วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

417 หน่วยที่2 นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค



แบบทดสอบการแสดงพื้นเมือง 4 ภาค ตอนที่4
คำชี้แจง   ให้เลือกคำตอบที่ถูกเพียงข้อเดียว
1.ฟ้อนภาคเหนือมีลักษณะอย่างไร
          (  ) รุกเร้า  สนุกสนาน
          (  ) อ่อนหวาน  นุ่มนวล งดงาม
2.ฟ้อนภาคเหนือที่แสดงความฮึกเหิมคือข้อใด
          (  ) ฟ้อนเจิง  ฟ้อนดาบ  กลองสะบัดชัย
          (  ) ฟ้อนทีฟ้องมองเซิงฟ้อนดาบ
3.ฟ้อนใดที่แสดงออกถึงอาชีพของคนในท้องถิ่น
          (  )  ฟ้อนกิงกะหร่า  ฟ้อนผีฟ้า
          (  )  ฟ้อนสาวไหม   ฟ้อนร่ม
4.พิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวข้องกับข้อใด
           (  ) ฟ้อนผีฟ้า   ฟ้อนผีมดผีเม็ง

            (  ) ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา 
5.ฟ้อนที่แสดงถึงความสนุกสนานบันเทิง
           (  )  ฟ้อนกิงกะหร่า   ตีกลองสะบัดชัย
           (  )  ฟ้อนเงี้ยว  ฟ้อนดาบ
6. พญาแถนตามความเชื่อของชาวอีสานหมายถึงเทพองค์ใด
             (  ) พระอินทร์
             (  )  พระอิศวร
7.การแสดงภาคอีสานที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน
            (  ) เซิ้งบั้งไฟ 
            (  )  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง 
8.ศิลปะป้องกันตัวของชาวอีสานตรงกับการแสดงชนิดใด
            (  ) หมากกั้บแก็บลำเพลิน
            (  )  เรือมอันเร
9.การแสดงเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธ์ของภาคอีสานคืออะไร
            (  ) รำตังหวาย
            (  ) เซิ้งสราญ 
10.ภาคอีสานมีประเพณีที่รู้จักกันแพร่หลายคืออะไร
             (  ) ฟ้อนแคน

             (  ) ผีตาโขน
11.ลักษณะดนตรีภาคใต้ให้ความรู้สึกอย่างไร
               (  )  กระชับ  หนักแน่น เน้นเครื่องตี
               (  )  เร่งเร้า ฮึกเหิม ปลุกใจ
12.การแสดงภาคใต้ตอนล่างรับวัฒนธรรมจากชาติใด
               (  ) อินเดีย
               (  ) มาเลเซีย




    13.การแสดงภาคใต้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาสัมพันธ์กับชาติใด
         (  )  พม่า
                 (  )  อินเดีย    
14.ระบำที่แสดงถึงความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ของภาคใต้
                 (  )  แห่นางดาน

                 (  )  ทอยล้อ
15.การแสดงของชาวบ้านภาคกลางมักเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
                 (  )  ทำสวน

                 (  )  ทำนา
16.การแสดงภาคกลางที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี
                 (  )  ระบำเงือก
                 (  )  ระบำวิชนี
17.การแสดงที่ร้องเพลงโต้ตอบกันของภาคกลาง
                 (  )  เพลงพวงมาลัย
         (  )  เพลงบอก

18.การแต่งกายยืนเครื่องในราชสำนักคือการแสดงฃนิดใด
                 (  )  รำดอกไม้เงินทอง
       (  )  รำแม่โพสพ
19.ประเพณีทำขวัญข้าวเกี่ยวข้องกับการแสดงตามข้อใด
                 (  )  รำเชิญพระขวัญ
                  (  )  รำแม่โพสพ
20.การแสดงที่มีกลองยาวเป็นอุปกรณ์สำคัญ
                (    )   เถิดเทิง

                    (    ) พม่าเปิงมาง

                   


หน่วยที่2  นาฏศิลป์พื้นเมือง  4 ภาค
            ความหมาย หมายถึงศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี  ได้แก่ ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่นิยมเล่นหรือแสดงกันในแต่ละท้องถิ่น  ที่มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม  ความเชื่อ ศาสนา ภาษา  อุปนิสัย และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น
              ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง  เป็นการแสดงที่เกิดขึ้นมาจากพิธีกรรม  ความเชื่อและประเพณีที่คนในอดีตจะประกอบพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เทวดา  บรรพบุรุษ  จึงเกิดการฟ้อนรำ ให้เป็นที่พอใจ  หรือ ร่ายรำเพื่อความสนุกสนาน   เช่นการฟ้อนผีมดผีเม็ง (ผีบรรพบุรุษ) ภาคเหนือ  หรือ  ระบำตารีกีปัส ภาคใต้ เพื่อความรื่นเริงเป็นต้น  ทั้งนี้ การแสดง แต่ละภาคจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะทางภูมิศาสตร์  วิถีชีวิต  ความเชื่อหรือประเพณีtraditionต่างๆของคนในท้องถิ่นนั่นเอง
            1.ภาคเหนือ    เรียกว่าวัฒนธรรมไทยล้านนา  เพื่อนบ้านคือ พม่าและลาว   ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ภาษาคำเมือง ประเพณีสำคัญเช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ  ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ บวชลูกแก้ว หรือ ปอยส่างลองจองพารา      การแสดงภาคเหนือ มีลักษณะช้าๆ นุ่มนวล  มุ่งความพร้อมเพรียง สวยงาม การแต่งกาย แต่เดิมจะปกปิดมิดชิด ตัวอย่างการแสดงภาคเหนือ  ฟ้อนหริภุญชัย  ตบมะผาบ  ฟ้อนเจิงหรือมองเซิง ฟ้อนดาบ  ตีกลองสะบัดชัย    เพื่อตัดไม้ข่มนามศัตรูก่อนออกรบ ฟ้อนกิงกะหร่า ( กินนร ) ฟ้อนเล็บ ฟ้อนล่องน่าน  ฟ้อนเทียน ฟ้อนทีหรือระบำร่ม  ฟ้อนวี (พัด)  ฟ้อนสาวไหม     ฟ้อนเงี้ยว   ฟ้อนชมเดือน   ฟ้อนผีมดผีเม็ง  ฟ้อนผีฟ้า   ฟ้อนมาลัย  ฟ้อนแพน  ฟ้อนม่านมงคล  ระบำซอ   ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา  ระบำเก็บใบชาหรือระบำชาวเขา   ฟ้อนขันตอกหรือขันโตก   เป็นต้น
                2. ภาคกลาง  เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเมืองเกษตรกรรม  ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ศูนย์กลางความเจริญอยู่ในราชสำนักหรือเมืองหลวง   ฉะนั้นการแสดงจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือแบบพื้นบ้านมีทั้งรำพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้านมีการด้นกลอนสด โต้ตอบกัน เช่น  กลองยาวหรือเถิดเทิง  ระบำทำนาหรือระบำชาวนา ระบำเกี่ยวข้าว  เพลงพิษฐาน  เพลงฉ่อย เพลงเหย่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงปรบไก่   รำแม่ศรี เพลงอีแซว ลำตัด ลิเก ดนตรีที่ใช้ เช่น กลองยาว โทน ฉิ่ง กรับ โหม่ง ฯลฯ      ส่วนที่เป็นแบบแผนในเมืองหลวงหรือเรียกว่า ราชสำนัก ได้แก่ ระบำโบราณคดีต่างๆอัปสราสำอาง    รำวงมาตรฐาน รำต้นวรเชษฐ์  รำสีนวล  ระบำชุมนุมเผ่าไทย  ระบำวิชนี  ระบำที่มีระบำที่อยู่ในวรรณคดีเช่น ระบำดาวดึงส์  ระบำย่องหงิด ระบำเทพบันเทิง   ระบำพรหมมาสตร์ ระบำกฤษดาภินิหาร ( ห้ามนำมาทำรายงานหน้าเดียวเพราะแต่งกายแบบยืนเครื่อง ) ระบำม้า ระบำดอกบัว  ระบำกริชสุหรานากง  ระบำนกยูง หรือมยุราภิรมย์    ระบำฉิ่ง ระบำกรับ รำเถิดเทิง รำสีนวล รำเชิญพระขวัญ รำแม่โพสพ รำแม่ศรี   ระบำมฤคระเริง  ระบำกาสร  ระบำกินรีร่อน  ระบำอัปสราสำอางค์ ระบำพม่านิมิต ระบำจีนไทยไมตรี  ที่น่าสนใจคือเพลงขอทานหรือวณิพก
         3. ภาคอีสาน ( ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )  ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงมีเทือกเขาติด  ลาว กับ กัมพูชาใช้ชีวิตธรรมชาติเรียบง่าย เชื่อในผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดประเพณีต่างๆมากมาย กลายเป็นการแสดงเช่นประเพณีบุญบั้งไฟเป็น เซิ้งบั้งไฟ  พิธีแห่นางแมวขอฝนเป็นเซิ้งแห่นางแมว เซิ้งโปงลาง  ระบำดึงครกดึงสาก  ระบำก็อบแก็บ  ฟ้อนภูไท  ฟ้อนภูไท 3 เผ่า  ระบำไทยพวน  เซิ้งกระติ๊บข้าว เซิ้งกะหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งสราญ  ฟ้อนบวงสรวงพญาสุทโธนาคราช  ฟ้อนแคน เซิ้งกะลาหรือกะโป๋  เซิ้งกุบ     เซิ้งตังหวาย   รำกระทบไม้  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง  มีประเพณีที่ควรอนุรักษ์ คือแห่เทียนพรรษา  ไหลเรือไฟ  แห่ผีตาโขน การแสดงหมอลำ ฟ้อนบวงสรวงพญาสุทโธนาคราช
         4. ภาคใต้  ลักษณะนิสัยของคนภาคใต้ ดุดันหนักแน่น มุทะลุ เสียงดังฟังชัด     ภูมิประเทศติดชายทะเล อาชีพประมงและทำสวนยาง มีวัฒนธรรมหลากหลาย แบบผสมผสานของเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย  ดนตรีที่ใช้เน้นเครื่องตี เสียงดังเช่นกลอง  การแสดงไม่มีมากมายแต่เดิม มีเพลงบอก ลิเกป่า   หนังตะลุงและโนรา  ยืนพื้นต่อมาได้มีการแสดงเกิดขึ้นใหม่หลายรูปแบบ เช่น ระบำย่านลิเพา  ระบำชนไก่  ระบำหนังตะลุง ระบำนางดาน  ระบำบูชาพระธาตุ  ระบำกะลา  ระบำบาติค  ระบำร่อนแร่  ระบำกรีดยาง  ระบำปาเต๊ะ  ระบำทอยล้อ  ระบำตารีกีปัส  ระบำกินนรร่อนรำ ระบำศรีวิชัย  ระบำซัดชาตรี   ระบำกาหยู  ระบำซำเป็ง  ระบำอัสรี  ระบำทักษิณนารี  ระบำจินตปาตี ระบำเปี้ยวหรือระบำหมวก  ระบำนกกรงหัวจุก  ระบำตารีมาลากัส  ระบำตุมปัง  ระบำนกเขามะราปี  ระบำทอผ้าเกาะยอ  ระบำตารียอเก็ต  ระบำกุมภนารีหรือปั้นหม้อ  ระบำสานจูด  ฯลฯ
            สรุปว่า  สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้แต่ละภาคแตกต่างกันคือ สภาพภูมิศาสตร์ 
            ภาคเหนือ  การแต่งกายปกปิด สวมเล็บให้สวยงามและ เพราะอากาศหนาว  การร่ายรำช้าๆ นุ่มนวล  การแสดงมีหลากหลายทั้งด้านการนับถือผี ความเชื่อ ประเพณีและศิลปาชีพ เช่น อาชีพทำร่ม  เกิดการแสดงฟ้อนที 
            ภาคกลาง  มีการแสดง 2 แบบ คือ จากในราชสำนัก  เช่น ระบำวิชนี  มุ่งสวยงาม และการแสดงพื้นบ้านเช่น ระบำเกี่ยวข้าว  มุ่งสนุกสนาน หลังจากเก็บเกี่ยวให้หนุ่มสาวได้พบปะกัน
            ภาคอีสาน  นับถือผีสางเทวดาประเพณี ความเชื่อ  ลักษณะการแสดง เท้าสูง  ก้มต่ำ รำ กว้าง
เน้นสนุกสนาน  การแสดงมักเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินเพราะ ความแห้งแล้ง เช่น เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
            ภาคใต้  การแสดงที่มีมาแต่เดิมคือ เพลงบอก ลิเกป่า หนังตลุง และโนราห์ ไม่ค่อยมีการแสดงเกิดขึ้นมากนัก  แต่ได้รับวัฒนธรรมจากเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย เช่นการแสดง รองแง็ง จากราชสำนักของสุลต่าน รัฐปาหัง     ในยุคหลังๆ   มีการแสดงที่เกิดขึ้นใหม่มากมาย  ส่วนใหญ่เป็นแนวศิลปาชีพ 
เช่น ระบำแกะหนังตลุง  ระบำสานจูด ระบำรองแง็ง ระบำกุมภนารีหรือปั้นหม้อ
 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น  ประเภท คือ
. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด
. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่นโนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ซัมเป็ง ซีละ ระบำทักษิณลีลาโยเก็ตฮัส ระบำตารีบุหงารำไป ระบำตารีกีปัส ระบำกปัสปายง ระบำตารีบุรง ระบำโยเก็ตทักษิณ ระบำโยเก็ตรามัย ระบำนารีศรีนคร ระบำทักษิณาพัตราภรณ์  ระบำร่อนแร่ ระบำร่อนทอง ระบำกินนรร่อนรำ  ระบำจินตปาตี ระบำรีดนมแพะ ระบำสานจูด ระบำนกน้ำทะเลน้อย ระบำกรีดยาง ระบำปั้นหม้อ ระบำปาเต๊ะระบำสทิงกุมภนารี ระบำเฟื่องฟ้า ระบำอสันโยคะ ระบำสตูลเมืองขวัญ ระบำสะไบแพร ระบำคุป๊ะ ระบำนกเขา ระบำชนไก่ ระบำนกน้ำคูขุด ระบำตารีอีนา ฯลฯ


.........................................................................................................................................................







                                                                          ภาคใต้











หน่วยที่2  นาฏศิลป์พื้นเมือง(พื้นบ้าน) 4 ภาค
ประกอบด้วย ภาคเหนือ  ภาคอีสาน ภาคกลางและภาคใต้
การแสดงภาคเหนือ ฟ้อนสาวไหม




ฟ้อนเทียน

ตีกลองสะบัดไชย
ฟ้อนมาลัย
ฟ้อนม่านมงคล


ฟ้อนเงี้ยว
ฟ้อนดาบ


















การแสดงภาคอีสาน





หมากกั๊บแก๊บลำเพลิน

เซิ้งดึงครกดึงสาก 
ฟ้อนภูไท 3 เผ่า

เซิ้งกะหยัง


ฟ้อนภูไท

เครื่องดนตรีพิณ และโหวต 

เซิ้งกระติ๊บข้าว


รำกระทบไม้


ผีตาโขนหรือผีตามคน
เซิ้งดีดไห

รำกระทบไม้


เซิ้งสวิง
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
เซิ้งกะโป๋


การแสดงภาคกลาง

เบิกโรง รำกิ่งไม้เงินทอง

ระบำดอกบัว


รำเถิดเทิงหรือ กลองยาว

รำสีนวล

เต้นกำรำเคียวหรือ ระบำเกี่ยวข้าว



ลำตัด

ระบำแบบมาตรฐาน เทพบุตร นางฟ้า การแต่งกายยืนเครื่อง
เช่น ระบำดาวดึงส์
รำประเลง เบิกโรงเพื่อขจัดสิ่งชั่วร้าย

ระบำจีนไทยไมตรี

ระบำวิชนี  (ระบำพัด )

ลิเก


เชิดหุ่น


การแสดงภาคใต้





ระบำกินนรร่อนรำจากเรื่องอุณรุท

 



ระบำร่อนแร่
ระบำตารีกีปัส



สิละการแสดงพื้นเมืองท่วงท่าการต่อสู้ของชาวมุสลิม


ลิเกฮูลู
นางมโนราห์



โนห์ราตัวอ่อน


ระบำทอยล้อ
หนังตะลุง
ย่านลิเพา
กระเป๋าทำจากย่านลิเพา
ระบำย่านลิเพา




ดนตรีที่ใช้ในการแสดงสิละ
ระบำตารีบุหงารำไป
การแต่งกายชาวมุสลิมภาคใต้
ระบำนางดาน

ระบำชนไก่ ระบำนกน้ำคูขุด ระบำตารีอีนา ฯลฯ ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/115901






ระบำนกกรงหัวจุก
ระบำรองแง็ง


ระบำกินรีร่อน

ระบำจินตปาตี ( นางเอกตัวหนังตะลุง )

ระบำชนไก่

ระบำนารีศรีนคร










ระบำตุมปัง

ระบำตารีบุหงารำไป

ระบำตารีมาลากัส

ระบำตารีกีปัส

ระบำสี่ภาค (จตุรภาค )




ระบำจิตปาตี

ระบำลังกาสุกะ

ระบำชนไก่

ระบำบาติค

ระบำปาเต๊ะ
ระบำซัมเปง

ระบำพัดใบพ้อ

ระบำเปี้ยวหรือระบำหมวก



ติวข้อสอบการแสดงพื้นเมืองหรือนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค


1.การแสดงภาคกลางเกี่ยวข้องกับการเกษตร มากที่สุด
2.จงยกตัวอย่างการแสดงที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกินของภาคอีสาน    เช่น เซิ้ง ตังหวาย
3.เซิ้งบั้งไฟ  แสดงเพื่อขอฝนต่อพญาแถนเนื่องจากฝนแล้ง
4.จงยกตัวอย่างการแสดงที่บอกวิถีชีวิตชาวภาคใต้
เช่น ระบำนกกรงหัวจุก  ระบำร่อนแร่
5. พิธีแห่ นางแมว  มีจุดประสงค์เพื่อ  ขอฝน นั่นเอง
6. การละเล่นพื้นเมืองมีจุดประสงค์เด่นสุดคือ  เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้โดดเด่น
7. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น  เราช่วยพ่อแกะตัวหนังตลุง
8. รำกับระบำแตกต่างกันที่ จำนวนผู้แสดงและกระบวนการร่ายรำ
9.สิ่งที่ทำให้การแสดง 4 ภาคแตกต่างกันสำคัญที่สุด คือ สภาพภูมิศาสตร์
10.ระบำบาติค  การแสดงภาคใต้ที่ต้องวาดลวดลายบนผืนผ้า  สัมพันธ์กับงานทัศนศิลป์มากที่สุด
11. การแสดงภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน  เช่นฟ้อนเงี้ยว   ดนตรี  สะล้อ  ซอ  ซึง  เป็นประเภทเครื่องสี   ภาคใต้เน้นเครื่องตี   ภาคอีสานเครื่องเป่า   ภาคกลางเน้นทุกประเภท
12.ศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนา คือฟ้อนเจิง  ฟ้อนดาบและตบ มะผาบ   ก่อนการต่อสู้ต้องตีกลองสะบัดไชยเพื่อ ข่มนามศัตรูเสียก่อน
13.ฟ้อนวีหรือฟ้อนหวี่  หมายถึง ระบำพัด  ของภาคเหนือ  คล้ายคลึงกับ ระบำวิชนี ของภาคกลาง
14.วงดนตรีของภาคใต้ในการแสดงโนห์รา  เรียกว่า วงชาตรี   
15. ลิเกป่า เป็นมหรสพ  ที่หาดูได้ยาก เป็นของชาวมุสลิม
16. ตัวอย่างการแสดงระบำชนไก่เป็นการแสดงที่นักเรียนไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างเนื่องจากคนใต้ชอบเล่นการพนัน  
17. ลิเกฮูลู นิยมในสี่จังหวัดภาคใต้เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคี
18.ฟ้อนเงี้ยวเป็นการแสดงเพื่อปัดเสนียดจัญไร ของชาวภาคเหนือ ( ถือกิ่งมะยม 2 กิ่ง ประกอบการแสดง )
19.ภาคเหนือ เรียกการแสดงว่าฟ้อน    ท่วงท่า ช้าๆนุ่มนวล
ภาคอีสานเรียกว่าเซิ้ง   เท้าสูงก้มต่ำรำกว้าง
20.ภาคกลางมีการแสดง 2 แบบ คือในราชสำนัก  และชาวบ้านๆ จะเป็นแบบพื้นเมือง  เช่นเกี่ยวข้าว  แม่ศรี  รำชฺญพระขวัญ  เนื่องจากเกี่บวข้องกับอาชีพการเกษตร  ส่วนในวัง  เช่น ระบำวิชนี  ระบำต่างๆ
    

สอบตอนที่3   







                   สอบตอนที่1ตอบคำถามจากภาพ

จุดประสงค์     บอกภาพการแสดง และเครื่องดนตรีทั้ง 4 ภาคได้

1.







ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........
2.







ตอบ   ชื่อการแสดง.............ภาค.......... 
3.






ตอบ  ชื่อการแสดง.............ภาค..........
4.





ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........

5.





ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........

6.






ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........

7.







ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........

8.





ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค..........

9.




ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........
10.

                       ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........


11.







ตอบ     วงดนตรีภาค.........

12.






ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

13.




ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

14.






ตอบ     ชื่อเครื่องดนตรี.............ภาค.........
15.








ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

16.






ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

17.





ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

18.






ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........

19.







ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........


20. 






ตอบ     ชื่อการแสดง.............ภาค.........






  สอบตอนที่2


 1   วิภาวีต้องการชุดแสดงที่มาจากราชสำนักมาเลเซียควรเลือกข้อใด
       ก.ระบำกริช
         ข.ระบำรองแง็ง
         ค.ตารีกีปัส
         ง. ตารีมาลากัส

2 การแสดงชนิดใดที่สมจิตได้ชมในงานขันโตก
        ก.ฟ้อนภูไท
         ข.ฟ้อนเล็บ
         ค.ตารีกีปัส
         ง. เซิ้งกะลา

3 ทัดดาวอยากรู้ว่าพิธีแห่นางแมวทำเพื่ออะไร
        ก.ขอฝน
         ข.ไล่ผีปอบ
         ค.บูชาเทพราหู
         ง. บูชาเทพแห่งลำน้ำโขง
4  การแสดงที่รวมพลังสร้างความสามัคคีในภาคใต้
ควรเป็นการแสดงชนิดใด
        ก. สิละ
         ข.รองแง็ง
         ค.ตารีกีปัส
         ง. ลิเกฮูลู
5  สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้แต่ละภาคมีความแตกต่างกัน
         ก.ประเพณีความเชื่อ
         ข.วิถีชีวิตความเป็นอยู่
         ค.สภาพภูมิศาสตร์
         ง. ความเจริญทางวัฒนธรรม
6  คณะสยองทัวร์  อยากชมบั้งไฟ ควรไปสถานที่ใด
         ก.ภาคใต้
         ข.ภาคอีสาน
         ค.ภาคเหนือ
         ง. ภาคกลาง
7.

         ก.เซิ้งสวิง
         ข. เซิ้งกะลา
         ค.เซิ้งตังหวาย
         ง. เซิ้งกะติ๊บข้าว         


8.




         ก.ฟ้อนวี
         ข. ฟ้อนสาวไหม
         ค.ฟ้อนเก็บใบชา
         ง. ฟ้อนมาลัย     

9.    
สิรีอยากให้มีการอวยพรวันเกิดแบบท้องถิ่นภาคใต้  ฉะนั้นควรจัดการแสดงชนิดใด
         ก.หนังตะลุง
         ข. เพลงฉ่อย
         ค. เพลงบอก
         ง.  เพลงแหล่      
10. การแสดงตามข้อใดเป็นอบายมุข
         ก.เรือมอันเดร
         ข. ระบำไก่ชน
         ค.ระบำก็อบแก็บ
         ง. ระบำนกเขามะราปี
11การแสดงชนิดใดที่รับวัฒนธรรมจากเพื่อนบ้าน
         ก. รองแง็ง
         ข. ฟ้อนสาวไหม
         ค. ดึงครกดึงสาก
         ง.  เพลงฉ่อย   
12.     ระบำศิลปาชีพหมายถึงข้อใด
         ก. รองแง็ง
         ข. ฟ้อนสาวไหม
         ค. ดึงครกดึงสาก
         ง.  เพลงฉ่อย    
13.    แต่งกายแบบชาวเขา  ด้านหลังสะพายกระบุง
 

        ก.  ระบำเก็บใบชา
         ข.  ฟ้อนสาวไหม
         ค.  ระบำเก็บดอกไม้
         ง.   ระบำมองเซิง


14


         ก.  ฟ้อนวี
         ข.  ฟ้อนสาวไหม
         ค.  ฟ้อนเทียน
         ง.   ฟ้อนม่านมงคล



15.
                                                               ก.  พม่ากลองยาว
         ข.  พม่าเขว
         ค.  เถิดเทิง
         ง.   ก็อบแก็บ



16.                                                                      ก.  แหย่ไข่มดแดง
                                                                              ข.  ดึงครกดึงสาก
                                                                              ค.  เซิ้งตังหวาย
                                                                              ง.   โปงลาง
                                                                              





17.
         ก. รำสีนวล
         ข.  รำเชิญพระขวัญ
         ค.  ระบำฉิ่ง
         ง.   ระบำกรับ



18.
การแสดงที่ใช้แว่นเทียนประกอบการแสดง 




         ก. รำสีนวล
         ข.  รำเชิญพระขวัญ
         ค.  ระบำฉิ่ง
         ง.   ระบำกรับ


19.การแสดงที่เกี่ยวกับทำขวัญข้าว  
         ก. รำแม่โพสพ
         ข.  เต้นกำรำเคียว
         ค.  ระบำเคียว
         ง.  ระบำทำนา
20.ระบำที่ร้องเพลงโต้ตอบเกี่ยวพาราสีหลังเก็บเกี่ยว?


     ก. รำแม่โพสพ
         ข.  เต้นกำรำเคียว
         ค.  ระบำเคียว
         ง.  ระบำทำนา


                     เฉลยแบบทดสอบพื้นเมือง417ตอน2


1
กินนรร่อนรำ
ใต้
2
ฟ้อนแพน  เหนือ
3
เซิ้งสวิง  อีสาน
4
ระบำม้า   กลาง
5
เถิดเทิงหรือกลองยาว
   กลาง
6
เพลงบอก
ใต้
7
ฟ้อนภูไท
อีสาน
8
แหย่ไข่มดแดง
อีสาน
9
เต้นกำรำเคียว
หรือเกี่ยวข้าว
  กลาง
10
ระบำฉิ่ง
   กลาง
11
วงดนตรีภาคใต้
12
รำกระทบไม้
13
เซิ้งกระติ๊บข้าว
14
แคน-โหวต  อีสาน
15
ลำตัด  ภาคกลาง
16
เพลงฉ่อยภาคกลาง
17
ระบำปาเต๊ะภาคใต้
18
ระบำร่อนแร่ภาคใต้
19
 สิละการต่อสู้ ภาคใต้
20
ตีกลองสบัดไชยภาคเหนือ


1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20

                        หน่วยที่2  พื้นเมือง ดนตรี - นาฏศิลป์
             
นาฏยศัพท์เบื้องต้นที่ใช้ในเพลงรำวง


นาฏยศัพท์  เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวงการนาฏศิลป์    เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติ หรือกิริยาอาการต่างๆ  ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์   นาฏยศัพท์แบ่งออกเป็น  3  หมวด  คือ   หมวดนามศัพท์   หมวดกิริยาศัพท์  หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด  ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะ วง และ จีบ ซึ่งเป็น หมวดนามศัพท์ ที่ใช้ในการรำวงเมดเลย์
 วง   คือ  การตั้งมือโดยให้นิ้วทั้ง 4 เรียงชิดกัน     กระดกข้อมือขึ้นหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือทอดแขนให้โค้งพองาม  อาจตั้งวงพร้อมกันทั้ง 2 มือ หรือมือเดียวก็ได้   วง มี 4 ชนิดดังนี้
                          1  วงบน   ตัวพระอยู่ระดับแง่ศีรษะ  ตัวนางอยู่ระดับหางคิ้ว  ทอดลำแขนให้โค้งได้รูปจากระดับไหล่ไปข้างๆ  ให้ลำแขนส่วนบนลาดจากไหล่เล็กน้อย            
                           2  วงกลาง   คือส่วนโค้งของลำแขนอยู่ระหว่างวงบนกับวงล่าง  ให้ศอกอยู่ระดับเอว  ทอดแขนให้ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่
                           3  วงล่าง  คือส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งลงเบื้องล่างปลายนิ้วอยู่ระดับหน้าท้อง  หรือระดับหัวเข็มขัด  ตัวพระให้ส่วนโค้งของลำแขนห่างออกจากลำตัวมากกว่าตัวนาง
                          4  วงหน้า คือส่วนโค้งของลำแขนที่โค้งอยู่ข้างหน้า  โดยตัวพระปลายนิ้วมือ อยู่ระดับข้างแก้ม ข้างเดียวกับวง  ส่วนตัวนางปลายนิ้วจะอยู่ตรงระดับปาก 

     จีบ  คือ  การกรีดนิ้ว  โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว  นิ้วกลาง  นาง  ก้อย  กรีดห่างกัน  หักข้อมือไปทางฝ่ามือ        จีบมี 5 ลักษณะดังนี้
                     1.จีบหงาย  คือการจีบแล้วหงายฝ่ามือขึ้นปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นข้างบน   ถ้าอยู่  หน้าท้องเรียกว่าจีบหงายชายพก

                2   จีบคว่ำ   คือการจีบแล้วคว่ำฝ่ามือลง ปลายนิ้วชี้ ชี้ลงล่าง  หักข้อมือเข้าหาลำแขน

                        3  จีบหลัง  คือ  การจีบส่งลำแขนไปข้างหลังโดยตึงแขนให้มาก  แล้วพลิกข้อมือ  และปลายนิ้วชี้ขึ้น  แขนจะต้องตึง  พร้อมกับส่งแขนไปข้างหลังให้สูง

                        4  จีบปรกหน้า  คือ  การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย   แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า   ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า   ตั้งลำแขนขึ้น  ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก  หันจีบเข้าหาหน้าผาก

                        5  จีบปรกข้าง  คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า   แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะลำแขน อยู่ข้างๆระดับเดียวกับวงบน

                               จีบล่อแก้ว   ลักษณะท่าทางคล้ายจีบมือ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่  1  ของนิ้วหัวแม่มือหักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน   นิ้วที่เหลือเหยียดตึง  หักข้อมือเข้าหาลำแขน

.........................................................................................................................................................

อวัยวะที่ต้องใช้เคลื่อนไหวคือ  มือวง  มือจีบ  และการย่ำเท้า



                   
                                          








                                                การแสดงนาฏศิลป์ไทย  4 ภาค
 

         เหนือ
                    กลาง
      อีสาน
         ใต้
1
ฟ้อนเงี้ยว
ตอบ  เป็นการแสดงของชาวไทยใหญ่หรือเงี้ยวเพื่ออวยชัยให้พร
ระบำวิชนี
ตอบ  เพื่อ
รำตังหวาย
ตอบ เพื่อ
ระบำชนไก่
ตอบ เพื่อ
2
ตบมะผาบฟ้อนเจิงฟ้อนดาบ
ตอบ  เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนา



3




                                                                                    ฯลฯ

                                                                                                 

                                       
ตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ

ตีกลองสะบัดไชย

ฟ้อนเล็บ

  
                                                        ระบำพม่า-มอญ

  

                        ฟ้อนวี ฟ้อนม่านมงคล ระบำเก็บใบชา
  

                     

                          ฟ้อนผีมดผีเม็ง

  

     


                             ฟ้อนโยคีถวายไฟ
  

   ฟ้อนเทียน
  

                       ฟ้อนสาวไหม
                           

นาฏศิลป์ไทยภาคกลาง 

ระบำวิชนี


 ระบำฉิ่ง

ระบำนกเขามะราปี



ระบำกลองยาว


ระบำพม่า-ไทยอธิษฐาน
ระบำชาวนา


ระบำเต้นกำรำเคียว


ระบำนางสงกรานต์
 

 นาฏศิลป์ไทยภาคอีสาน 
รำตังหวายหรือเซิ้งตังหวาย

แห่นางแมว


 เซิ้งสราญ

 เซิ้งบั้งไฟ
 

 ฟ้อนภูไท

 

เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
 หมากกั๊บแก็บลำเพลิน
 

นาฏศิลป์ไทยภาคใต้

                   ระบำไก่ชน


ศิลปะภาคใต้ประยุกต์ คนเชิดคน

ระบำบาติค


ระบำจินตปาตี

หน่วยที่2 พื้นเมือง ดนตรี-นาฏศิลป์

ระบำกรีดยาง



โนห์รา





ระบำกินนรร่อนรำ







                       ระบำกรงหัวจุก
 


สิละ ระบำร่อนแร่

18 ความคิดเห็น:

  1. นาฏศิลป์ไทย 4 ภาค มีตัวอย่างให้ดูทำให้ศึกษาและเข้าใจได้ง่าย ชอบๆค่ะด.ญ.ณัฐริกา ทองแท่น เลขที่ 27 ชั้นม.2/4

    ตอบลบ
  2. ด.ญ.อลิษา บุญทอย11 มิถุนายน 2556 เวลา 17:38

    นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ เเต่ละภาคมีเอกลัษณ์ที่โดดเด่นไม่เเพ้กันเลย ดูเเล้วชอบมากค่ะ ด.ญ.อลิษา บุญทอย เลขที่44 ม.2/4

    ตอบลบ
  3. ดูแล้วเพลินดี มาดูแล้วน่ะคราฟ ด.ช.นิพนธ์ เสนทอง ชั้นม. 2/ 4 เลขที่ 6

    ตอบลบ
  4. นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ เเต่ละภาคมีเอกลัษณ์ที่โดดเด่นไม่เเพ้กันเลย ดูเเล้วชอบมากค่ะ ด.ญ.ภูมินทร์ ครองแก้ว เลขที่11 ม.2/4

    ตอบลบ
  5. ดูแล้วเพลินดี มาดูแล้วน่ะคราฟ ด.ช.ภูมินทร์ ครองแก้ว ชั้นม. 2/ 4 เลขที่ 11

    ตอบลบ
  6. นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ เเต่ละภาคมีเอกลัษณ์ที่โดดเด่นไม่เเพ้กันเลย ดูเเล้วชอบมากคับ ด.ช.ภูมินทร์ ครองแก้ว เลขที่11 ม.2/4

    ตอบลบ
  7. ศิลปะภาคใต้ประยุกต์ คนเชิดคน ชอบมากคับ ด.ช.ภูมินทร์ ครองแก้ว เลขที่11 ม.2/4

    ตอบลบ
  8. ผมด.ช.กิตติศักดิ์ ยวนเกิด เลขที่18 ม.2/4 นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากครับ

    ตอบลบ
  9. ศิลปะภาคใต้ประยุกต์ คนเชิดคน ชอบมากคับ ด.ช.ภูมินทร์ ครองแก้ว เลขที่11 ม.2/4นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ เเต่ละภาคมีเอกลัษณ์ที่โดดเด่นไม่เเพ้กันเลย ดูเเล้วชอบมากคับ

    ตอบลบ
  10. สวัสดีค่ะ ด.ญ.ขวัญจิรา ทองคำ ชั้น ม.2/10 เลขที่13ได้ทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยเเล้วค่ะ

    ตอบลบ
  11. สวัสดีค่ะ ด.ญ.ธัญญา สว่างวงศ์ ม.2/10 เลขที่ 18 ศิลปะไทย4ภาคมีความอ่อนช้อยงดงามดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ

    ตอบลบ
  12. สวัสดีค่ะ ด.ญ. เบญจรัตน์ เกลี้ยงสะอาด เลขที่ 19 ม.2/10 นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ แต่ละภาคมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองค่ะ

    ตอบลบ
  13. สวัสดีค่ะ ด.ญ.ปริชญา ทองสง่า เลขที่ 20 ม.2/10 ได้เข้ามาชมบล็อคและทำการบ้านแล้วนะคะ

    ตอบลบ
  14. สวัสดีครับ กระผมชื่อ ด.ช.สหัสภัฎ หุ้ยหลี เลขที่10 ม.2/10 มาชมบล็อกอันนี้แล้วน่าสนใจดีครับ แต่น่าจะทำตารางที่ให้ตัวอย่่างมา ให้สมบรูณ์ครบการแสดง และแบ่งแยกการแสดงไว้ในแต่ละภาคให้ดีกว่านี้นะครับ

    ตอบลบ
  15. นาฏศิลป์ไทย4ภาคดูเเล้วเพลิดเพลินมากค่ะ
    ด.ญ.มัลลิกา ระวังภัย เลขที่ 37 ชั้น ม. 2/4

    ตอบลบ
  16. สวัสดีครับ กระผมชื่อ ด.ช.สหัสภัฏ หุ้ยหลี เลขที่10 ม.2/10 เข้ามาทำการบ้้านอยู่ครับ

    ตอบลบ
  17. ดิฉัน เด็กหญิงธนภรณ์ ชาคโรทัย ชั้น ม.2/12 เลขที่ 23 รับทราบเเละได้เข้ามารับชมเนื้อหาการเรียนเเละการแสดงเรียบร้อยเเล้วคะ

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ11 ธันวาคม 2557 เวลา 11:38

    ดิฉัน เด็กหญิงสุขุมาล มณีโชติ เลขที่34 ม.2/12 รับทราบและได้เข้ามาร่วมชมเนื้อหาเรียบร้อยแล้วค่ะ

    ตอบลบ