วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น


                                                                               พระอินทร์

      ความหมายของระบำ

               ระบำ  หมายถึง  การแสดงที่เคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายอย่างมีระเบียบแบบแผนตั้งแต่สองคนขึ้นไป  ในการแสดงแต่ละชุดจะประกอบด้วยลีลาท่ารำ  การแต่งกาย   ดนตรี  และเพลงที่ขับร้อง  ซึ่งจะมีเนื้อร้องหรือไม่มีก็ได้  (สุมนมาลย์   นิ่มเนติพันธ์ และสุมนรตี  นิ่มเนติพันธ์. ม.ป.ป. : 24)
                 ระบำ   หมายถึง   การแสดงที่ใช้คนเป็นจำนวนมากกว่า  2  คนขึ้นไป  มีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง  ใช้เพียงดนตรีประกอบการร่ายรำ  (พิชัย   ปรัชญานุสรณ์และคณะ. 2548 : 101)
                 ระบำ   คือ  ศิลปะแห่งการรำ   ที่ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  หรือจนถึงแสดงเป็นหมู่ใหญ่   ใช้เพลงบรรเลงประกอบการแสดงทั้งที่มีเนื้อร้อง   หรือเพลงที่มีแต่ทำนองและจังหวะ   ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว  มุ่งความสวยงามในเรื่องการรำที่พร้อมเพรียง   การแต่งกาย   การแปรแถว  ประกอบกันเป็นหลักในการแสดง   (สุมิตร   เทพวงษ์. 2548 : 117)

      
ลักษณะของเพลงไทย
                   เพลง  คือ ทำนองที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีสัดส่วน  มีจังหวะ  วรรคตอน  และสัมผัสถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของดุริยางค์ศิลป์    เพลงหนึ่งจะมีกี่จังหวะกี่ท่อนก็ได้ไม่บังคับ  แต่แบบแผนของเพลงที่มีมาแต่โบราณในแต่ละท่อนไม่ควรน้อยกว่า 2 จังหวะ  ( วีรศิลป์  ช้างขนุน. 2547 : 36)
           ลักษณะของเพลงไทย  เป็นการสร้างทำนองเพลงอย่างมีสัดส่วน   จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ คือ  จากพยางค์หลายๆพยางค์เป็นวรรค  หลายๆวรรครวมเป็นประโยคเพลง   หลายๆประโยคเพลง  รวมเป็นท่อน  ตัว  จับ  หรือองค์  หลายๆ ท่อน รวมเป็นเพลงไทย  หลายๆเพลงมารวมกันเป็นเพลงประเภทต่างๆ  เช่น เพลงเรื่อง  เพลงตับ  เพลงเถา
                   ร้อง  คือ  การเปล่งเสียงออกมาให้เป็นทำนอง  อาจจะมีถ้อยคำหรือไม่มีก็ได้  ที่สำคัญก็คือต้องยึดทำนองเพลงให�B8�ื่อง เพลงออกภาษา  เพลงเดี่ยว  เป็นต้น
ก็เรียก 1 จังหวะ  จังหวะของกลองจะเรียกว่า หน้าทับ   เช่น หน้าทับปรบไก่  หน้าทับสองไม้

                   อัตราช้าเร็วของเพลงไทย
  เพลงไทยแบ่งตามอัตราของเพลงได้ 3 ชนิด คือ
                   เพลงชั้นเดียว อัตราจังหวะเร็วเป็นเพลงที่มีประโยคสั้นซึ่งมีทั้งเพลงบรรเลงล้วน  และเพลงร้องประกอบในการแสดงของโขน  ละคร
                   เพลงสองชั้น   อัตราจังหวะปานกลางเป็นเพลงที่มีมาแต่โบราณกาล  นิยมบรรเลงเป็นเพลงเกร็ดบ้าง เพลงหน้าพาทย์บ้าง ซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งบรรเลงล้วนๆ และบรรเลงขับร้องประกอบการแสดง
                   เพลงสามชั้น  อัตราจังหวะช้าเป็นเพลงที่แต่งขยายจากเพลงสองชั้นตามลักษณะการยืดขยายจากเค้าโครงเพลงเดิม
หน้าทับ

                   การเอื้อน  มีความหมายถึงการทำทำนองเพลงโดยเสียงเปล่า  ปราศจากถ้อยคำ  ทำให้ทำนองเพลงเลื่อนไหลติดต่อกันไปโดยไม่ขาดเสียง
                   ประเภทของเพลงไทย
                   เพลงไทย  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือเพลงที่มีการขับร้องและเพลงที่ไม่มีการขับร้อง
                   1.   เพลงที่มีการขับร้อง  หมายถึงเพลงที่นิยมนำมาขับร้องประกอบดนตรี  ตามแบบของเพลงไทย คือร้องแล้วมีดนตรีรับ หรือร้องคลอไปกับดนตรี ได้แก่ เพลงเถา เพลงตับและเพลงเกร็ด
                     2.   เพลงที่ไม่มีการขับร้องหรือเพลงบรรเลง   เป็นเพลงที่ใช้สำหรับบรรเลงดนตรีอย่างเดียว  มีแต่ทำนองไม่มีการขับร้องประกอบเช่น เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงหางเครื่อง เพลงออกภาษา  เพลงเดี่ยว  เป็นต้น
                   อัตราช้าเร็วของเพลงไทย
  เพลงไทยแบ่งตามอัตราของเพลงได้ 3 ชนิด คือ
                   เพลงชั้นเดียว อัตราจังหวะเร็วเป็นเพลงที่มีประโยคสั้นซึ่งมีทั้งเพลงบรรเลงล้วน  และเพลงร้องประกอบในการแสดงของโขน  ละคร
                   เพลงสองชั้น   อัตราจังหวะปานกลางเป็นเพลงที่มีมาแต่โบราณกาล  นิยมบรรเลงเป็นเพลงเกร็ดบ้าง เพลงหน้าพาทย์บ้าง ซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งบรรเลงล้วนๆ และบรรเลงขับร้องประกอบการแสดง
                   เพลงสามชั้น  อัตราจังหวะช้าเป็นเพลงที่แต่งขยายจากเพลงสองชั้นตามลักษณะการยืดขยายจากเค้าโครงเพลงเดิม
                  



                                                                            


รอบรู้เรื่องดนตรีไทย
           
                 วงดนตรีไทยกับการแสดงนั้นมีความสัมพันธ์กันโดยลึกซึ้ง  ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้การบรรเลงดนตรีอย่างเดียวไม่มีการแสดงสลับหรือการแสดงประกอบ ทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่ายเร็ว การบรรเลงดนตรีมักไม่ได้รับความนิยมนัก สำหรับการแสดงจำเป็นต้องใช้เสียงเพลงจาก            วงดนตรีไทยเป็นเสียงประกอบในการแสดงนั้นๆ  ถ้าการแสดงขาดดนตรีไปก็จะทำให้ความสมบูรณ์ลดลง การแสดงของไทยไม่ว่าจะมีการฟ้อนรำหรือไม่มีก็ตามจะต้องใช้ดนตรีประกอบทั้งสิ้น ( วีรศิลป์   ช้างขนุน. 2547 : 21)
                    วงดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบันเกิดจากการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดมาบรรเลงร่วมกันเป็นวงดนตรี  เรียกว่า  การประสมวงดนตรีไทย  เครื่องดนตรีแต่ละชนิดต้องมีระดับเสียงเข้ากันได้อย่างเหมาะสมจึงจะบรรเลงด้วยกันได้ดี  ( จีรพันธ์   สมประสงค์. 2547 : 110)
                    ดนตรีไทยเป็นศิลปะประจำชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรมอันงดงาม  นุ่มนวล  น่าฟัง  สมควรที่เยาวชนและชาวไทยศึกษาเรียนรู้  เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่  อีกทั้งช่วยเผยแพร่ดนตรีไทยให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก 
ประเภทของวงดนตรีไทย มี 3 ประเภทคือ  วงปี่พาทย์  วงเครื่องสาย และวง มโหรี เนื่องจากระบำมงคลปฐพีศรีสุราษฎร์  บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์   ในที่นี้จึงขอกล่าวเฉพาะวงปี่พาทย์เท่านั้น    
 วงปี่พาทย์
                      วงปี่พาทย์  หมายถึง  วงดนตรีที่เกิดจากการผสมระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี                ซึ่งแบ่งออกเป็น 3  ขนาดคือ
                       1.วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องห้า  เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้  ปี่ใน 1 เลา   ระนาดเอก 1 ราง  ฆ้องวงใหญ่ 1 วง  กลองทัด 2 ลูก  ตะโพน 1 ลูก  ฉิ่ง 1 คู่
      2.  วงปี่พาทย์เครื่องคู่    เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3  โดยมีการเพิ่มเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้เป็นคู่  คือ ระนาดเอกกับระนาดทุ้ม   ฆ้องวงใหญ่กับฆ้องวงเล็ก   และปี่ในกับปี่นอก  นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะ  ได้แก่ กลองทัด  ตะโพน  ฉิ่ง  ซึ่งนิยมใช้บรรเลงประกอบโขนละครและเสภา
    3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่  ในสมัยรัชกาลที่4 วงปี่พาทย์เจริญมาก จึงมีการเพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้น  ได้แก่ ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  ระนาดเอกเหล็ก (ระนาดทอง)  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ปี่ใน  ปี่นอก  ตะโพน  กลองทัด  ฉิ่ง และฉาบ  จึงเรียกว่าวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่  นิยมใช้บรรเลงในงานพิธีและงานใหญ่อื่นๆ
 
วงปี่พาทย์ทั้ง 3 ขนาดแยกออกไปเพื่อใช้บรรเลงประกอบตามความต้องการในงานได้ถึง    6 ชนิด  คือ
                1. ปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้แข็งตี   ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและประเภทเครื่องตี
                2.  ปี่พาทย์ไม้นวม ใช้ไม้นวมตีโดยเปลี่ยนจากไม้แข็งเป็นไม้นวมคือ ไม้ตีจะพันผ้าและด้ายรัดหลายๆ รอบจนแน่น เมื่อใช้ตีจะมีเสียงนุ่มนวล  เพิ่มซออู้อีก 1 คัน และใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่  บางโอกาสอาจใช้กลองแขกตีเป็นเครื่องกำกับจังหวะ  
             3.  ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่ง   ใช้ไม้นวมตี   และ ใช้เครื่องคู่โดย คัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นผู้คิดริเริ่มและตั้งชื่อว่าโรงละครดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์นี้จึงเรียกตามชื่อโรงละคร
               4.  ปี่พาทย์มอญ เป็นวงปี่พาทย์ของมอญประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก
                5.  ปี่พาทย์นางหงส์ เหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ยกเว้นตรงที่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ในใช้กลองมลายูหรือกลองแขกแทนตะโพน  เป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพเท่านั้น
               6.  ปี่พาทย์ชาตรี มีเครื่องน้อยชิ้นที่สุด    โอกาสที่แสดง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงและละครโนราชาตรี  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้  ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น