วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

215 การรำตีบทและภาษาท่า

การรำตีบทหมายถึงการรำตามบทร้อง บทเจรจาและบทพากย์ ผู้รำ
และผู้แสดงจะต้องแสดง ภาษาท่าไปตามคำร้อง คำเจรจาและคำพากย์นั้น ฉะนั้นการตีท่ารำควร
คำนึงถึงความหมายของบทด้วย นอกจากจะใช้ท่าทางแล้วยังใช้ลีลาและอารมณ์ผสมกลมกลืนอีก
ด้วย การแสดงภาษาท่าหรือรำตีบทแยกได้ อย่าง คือการตีบทท่าธรรมชาติ คือการใช้ท่าสามัญชนทำ
ตามบทร้องหรือบทเพลงนั้น เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะทำนองของเพลง
เช่น ตบมือ ใช้สันมือหรือใช้ในลักษณะกำมือสลับแบมือ การใช้เท้า ก้าวเดินตามจังหวะ ถอยหลัง ย่ำ
เท้า กระโดด ซึ่งท่าทางต่าง ๆ เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้กับเด็กผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์มากนัก
บทเพลงที่เหมาะสำหรับการใช้ท่าแบบนี้ คือเพลงจำพวกปลุกใจต่าง ๆ เช่น เพลงรักเมืองไทย หนัก
แผ่นดิน เลือดสุพรรณ เป็นต้นการรำตีบทแบบละคร หมายถึงภาษาท่าต่าง ๆ ที่ได้ดัดแปลงให้วิจิตร
พิสดารกว่าท่าธรรมดา โดยให้สอดคล้องกับเพลงดนตรีและการขับร้อง นอกจากนี้ยังมุ่งหมายให้รำ
ได้อย่างงดงามเป็นสง่า โดยการใช้มือ เท้า ขา ลำตัว ใบหน้าและศีรษะ รำทำบทไปตามถ้อยคำหรือ
บทขับร้อง การรำบทแบบละครนี้ยากจะต้องมีการฝึกฝนจึงจะทำได้อย่างงดงาม ตัวอย่าง เช่นใช้มือ
ซ้าย โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดกันที่ปลายข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ แล้วนิ้วที่เหลือ
กรีดออกไปเหมือนพัด ยกขึ้นมาใกล้ริมฝีปาก หมายความว่าดีใจหรือเป็นการยิ้ม แต่ถ้า
ยกขึ้นมาที่จมูก หมายถึงดมหรือหอม
ประสานมือทั้งสองข้างให้มือขวาทับมือซ้ายแล้วนำมาทาบที่ฐานไหล่ แสดงว่า รัก ชื่น
ชมหรือห่มผ้า
ถูฝ่ามือ ทิ้งแขนลงข้างล่าง แกว่งไปมา เป็นการแสดงท่าอาการเก้อเขิน
เอาฝ่ามือซ้ายแตะหน้าผาก แสดงท่าเสียใจ ร้องไห้ และถ้าสะดุ้งลำตัวขึ้นลงไปมาพร้อม
ๆ กันด้วย แสดงท่าร้องไห้มากถึงกับสะอึกสะอื้น

1 ความคิดเห็น:

  1. ยากจังเลยค่ะ
    ภัณฑิรา เค้าอุทัย 2/11 35

    ตอบลบ