วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

214 องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆดังต่อไปนี้
1) การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ
การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์

ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผนรวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง
และการสื่อความหมายที่ชัดเจน
2) จังหวะ
จังหวะ เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ
การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด
เพราะ จังหวะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็สามารถรำได้สวยงาม
แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะ
หรือเรียกว่า "บอดจังหวะ" ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง
3) เนื้อร้องและทำนองเพลง
เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
ในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้
เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม
สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น
4) การแต่งกาย
การแต่งกาย ในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะและบรรดาศักดิ์ ของผู้แสดง
ละครนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น
เมื่อแสดงเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว มีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวขนลิงสีขาว
ปากอ้าเป็นต้น

6) เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง
การแสดงนาฏศิลป์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลง
ประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้อง
และทำนองเพลงในขณะเดียวกัน ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลัก
ที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมาย
ได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดง
ให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น