 2 :......................................................................
ทหารเฝ้าประตู 1 :.............................................................
ทหารเฝ้าประตู 2 :.............................................................
พ่อขุนรามเสด็จออก พร้อมขบวน

ฉากที่2      ตลาดปสานศูนย์รวมเศรษฐกิจการค้าเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง  
ตัวละคร    ผู้แสดงในน้ำฯ   ชาวบ้าน........................................................
เปิดฉาก    เปิดเพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าว
พ่อขุนรามฯ :    ................................................................................
มเหสี :               .................................................................................

                                                          ฯลฯ
                แสดงจนกระทั่งจบเพลงนี้แล้วมาตั้งซุ้มท่าจบทุกคน
                               
                ภาพตัวอย่างการตั้งซุ้มในการจบการแสดง








              เพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าว เป็นเพลง ๆ หนึ่งในละครร้องเรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประพันธ์โดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร แต่งขึ้นในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ บทละครในช่วงแรกของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ ซึ่งรัฐบาลต้องการปลูกฝังเรื่องชาตินิยม และมีนโยบายรัฐนิยมกับนโยบายวีรธรรมของชาติ บทละครของหลวงวิจิตรวาทการมีบทบาทอย่างยิ่งในการนำลัทธิชาตินิยมสู่ประชาชนเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล
เช่น อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ อานุภาพแห่งความรัก และ อานุภาพแห่งศีลสัตย์ โดยบทละครเรื่อง อานนุภาพพ่อขุนรามคำแหงนั้น มุ่งปลุกใจให้รักชาติโดยให้เห็นความเก่งกาจของบรรพบุรุษไทย ให้คนไทยเอาเยี่ยงอย่าง ส่วนบทเพลงในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็เป็นเพลง ๆ หนึ่งในละครเรืองนี้

 ที่มาของละครไทย                
สมัยอยุธยามีละครเกิดขึ้น 3 ชนิด คือ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และเป็นรากฐานความเจริญของละครไทยในสมัยต่อมา

ละครโนห์ราชาตรี มีกำเนิดทางภาคใต้ก่อน แล้วไปเจริญรุ่งเรืองที่กรุงศรีอยุธยา มีผู้แสดง 3 ตัวคือ นายโรงหรือพระเอก ตัวตลก และนางเอก นิยมเล่นเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ตัวตลก คือ พรานบุญ และเรื่อง พระรถเสน หรือพระรถ-เมรี ตัวตลกคือ ม้า ผู้แสดงเป็นผู้ชายและไม่สวมเสื้อในการแสดง

ละครนอก เป็นละครชาวบ้าน เล่นนอกวัง ผู้ชายแสดงล้วน การแต่งกายยืนเครื่อง การแสดงไม่เคร่งครัดแบบแผน คือ กษัตริย์หรือมเหสี สามารถเล่นตลกได้ เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่มีมาแต่สมัยอยุธยา เว้น 3 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท เรื่องที่นิยมเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 คือ สังข์ทอง ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์สินไชย ไชยเชษฐ ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ ทำนองได้แก่ ร่ายนอก โอ้ปี่นอก ชมดงนอก ฯลฯ

ละครใน เล่นในวัง เป็นละครผู้หญิงของกษัตริย์แต่ผู้เดียว ผู้ใดจะทำเทียมไม่ได้ การแต่งกายยืนเครื่อง เคร่งครัดแบบแผน
การแสดง กษัตริย์หรือมเหสี จะเล่นตลกกับผู้อื่นไม่ได้ เรื่องที่แสดง มีเพียง 3 เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท บรรเลงด้วยดนตรีปี่พาทย์

ละครแบบปรับปรุงใหม่ ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครเสภา

ละครพันทาง เป็นละครที่ผสมกันหลายเชื้อชาติ มีการพูดสำเนียงภาษา 12 ชาติเรียกว่าออกภาษา ได้แบบอย่างการแสดงจากละครนอก เรื่องที่เล่นได้แก่ ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ
ผู้ให้กำเนิดคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล )

ละครดึกดำบรรพ์ เป็นชื่อของโรงละครเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งผู้คิดริเริ่มละครนี้คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ท่านได้นำการแสดง โอเปร่า มาปรับกับละครใน ทำให้ละครชนิดนี้สวยงามมาก ทั้ง รำงาม ตัวละครงาม บทกลอนไพเราะ ฉากวิจิตรตระการตา
ที่สำคัญที่สุด ผู้แสดง ร้องเอง รำเอง เรื่องที่เล่น รามเกียรติ์ตอนศูรปนักขาตีสีดา คาวีตอนเผาพระขรรค์ ตอนชุบตัว กรุงพาณชมทวีป เป็นต้น
การแต่งกายตามอย่างละครใน เครื่องดนตรีเลือกเสียงทุ้ม เรียกกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ละครเสภา เกิดจากการเล่านิทาน วิธีเล่นเหมือนละครนอก และในสมัยรัชกาลที่4 เกิดเสภาทรงเครื่อง เสภารำและเสภาตลกเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องดนตรี ชิ้นสำคัญคือ กรับ เรื่องที่นิยมคือ ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง สามัคคีเสวก นิทราชาคริต ในรัขกาลที่ 5 เป็นต้น
    เฉลยคำถามละครพื้นบ้าน

1.รถเสนสามารถหาอาหารมาเลี้ยงดูแม่กับป้าได้โดยวิธีใด    พนันชนไก่/ตีไก่/ชนไก่
2.รถเสนไปเอาสิ่งใดที่เมืองยักษ์…………………………มะงั่วหาวมะนาวโห่
3.บ่วงที่พรานบุญจับนางมโนราห์มีชื่อว่าอะไร…………… บ่วงนาคบาศก์
4.สระใดที่นางกินรีทั้งเจ็ด ลงเล่นน้ำ…………………….. สระอโนดาต
5.เทพสามฤดูมีเทพองค์ใดบ้าง ………………………….. พระพิรุณ/ ราหู/จินดาเมขลา
6.คุณธรรมในข้อใดที่ช่วยส่งเสริมให้พิกุลพบกับความสมหวัง…..ความเมตตา
7.สื่อรักของพระปิ่นทองกับนางแก้ว คือสิ่งใด…………………ว่าวจุฬา
8.นางแก้ว มีของวิเศษสองอย่างคืออะไรบ้าง……………………เรือเหาะ/อีโต้วิเศษ
9.จงบอกชื่อนางจระเข้ ทั้งสองตัว……………………………..วิมาลา/เลื่อมลายวรรณ
10.หอกอาคมของไกรทองคือหอกชนิดใด.......................................หอกสัตโลหะ
11.ใครเป็นผูใช้นิ้วเพชรปราบยักษ์ในเรื่อง ดินน้ำลมไฟหรือจำปา 4 ต้น……เจ้านล
12.หัวใจของหลวิชัยคาวีถอดไว้ที่ไหน………พระขรรค์
13 นางจันทร์สุดาจากเรื่องหลวิชัยคาวี  มีลักษณะพิเศษอย่างไร..............ผมหอม
14.จากเรื่องไชยเชษฐ   ผู้ใดที่คอยติดตามช่วยเหลือนางสุวิญชาอย่างใกล้ชิด………นางวิฬาร์
15.โอรสของพระไชยเชษฐ์คือใคร……………………………………พระนารายณ์ธิเบศ
16.จากเรื่องอุณรุท  เทพองค์ใดที่อุ้มพระอุณรุทไปไว้ในห้องนางอุษา……..พระไทร
17.พี่เลี้ยงนางอุษาที่มีความสามารถด้านการวาดภาพคือใคร..........................นางศุภลักษณ์
18.เรื่องมณีพิชัยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร………………………………..เรื่องยอพระกลิ่น
19. จากเรื่องสังข์สินไชย   อาวุธวิเศษจากเรื่องนี้คือสิงใด                          สังข์

20.ใครคือทาสรับใช้ของโสนน้อยเรือนงาม……………………………..นางกุลา
.....................................................................................................................................
                








เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนละครไทย